52
ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 ปีท่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2556

วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

  • Upload
    -

  • View
    813

  • Download
    7

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2556

Page 2: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

สารบัญ

บทความ

ประจำฉบับ

ข่าวสถาบันวิจัยยาง

ศักยภาพดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางจังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ

สรุปสถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 2และแนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2556

ประสิทธิภาพสารเคมีต่อการควบคุมโรครากขาวของยางพารา

หนอนกัดกินเปลือกยางพาราและการควบคุมจำกัด

ย้ายข้าราชการ....

การจัดการสวนยางแบบมีส่วนร่วมภาคตะวันออก(จังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรี)

การพัฒนายางตีนตะขาบเครื่องเกี่ยวนวด

ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2556 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14

47

ภาพปก : ความเสียหายของต้นยางที่เกิดจากโรครากขาว

11

2

11

20

23

33

42

Page 3: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

บทบรรณาธิการ

ภัยมืดยังคงมีอยู่ในสวนยาง โดยเฉพาะสวนที่มีการ

ปลูกแทนด้วยยางพารา เจ้าของสวนได้ผลประโยชน์

รายได้ประจำจากการเก็บผลผลิตยางพารา ในทางตรง

กันข้ามก็มีการสะสมของโรคศัตรูยางมากขึ้น เจ้าของสวน

ยางควรหมั่นสังเกตว่าต้นยางมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

บ้างที่ผิดปกติ เช่น ต้นยางบางต้นมีน้ำยางไหลมากล้น

เพิ่มขึ้นมากผิดธรรมดา อาจเป็นการให้ผลผลิตมากครั้ง

สุดท้ายของต้นก็ได้ ควรสังเกตว่าต้นยางมีลักษณะใบ

ปลายยอดสูงสุดมีอาการเหลือง อาจเกิดเฉพาะต้นหรือ

กลุ่มของต้นยาง ที่โคนต้นยาง รากยางมีลักษณะที่เป็น

สาเหตุของโรครากหรือไม่ เช่น โรครากขาว เคยมีรายงาน

ของประเทศศรีลังกาว่ามีการระบาดมากถึงร้อยละ 20

ทำให้ต้องเปลี่ยนเป็นปลูกพืชชนิดอื่น ทั้งนี้ สาเหตุเกิด

จากสวนยางที่ปลูกแทนด้วยยางพาราไม่ทำลายต้นตอ

ยางเก่าให้หมดสิ้นไปก่อนปลูกยางพารารุ่นใหม่ ทำให้

รากของต้นตอยางเก่ายังมีชีวิตอยู่และอ่อนแอเป็นแหล่ง

สะสมของโรครากขาว และถ่ายทอดได้โดยตรงจากรากที่

กำลังเป็นโรคสู่รากยางต้นใหม่เมื่อรากมาสัมผัสกัน ถ้า

ไม่ทำการป้องกันรักษาก็จะแพร่ระบาดมากขึ้นไปสู่ต้น

ข้างเคียงที่อยู่ติดกันทำให้สูญเสียรายได้และกำลังใจ

ของเกษตรกร สำหรับแมลงหนอนกัดกินเปลือกยาง

ที่นำมาแสดงไว้ บ้างครั้งอาจพบว่ามีแมลงเหล่านี้เกิดขึ้น

โดยเฉพาะสวนยางพาราในเขตปลูกยางใหม่ที่มีฤดูแล้ง

ยาวนาน การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพาราเป็นภารกิจที่จำเป็น

เจ้าของ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บรรณาธิการบริหาร นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง บรรณาธิการ นายอารักษ์ จันทุมา ผู้ช่วยบรรณาธิการ พิเชฏฐ์ พร้อมมูล

กองบรรณาธิการ เอนก กุณาละสิริ, พรรษา อดุลยธรรม, ดร.นภาวรรณ เลขะวิพัฒณ์, ดร.พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์,

ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้จัดการสื่อสิ่งพิมพ์ ไพรัตน์ ทรงพานิช ผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมจิตต์ ศิขรินมาศ ผู้ช่วย

ผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จักรพงศ์ อมรทรัพย์ ผู้จัดการระบบฐานข้อมูล พิเชฏฐ์ พร้อมมูล ผู้จัดการสนทนาภาษายาง

วราวุธ ชูธรรมธัช

เพราะการเก็บเกี่ยวนำผลผลิตออกมาจากพื้นที่ ก็คือการ

นำเอาแร่ธาตุและความอุดมสมบูรณ์ของดินออกไป ทำให้

ต้นยางพารามีแร่ธาตุอาหารไม่เพียงพอหรือไม่สมดุลกับ

ความต้องการของต้นยางพารา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ย

เพิ่มเติมตามคำแนะนำการบำรุงรักษาต้นยาง ในเนื้อหา

ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางตามคำ

แนะนำส่วนมาก ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าวิธีการของ

เกษตร แต่ก็มีเกษตรการบางรายที่ขยันเป็นพิเศษและ

เข้าใจดี อาจได้ผลผลิตมากกว่าเล็กน้อย ในขณะที่ราคา

ยางอยู่ในระดับปานกลางและอาจต่ำลง เพราะปริมาณผล

ผลิตยางมีมากกว่าความต้องการซื้อยางของต่างประเทศ

เพราะเศรษฐกิจของโลกชะลอตัว ดังนั้น จึงควรหาหนทาง

ที่จะใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น และเป็นการแสดงให้

ลูกค้าต่างประเทศเห็นหรือทำตาม ทำให้ขายยางที่มีอยู่

ได้มากขึ้น ทำให้ราคายางท้องถิ่นมีราคาดีขึ้น ในฉบับนี้

ได้แสดงไว้ตัวอย่างหนึ่ ง จะได้รับความสนใจจากผู้

ประกอบการหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่อไป ซึ่งควร

มีงานวิจัยเพิ่มขึ้น หรือมีงานวิจัยแล้วว่าสามารถใช้ยาง

ในประเทศมากขึ้นหรือเพิ่มมูลค่าสินค้ายางธรรมชาติ

ควรได้ทดสอบใช้ให้ เห็นชัดเจน อันจะนำมาซึ่ ง เป็น

ผลดีต่อเกษตรกร ผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ส่วนรวม

อารักษ์ จันทุมา

บรรณาธิการ

Page 4: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

2 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

สุทัศน์ สุรวาณิชสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 อุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร

ศักยภาพดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ

ปัจจุบันพบว่าเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือตอนล่าง ได้ เปลี่ยนอาชีพจากทำไร่มัน

สำปะหลังและอ้อยเดิม หันมาปลูกยางพาราแทนกัน

มากขึ้น โดยมีจำนวนมากได้ปลูกยางในพื้นที่ ไม่

เหมาะสม ประสบปัญหาทั้งการเจริญเติบโตหรือผลผลิต

พื้นที่เหล่านี้อาจจะทำไร่มันสำปะหลังหรืออ้อยดีกว่า

และด้วยข้อเท็จจริงที่อาชีพทำสวนยางพารานั้น เป็น

การเกษตรที่ต้องลงทุนในระยะเริ่มแรกค่อนข้างสูง กว่า

จะเห็นผลค่อนข้างช้า ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยง

อย่างยิ่งสำหรับเกษตรมือใหม่ที่หลายรายที่หันมาปลูก

ยางตามกระแส โดยลืมคำนึงถึงว่ายางพาราก็เป็น

พืชธรรมดาเหมือนเช่นพืชอื่นๆ ทั่วไป ที่ก็ต้องการ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน ดังนั้น ขั้นตอน

การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช จึงเป็นขั้นตอน

เริ่มแรกที่จำเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจทำการเกษตร

โดยเกษตรกรไม่จำเป็นต้องไปเสี่ยงลองผิดลองถูกเอง

เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะต้องเป็นผู้ให้คำ

แนะนำทางวิชาการในการพิจารณาตัดสินใจเลือกพื้นที่

ปลูก จะต้องกำหนดเขตแนะนำการปลูกพืชที่เหมาะสม

ตลอดจนเขตห้ามปลูกพืชแก่เกษตรกรให้ชัดเจน แต่

ปัจจุบันในพื้นที่นี้ยังขาดข้อมูลดังกล่าว

ในฐานะนักวิจัยที่ เกี่ ยวข้อง จึ งได้วิ เคราะห์

ศักยภาพที่ดินสำหรับการปลูกยางในเขตจังหวัดสุรินทร์

และศรีสะเกษก่อน และจะทยอยวิเคราะห์จังหวัดอื่นๆ

ต่อไป โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

จัดทำเป็นแผนที่กำหนดเขตศักยภาพที่ดินที่เหมาะสมต่อ

การปลูกยาง ที่สามารถใช้เป็นแผนที่นำทาง (Guide

Map) เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับระดับผู้บริหารใน

การวางแผน หรือสำหรับใช้ในการตัดสินใจของเกษตรกร

ในเขตจังหวัดดังกล่าว ที่จะทำให้สามารถเลือกปลูกยาง

ได้ตรงตามศักยภาพที่ดินของตน และเหมาะสมกับ

สภาพความพร้อมของตนได้ต่อไป

วิธีการศึกษา ใชัวิธีการประเมินศักยภาพที่ดินเพื่อการผลิตพืช

ด้วยโมเดล (Model) ที่เรียกว่า “การประเมินศักยภาพ

ที่ดินด้วยหลายปัจจัยในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

(Multi-factor land evaluation in Geographic

Information System- GIS)” (ภาพที่ 1) ที่พัฒนาโดย

Sutat (2006) โดยวิธีการนี้ได้มีการนำวิธีคำนวณให้

น้ำหนักปัจจัยที่จำเป็นต่อการผลิตพืชแบบเอเอชพี

(AHP : Analytical Hierarchical Processing) และ

วิธีการเปรียบเทียบแบบแพไวส์ (Pairwise Comparison

Method) มาประยุกต์ใช้ เพื่อคำนวณหาน้ำหนักของแต่

ละปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตยาง โดยชั้นความเหมาะสม

ของการปลูกยางที่ได้จากวิธีการนี้ จะถูกจำแนกโดย วิธี

การลีเนียคอมบิเนชั่น (Linear Combination) ผลของ

การจำแนกจะถูกตรวจสอบความถูกต้อง ด้วยข้อมูล

การตรวจสอบภาคสนามจริง (Ground Truth) อาศัย

เครื่องมือหาตำแหน่งพิกัดด้วยดาวเทียม (Global

Positioning System - GPS) ซึ่งมีตัวชี้วัด 2 ตัว ได้แก่

ผลผลิตยาง และสมบัติดิน (Soil Properties) ณ

ตำแหน่งพิกัดที่ปลูกจริงบนชั้นความเหมาะสมต่างๆ

กัน เพื่อคำนวณหาค่าความถูกต้องของการวิเคราะห์

Page 5: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

3 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

รวม (Overall Accuracy) ค่าสัมประสิทธิ์แคมป้า

(Kappa Coefficient) ต่อไป ซึ่งค่าความถูกต้องของ

การวิเคราะห์รวม ค่าสัมประสิทธิ์แคมป้าที่ได้ยิ่งสูง ยิ่ง

หมายความว่าความถูกต้องของการวิเคราะห์ยิ่งมีความ

ถูกต้องน่าเชื่อถือ

อุปกรณ์ และข้อมูลที่ใช้

1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการวิเคราะห์

ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)

2. เครื่องหาตำแหน่งพิกัดด้วยดาวเทียม (Global

Positioning System - GPS)

3. ข้อมูลการสำรวจดินรายจังหวัดของกรมพัฒนา

ที่ดิน

4. แผนที่อุตุนิยมวิทยาคาบ 30 ปี ของกรมอุตุนิยม

วิทยา

5. ฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ของกรม

ส่งเสริมคูณภาพสิ่งแวดล้อม

6. ปัจจัยการผลิต ยาง ของสถาบันวิจัยยาง

อาศัยข้อมูลปัจจัยการผลิตที่พืชต้องการ (Crop

Requirement) ที่จำเป็นต่อการผลิตยาง นำมาสรุป โดย

แบ่งเป็นชั้นความเหมาะสมและระดับขีดจำกัดสำหรับ

การผลิตยาง ตามรูปแบบขององค์การอาหารและเกษตร

แห่งสหประชาชาติ (FAO, 2001) ได้ตาม ตาราง 1 เพื่อ

นำไปใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์แยกชั้นศักยภาพพื้นที่

ต่อไป

ข้อมูลพื้นที่ศึกษาข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุรินทร์

ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสุ รินทร์มี เนื้ อที่

ประมาณ 8,124 ตารางกิ โลเมตร หรือประมาณ

5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะวัน

ออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป

ภาพที่ 1 วิธีการประเมินศักยภาพที่ดินด้วยหลายปัจจัยในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

ที่มา : Sutat (2006)

Page 6: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

4 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

มีลักษณะดังนี้คือ บริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักร

กัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณ

ภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอน

ลาด บริเวณตอนกลางของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็น

ส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัด

เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ใน

บริเวณที่ราบสูงมีลักษณะพื้นที่ดังนี้

1) ทางตอนใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ราบสูง มี

ภูเขาสลับซับซ้อนหลายลูก มีป่าทึบสลับป่าเบญจพรรณ

ตามบริเวณแนวเขตชายแดน (อำเภอบัวเชด สังขะ

กาบเชิง และกิ่งอำเภอพนมดงรัก) ที่ติดต่อกับประเทศ

กัมพูชาประชาธิปไตย ต่อจากบริเวณภูเขาลงมาเป็น

ที่ราบสูง ลุ่มๆ ดอนๆ ลาดเท มีลักษณะเป็นลูกคลื่น ค่อยๆ

ลาดเทไปทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัด

ทางตอนกลางของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม

แต่มีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอน สลับที่ลุ่มลอนลาดเช่น

เดียวกัน แต่ไม่มากเท่าทางตอนใต้ของจังหวัด (อำเภอ

เมืองสุรินทร์ กิ่งเขวาสินรินทร์ ศีขรภูมิ สำโรงทาบ

ลำดวน และกิ่งศรีณรงค์)

2) ทางตอนเหนือของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น

ที่ราบ (อำเภอจอมพระ สนม) และที่ราบลุ่ม (อำเภอ

ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตบุรี และกิ่งโนนนารายณ์) โดยเฉพาะ

อำเภอชุมพลบุรี และท่าตูม อยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

ในเขตของทุ่งกุลาร้องไห้

ลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในแถบของลมมรสุมเขต

ร้อน ลักษณะของลมฟ้าอากาศ และปริมาณน้ำฝน

จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญ ลมมรสุม

ที่พัดผ่านคือ

1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทร

อินเดียเข้าสู่บริเวณภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ ทำให้เกิดฝนตก แต่จังหวัดสุรินทร์ได้รับ

R1 R2 Nปัจจัยที่จำเป็น

ระดับขีดจำกัด

ตารางที่ 1 ปัจจัยที่จำเป็นและระดับขีดจำกัดที่มีผลต่อการผลิตยาง

1. ช่วงระยะการเจริญ (เดือน) >11 10-11 7-10

2. ความลาดชัน (เปอร์เซนต์) 0-20 20-35 >35

3. การระบายน้ำของดิน ดี ปานกลาง เลว

4. ระดับน้ำใต้ดิน (เซนติเมตร) >100 >50-100 20-50

5. เนื้อดิน ร่วนเหนียว เหนียว ร่วนทราย ร่วน ทราย

ปนทรายร่วมเหนียว ปนทราย เหนียว

ปนทราย ละเอียด

6. ความลึกหน้าดิน (เซนติเมตร) >150 100-150 50-100

7. อินทรียวัตถุ (เปอร์เซนต์) >1.2 0.8-1.2 <0.8

(ที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร)

ผลผลิต (กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) > 300 >200-300 < 200

ที่มา : Sys (1992), Somyot (1992), สุทัศน์ และคณะ (2542)

หมายเหตุ R1:พื้นที่เหมาะสม R2: พื้นที่เหมาะสมปานกลาง N : พื้นที่ไม่แนะนำให้ปลูก

Page 7: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

5 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ปริมาณน้ำฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้าง

น้อย เนื่องจากมีเทือกเขาพนมดงรักกั้นอยู่ ปริมาณ

น้ำฝนส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลของลมพายุในทะเลจีนใต้

2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากแคว้น

ไซบีเรียและทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้เกิด

ความหนาวเย็นและความแห้งแล้งโดยทั่วไป

ฤดูกาล ในจังหวัดสุรินทร์ มี 3 ฤดู ในแต่ละฤดูจะ

มีช่วงเวลาไม่คงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ทาง

ธรรมชาติ และอิทธิพลของลมมรสุมเป็นหลัก แต่โดย

ทั่ว ๆ ไป พอสรุปได้ดังนี้

1) ฤดูร้อน อยู่ระหว่างช่วงเดือน กุมภาพันธ์ หรือ

มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนอบอ้าว และ

ร้อนจัดมากในบางช่วง ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งโดย

ทั่วไป

2) ฤดูฝน อยู่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม หรือ

มิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนไม่แน่นอน

บางปีมาก บางปีน้อย ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม

และลมพายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้

3) ฤดูหนาว อยู่ระหว่างช่วงเดือนตุลาคม หรือ

พฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ความหนาวเย็นในแต่ละ

ปีขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

และร่องความกดอากาศต่ำจากประเทศจีน

ลักษณะดิน ลักษณะของดินในจังหวัดสุรินทร์

เป็นดินร่วนปนทราย มีบางพื้นที่ เช่น กิ่งอำเภอเขวา

สินรินทร์ เป็นดินเหนียวปนทราย ฉะนั้น ดินในจังหวัด

สุรินทร์จึงอุ้มน้ำได้น้อย

พื้นที่ปลูกยางที่เปลี่ยนมาจากมันสำปะหลังและ

อ้อย พื้นที่ปลูกยางในจังหวัดนี้ ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาจาก

มันสำปะหลังและอ้อย จากการสำรวจ โดยดาวเทียม

Spot 5 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลปี 2551

(สถาบันวิจัยยาง, 2553) จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ปลูกยาง

รวม 90,686 ไร่ โดยมีการปลูกมากสุดที่ อำเภอพนม

ดงรัก และสังขะ เนื้อที่ 24,519 ไร่ และ 17,506 ไร่

ตามลำดับ

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ

ลักษณะภูมิประเทศ ตั้งอยู่ขอบแอ่งที่ราบลุ่ม

โคราชด้านตะวันออก เป็นบริเวณที่มีผืนแผ่นดินกว้าง

ขวาง อาจเรียกได้ว่า เป็นบริเวณลุ่มน้ำมูล-น้ำชีตอนล่าง

ซึ่งอุดมไปด้วยลุ่มน้ำลำห้วยหลายสายไหลมาบรรจบใน

เขตอีสานใต้ ลักษณะภูมิประเทศด้านใต้เป็นที่สูงแล้ว

ค่อยๆ ลาดเอียงไปทางเหนือ ตอนกลางเป็นที่ลาดเอียง

เล็กน้อย และที่ราบลอนลาด ส่วนเหนือเป็นที่ราบสูง

ลักษณะอากาศ ตั้งอยู่ห่างไกลจากทะเลมาก และ

อยู่ในเขตร้อน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตก

เฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมมรสุม

ตะวันตกเฉียงใต้นั้น พัดเข้ามากลางเดือนพฤษภาคมถึง

กลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ลมนี้จะพัดเอา

ความชุ่มชื้น และนำฝนมาตก เดือนที่มีฝนตกหนักคือ

เดือนกันยายน นอกจากนี้ ยังอยู่ในเส้นทางของพายุ

ดี เปรสชั่นที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ สาเหตุที่ทำให้

ปริมาณน้ำฝนในจังหวัดศรีสะเกษ มีปริมาณไม่มาก เมื่อ

เปรียบเทียบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

เนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีเทือกเขาพนมดงรัก

ทางตอนใต้ขวางกั้นลมฝนหรือที่เรียกว่าลมมรสุมตะวัน

ตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลักษณะเงาฝน (Rain Shadow) ส่วน

ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียง

เหนือจะพัดผ่านในช่วงเวลาปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวนี้

ลมพายุที่ก่อตัวแถบทะเลจีนใต้ จะไม่เบนทิศทางเข้า

สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เนื่องจากถูกกำบัง

โดยเทือกเขา จึงมักเปลี่ยนเส้นทางสู่ภาคใต้ของประเทศ

ไทย ฤดูหนาวจึงเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลาง

เดือนกุมภาพันธ์ โดยอากาศจะหนาวจัดระหว่าง

เดือนมกราคม ส่วนฤดูร้อนเริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือน

กุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม เดือนที่มีอากาศ

ร้อนจัดที่สุด คือเดือนเมษายน ด้วยลักษณะภูมิประเทศ

ดังกล่าวมาแล้ว จึงทำให้ภูมิภาคนี้มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน

ฤดูฝน และฤดูหนาว

ลักษณะดิน ดินจังหวัดศรีสะเกษมีแหล่งกำเนิด

และลักษณะดิน กองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน ได้แบ่ง

ออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1) ดินเกิดจากการที่พัฒนาและทับถมใหม่โดยน้ำ

ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำท่วมถึง ริมแม่น้ำ ลำห้วยต่างๆ จะ

ประกอบด้วยดินหลายชนิดอยู่ปะปนกัน ลักษณะดินเป็น

ลักษณะไม่แน่นอน มีตั้งแต่ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปน

ซิลท์ถึงดินเหนียวปนกรวด การระบายน้ำดีถึงเลวส่วน

Page 8: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

6 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง ปลูกพืชให้ผลผลิต

ค่อนข้าง มากใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชผัก พืชไร่ เช่น

ยาสูบ ข้าวโพด หรือไม้ผล แต่มักมีปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ

มีเนื้อที่ประมาณ 185,031 ไร่ หรือประมาณร้อยละ

3.35 ของเนื้อที่ทั้งหมด

2) ดินเกิดจากตะกอนที่ถูกพัดมาทับถมโดยลำน้ำ

มานานแล้ว ได้แก่ บริเวณที่ราบต่ำ และเป็นลูกคลื่นลอน

ตื้นถึงลอนชัน (ลาดตะพัดลำน้ำชั้นสูง) ลักษณะดิน

บริเวณที่มีทั้งที่นาและดินในที่ดอน สำหรับดินนาจะอยู่

ในระดับลานตะพัดลำน้ำชั้นต่ำถึงบางส่วนของสวน

ตะพัดลำน้ำชั้นกลาง ลักษณะมีเนื้อดินตั้งแต่ดินร่วน

ปนทรายดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว ส่วนใหญ่เป็นดิน

ลึกระบายน้ำค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ

บางแหล่งมีลักษณะดินลูกรังปนอยู่ มีเนื้อที่ประมาณ

80.2 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งจังหวัด

3) ดินเกิดจากการสลายตัวของหินอยู่กับที่ และ

เกิดตามที่ราบเขาจากวัตถุกำเนิดพวกหินบาซอลท์

หินแอนดีไซด์ พบบริเวณที่ราบเชิงเขาบริเวณที่ถูก

กัดเซาะ ดินส่วนนี้จะแพร่กระจายอยู่ด้านตะวันออก

และด้านใต้ของจังหวัดตามแนวเขาพนมดงรัก ลักษณะ

ดินเป็นดินพื้นที่ส่วนมากมักมีหินและกรวดปน บางแห่ง

เป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก ความลาดเทของพื้นที่

ตั้งแต่ 1-20 เปอร์เซนต์ สำหรับเชิงเขาเนื้อดินตั้งแต่ร่วน

ปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทราย

มีกรวดปน ถึงดินเหนียว ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้าง

ต่ำถึงค่อนข้างสูง

พื้นที่ปลูกยางที่เปลี่ยนมาจากมันสำปะหลังและ

อ้อย พื้นที่ปลูกยางในจังหวัดนี้ ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาจาก

มันสำปะหลังและอ้อย จากการสำรวจ โดยดาวเทียม

Spot 5 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลปี 2551

(สถาบันวิจัยยาง, 2553) จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ปลูก

ยาง รวม 176,096 ไร่ โดยมีการปลูกมากสุดที่ อำเภอ

กันทรลักษ์ และขุนหาญ เนื้อที่ 76,149 ไร่ และ 50,353

ไร่ ตามลำดับ

ผลการดำเนินงาน ผลการวิเคราะห์ประเมินศักยภาพที่ดินต่อการ

ปลูกยางพารา ตามวิธีการประเมินศักยภาพที่ดินด้วย

หลายปัจจัยในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ดังกล่าว

ข้างต้น ควบคู่กับการออกสุ่มตรวจสอบความถูกต้อง

ภาคสนาม แล้วจัดพิมพ์เป็นแผนที่ คำนวณพื้นที่ แยก

ชั้นความเหมาะสมต่อการปลูกยางออกเป็น 4 ชั้น

ได้แก่

1) พื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง (R1) : พื้นที่

ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องดิน แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการ

กระจายของฝน ปริมาณฝนที่ค่อนข้างน้อยกว่าที่พืช

ต้องการ จึงเทียบได้กับชั้น L2 ชั้นความเหมาะสม

ปานกลางต่อการปลูกยางในระดับประเทศ

2) พื้นที่ เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง

(R2a) : เนื่องมาจากมีปัญหาเรื่อง การระบายน้ำของดิน

หรือมีระดับน้ำใต้ดินค่อนข้างตื้น เพราะว่ามีชั้นดินอัด

แน่นในระดับตื้น อันเนื่องมาจากการทำไร่ไถพรวนมา

เป็นระยะเวลานานจนน้ำไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ รวม

ถึงพื้นที่ที่มักมีน้ำท่วมขังในฤดูฝนค่อนข้างนาน ฯลฯ จน

ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของระบบราก พื้นที่นี้เทียบ

ได้กับพื้นที่พอที่จะปลูกยางได้ (L3) ของระดับประเทศ

3) พื้นที่ เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง

(R2b) : เนื่องมาจากมักมีเศษหิน กรวด หรือลูกรัง แต่

ไม่อัดแน่นในระดับตื้น ลึกจากผิวดินประมาณ 50

เซนติเมตรลงไป รวมถึงพื้นที่ที่มีชั้นหินแข็งในระดับลึก

จากผิวดินประมาณ 1 เมตร ฯลฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการ

พัฒนาของระบบราก พื้นที่นี้เทียบได้กับพื้นที่พอที่จะ

ปลูกยางได้ (L3) ของระดับประเทศ

4) พื้นที่ไม่แนะนำให้ปลูกยาง (N) : เนื่องจากดิน

มีปัญหาหลายด้าน เช่น เป็นที่ลุ่มน้ำขัง หน้าดินตื้นมาก

มีเศษหินกรวดลูกรังปะปนในหน้าดินมากเกินไป ระดับ

น้ำใต้ดินตื้นมาก ดินด่าง ดินเค็ม มีความลาดชันสูงเกิน

35 เปอร์เซนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอนุรักษ์ ฯลฯ

สรุปผลการจำแนกพื้นที่แต่ละจังหวัดได้ดังนี้

1. จังหวัดสุรินทร์ (ภาพที่ 2)

1.1 พื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง (R1) ส่วน

ใหญ่กระจัดกระจายอยู่บริเวณกิ่งอำเภอพนมดงรัก

กาบเชิง ปราสาท สังขะ บัวเชด กิ่ง ศรีณรงค์ ลำดวน

จอมพระ และบางส่วนของ อำเภอเมือง ท่าตูม สนม

รัตนบุรี และสำโรงทาบ รวมทั้งสิ้น 2,159,921ไร่ คาดว่า

พื้นที่นี้มีศักยภาพในการให้ผลผลิตเฉลี่ย มากกว่า 250

Page 9: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

7 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

9

ภาพที่ 2 แผนที่เขตศักยภาพที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา จังหวัดสุรินทร์

Page 10: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

8 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

1.2 พื้นที่เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง

(R2a) ส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด กระจัด

กระจายอยู่บริเวณอำเภอสำโรงทาบ รัตนบุรี ท่าตูม

และชุมพลบุรี รวมทั้งสิ้น 86,640 ไร่ พื้นที่เขตนี้คาด

ว่าดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเฉลี่ยน้อยกว่า 250

กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

1.3 พื้นที่เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง

(R2b) พบกระจัดกระจายอยู่บริเวณอำเภอรัตนบุรี

ท่าตูม ชุมพลบุรี สนม ศีขรภูมิ เมือง ปราสาท กิ่ง

พนมดงรัก กาบเชิง และสังขะ รวมทั้งสิ้น 359,436

ไร่ พื้นที่เขตนี้คาดว่าดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิต

เฉลี่ยน้อยกว่า 250 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

1.4 พื้นที่ไม่แนะนำให้ปลูกยาง (N) ส่วนใหญ่อยู่

ทางตอนกลาง และตอนเหนือของจังหวัดบริ เวณ

อำเภอเมือง สำโรงทาบ กิ่ง เขวาสินรินทร์ ศีขรภูมิ และ

บางส่วนของ อำเภอลำดวน ปราสาท กิ่ง พนมดงรัก

กาบเชิง สังขะ รัตนบุรี ท่าตูม และชุมพลบุรี

2. จังหวัดศรีสะเกษ (ภาพที่ 3)

2.1 พื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง (R1) ส่วน

ใหญ่จะอยู่ทางตอนใต้และซีกตะวันออกของจังหวัด

บริเวณอำเภอภูสิงห์ ขุนหาญ กันทรลักษ์ ศรีรัตนะ

เบญจลักษ์ น้ำเกลี้ยง กันทรารมย์ ยางชุมน้อย ขุขันธ์

เมือง บึงบูรพ์ และปรางค์กู่ รวมทั้งสิ้น 1,016,662 ไร่

คาดว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพในการให้ผลผลิตเฉลี่ย มาก

กว่า 250 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

2.2 พื้นที่เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง

(R2a) พบกระจัดกระจายอยู่บริ เวณอำเภอขุขันธ์

ไพรบึง ปรางค์กู่ วังหิน อุทุมพรพิสัย บีงบูรพ์ ราษีไศล

กันทรารมย์ เบญจลักษ์ กันทรลักษ์ และขุนหาญ

รวมทั้งสิ้น 536,092 ไร่ พื้นที่เขตนี้คาดว่าดินมีศักยภาพ

ในการให้ผลผลิตเฉลี่ยน้อยกว่า 250 กิโลกรัมต่อไร่

ต่อปี

2.3 พื้นที่เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง

(R2b) พบกระจัดกระจายอยู่ทางตอนล่างของจังหวัด

บริเวณอำเภอศรีรัตนะ เบญจลักษ์ กันทรลักษ์ ขุนหาญ

และภูสิงห์ รวมทั้งสิ้น 386,135 ไร่ พื้นที่เขตนี้คาดว่า

ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเฉลี่ยน้อยกว่า 250

กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

2.4 พื้นที่ไม่แนะนำให้ปลูกยาง (N) พื้นที่ส่วน

ใหญ่อยู่ทางตอนกลางจนถึงส่วนเหนือของจังหวัด บริเวณ

อำเภอศรีรัตนะ พยุห์ ไพรบึง เบญจลักษ์ น้ำเกลี้ยง

กันทรารมย์ ขุขันธ์ วังหิน ปรางค์กู่ เมือง อุทุมพรพิสัย

บึงบูรพ์ ราษีไศล ยางชุมน้อย กิ่ง ศิลาลาด และบาง

ส่วนของ ภูสิงห์ ขุนหาญ และกันทรลักษ์

สรุปศักยภาพพื้นที่ปลูกยางจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ

พื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง ไม่มีข้อจำกัดใน

เรื่องดิน แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการกระจายของฝน

ปริมาณฝน ที่ค่อนข้างน้อยกว่าที่พืชต้องการ จึงเทียบ

ได้กับชั้นความเหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง

ในระดับประเทศ มีพื้นที่รวมทั้งสองจังหวัดเท่ากับ

3,176,583 ไร่

พื้นที่เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง พื้นที่มี

ปัญหาเรื่องการระบายน้ำของดิน หรือมีระดับน้ำใต้ดิน

ค่อนข้างตื้น เพราะว่ามีชั้นดินอัดแน่นในระดับตื้น

อันเนื่องมาจากการทำไร่ไถพรวนมาเป็นระยะเวลา

นานจนน้ำไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ รวมถึงพื้นที่ที่มัก

มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนค่อนข้างนาน ฯลฯ จนส่งผล

กระทบต่อการพัฒนาของระบบราก พื้นที่นี้ เทียบได้

กับพื้นที่พอที่จะปลูกยางได้ของระดับประเทศ มีพื้นที่

รวมทั้งสองจังหวัดเท่ากับ 1,325,289 ไร่

พื้นที่เหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาง พื้นที่ดิน

มีเศษหิน กรวด หรือลูกรังปน แต่ไม่อัดแน่นในระดับตื้น

ลึกจากผิวดินประมาณ 50 เซนติเมตรลงไป รวมถึง

พื้นที่ที่มีชั้นหินแข็งในระดับลึกจากผิวดินประมาณ 1

เมตร ฯลฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของระบบราก

พื้นที่นี้เทียบได้กับพื้นที่พอที่จะปลูกยางได้ของระดับ

ประเทศ มีพื้นที่รวมทั้งสองจังหวัดเท่ากับ 745,571 ไร่

พื้นที่ไม่แนะนำให้ปลูกยาง เนื่องจากดินมีปัญหา

หลายด้าน เช่น เป็นที่ลุ่มน้ำขัง หน้าดินตื้นมาก มีเศษหิน

กรวดลูกรังปะปนในหน้าดินมากเกินไป ระดับน้ำใต้ดิน

ตื้นมาก ดินด่าง ดินเค็ม มีความลาดชันสูงเกิน 35

เปอร์เซนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอนุรักษ์

Page 11: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

9 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 255611

ภาพที่ 3 แผนที่เขตศักยภาพที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา จังหวัดศรีสะเกษ

Page 12: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

10 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

เอกสารอ้างอิงกรมพัฒนาที่ดิน. 2547. http://www.ldd.go.th/gisweb/

วันที่สืบค้น 27 สิงหาคม 2547 เวลา 23.14 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2547. http://www.tmd.go.th/

weather_map.php วันที่สืบค้น 27 สิงหาคม

2547 เวลา 21.33 น.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. 2549. http://www.

deqp.go.th/index.php?option=com_cont

ent&view=category&id=26&Itemid=2&lang

=th วันที่สืบค้น 12 พฤษภาคม 2549 เวลา

9.40 น.

สถาบันวิจัยยาง. 2553. โครงการจัดทำฐานข้อมูลเชิง

พื้นที่ของยางพาราปี 2550 โดยการสำรวจ

ข้อมูลระยะไกลด้วยดาวเทียมและเทคโนโลยี

ภูมิสารสนเทศ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เอกสารเผยแพร่ รายงานฉบับเต็ม สถาบันวิจัย

ยาง กรมวิชาการเกษตร 579 หน้า.

สถาบันวิจัยยาง. 2545. ข้อมูลวิชาการยางพารา 2545.

เอกสารเผยแพร่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการ

เกษตร. 147 หน้า.

สุทัศน์ ด่านสกุลผล. 2542. การกำหนดเขตปลูกยางใน

ภาคใต้ของประเทศไทย โดยอาศัยวิธีการประเมิน

ศักยภาพที่ดิน ควบคู่กับการสำรวจข้อมูลระยะ

ไกลและจัดระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ .

เอกสารเผยแพรสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการ

เกษตร 242 หน้า.

F A O . 2 0 0 1 . R u b b e r C o m m o d i t y n o t e s .

Commodities and Trade Divition (ESC)

Economic and Social Department (ES).

Saaty, T.L. 1982. Multi Criteria Decision Making-

The Analytic Hierarchy Process. RWS

Publication, Ellsowrth Avenue, USA.

Somyot Sinthurahat. 1992. Elaboration of Land

Evaluation Model of Rubber Cultivation

in Peninsular Thailand. PhD Thesis, ITC,

State University of Ghent, Belgium. 261 p.

Sutat Dansagoonpon. 2006. Crop Substitution

Modeling Using Remote Sensing and GIS.

Asian Institute of Technology, Thailand.

154 p.

Sys, C. 1992. Land Evaluation. Part I to III. Intern.

Tra in. Center for Post-Graduate Soi l

Scientists (ITC), State University of Ghent,

Belgium, 125 p.

Page 13: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

11 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ประสิทธิภาพสารเคมีต่อการควบคุมโรครากขาวยางพารา

โรครากขาวของยางพารา เกิดจากเชื้อราชั้นสูง

จำพวกเห็ด (Basidiomycetes) มีชื่อวิทยาศาสตร์

Rigidoporus microporus หรือ R. lignosus พบ

แพร่ระบาด และทำความเสียหายแก่พื้นที่ปลูกยาง

ทั่วไป สามารถพบต้นยางเป็นโรคได้ตั้งแต่ 1-2 ปีแรก

ปลูก ทำให้ต้นที่เป็นโรคยืนต้นตายและเป็นแหล่งเชื้อ

แพร่กระจายแก่ต้นข้างเคียงทั้งในแถวและระหว่างแถว

ต่อไป ทำให้จำนวนต้นยางต่อไร่ลดลง สูญเสียรายได้

ทั้งจากผลผลิตน้ำยางและไม้ยาง นอกจากนี้ ยังต้องเสีย

ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการควบคุมและป้องกันโรคอีก

ด้วย โรครากขาวในประเทศไทยมีแนวโน้มแพร่ขยาย

และระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ปลูกยาง

เดิมซึ่งมีการปลูกยางแทนรอบใหม่ จากการศึกษา

สวนยางพ้นสงเคราะห์อายุ 6-7 ปีในปี 2548 ใน

พื้นที่จังหวัดพังงา และสุราษฎร์ธานี โดยนางสายใจ

และคณะ(2549) พบสวนยางเป็นโรครากขาวถึงร้อยละ

55 และร้อยละ 27 ตามลำดับ ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำ

ให้เกิดความสูญเสียมากขึ้นตามระยะเวลา จากการ

สำรวจโรคทั่วไปในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบนปี

2543-2546 พบสวนยางเป็นโรครากขาวกระจายอยู่

ทั่วไปร้อยละ 4.03 เปอร์เซ็นต์ และต่อมาในปี 2548-

2550 พบสวนยางเป็นโรคมากขึ้นเป็นร้อยละ 12.2 ของ

จำนวนสวนยางที่สำรวจทั้งหมด

ปัญหาหลักของการระบาดโรค และความล้มเหลว

ในการป้องกันกำจัดโรค คือการปล่อยปละในการปฏิบัติ

ตามคำแนะนำในมาตรการการควบคุมโรคราก ซึ่งวิธี

การป้องกันควบคุมโรครากในแปลงยางค่อนข้างยุ่งยาก

และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงไม่ได้รับความเอาใจใส่จาก

เกษตรกรเท่าที่ควร เริ่มตั้งแต่ 1) การเตรียมแปลงปลูก

โดยการทำความสะอาดแปลงด้วยการขุดเอาตอไม้และ

รากไม้ออกจากแปลงซึ่งต้องใช้เครื่องจักรกล แต่เป็น

วิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุด หรือให้ปล่อยพื้นที่ที่ เคย

เป็นโรครากโดยไม่ปลูกพืช หรือปลูกพวกพืชไร่ล้มลุก

ก่อนอย่างน้อย 2 ปี เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของ

เชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในแปลงปลูก 2) เมื่อต้นยางเป็นโรค

แล้วเกษตรกรอาจไม่ทราบสาเหตุ และไม่ใส่ใจในการ

กำจัดและป้องกันโรค ทำให้ต้นยางเป็นโรคตายและ

ลุกลามเพิ่มขึ้นเป็นพื้นที่กว้าง 3) ในกรณีต้นยางใหญ่

เมื่อต้นยางเป็นโรคแล้ว การจัดการค่อนข้างยุ่งยาก

ต้องกระทำโดยวิธีผสมผสาน คือ ทั้งด้านเขตกรรม ด้าน

สารเคมี และการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เกษตรกรจึงมัก

ละเลยปล่อยให้โรคลุกลาม และจะเป็นปัญหาอย่างหนัก

ในแปลงยางปลูกแทนรอบต่อไป 4) สารเคมีที่แนะนำ

ไม่มีขายในแหล่งปลูกยาง

การใช้สารเคมีในการควบคุมโรครากของยาง

พารา ปัจจุบันถือว่าเป็นวิธีที่สะดวก ปฏิบัติได้ง่าย มี

ประสิทธิภาพรวดเร็ว และให้ผลดีกว่าวิธีการอื่น แต่เนื่อง

จากสารเคมีที่มีประสิทธิภาพต่อโรครากและแนะนำ

ให้ใช้ป้องกันกำจัดโรครากขาวในปัจจุบันมีขายในตลาด

ท้องถิ่นน้อยมาก และราคาแพงโดยเฉพาะในพื้นที่

อารมณ์ โรจน์สุจิตรศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร

พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

อุไร จันทรประทินศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร

Page 14: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

12 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ปลูกยางภาคใต้ พบว่า บางพื้นที่ไม่มีสารเคมีเหล่านี้

จำหน่าย จึงทำให้ไม่มีการจัดการโรคของเกษตรกร

การศึกษานี้จึงได้ศึกษาศักยภาพของสารเคมีชนิดอื่น

ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาใช้ป้องกันกำจัด

โรครากยางพาราสำหรับแนะนำเกษตรกรต่อไป

การทดลองที่ 1 ประสิทธิภาพสารเคมีต่อการป้องกันและความคุมโรครากขาว

ภาคใต้ตอนบน 1.1 สำรวจทดสอบประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญ

เส้นใยเชื้อราโรครากขาวในห้องปฏิบัติการ

ศึกษาสารเคมีใช้ป้องกันกำจัดโรคจากเชื้อราชนิด

เดียวกันกับสลากสารเคมีที่สถาบันวิจัยยาง (2551)

แนะนำให้ใช้ป้องกันกำจัดโรครากขาว และมีขายอยู่

ทั่วไปในร้านจำหน่ายสารเคมีในท้องถิ่น จำนวน 5 ชนิด

คือ ไอโปรไดโอน, วาลิดามัยซิน, คาร์ เบนดาซิม,

ฟอสฟอรัส แอซิด และอีทาบอกแซม เพื่อทดสอบการ

ยับยั้งการเจริญเชื้อราโรครากขาวโดยวิธี poisoned

food technique พบว่า สารเคมีเหล่านี้มีประสิทธิภาพ

ยับยั้งเชื้อราโรครากขาวน้อยมาก ยกเว้นฟอสฟอริก

แอซิค ที่ความเข้มข้นต่ำสุด 1,000 ppm. สามารถยับยั้ง

เชื้อราได้ 80% แต่อย่างไรก็ตาม ที่ความเข้มข้นมากขึ้น

10-50 เท่า (10,000-50,000 ppm.) ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ

ได้อย่างเด็ดขาด (ตารางที่ 1) ขณะที่สารเคมีเปรียบเทียบ

ไซโปรโคนาโซล สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยเชื้อราได้

100% ที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุดเพียง 100 ppm. และ

ไตรดีมอร์ฟซึ่งเป็นสารที่แนะนำอีกชนิดหนึ่งสามารถ

ยับยั้งการเจริญเส้นใยเชื้อราได้ 100% ที่ระดับความ

เข้มข้นต่ำสุด 5,000 ppm

จากผลการทดลองข้างต้น สารเคมีที่หาได้ทั่วไป

ในตลาดท้องถิ่น ไม่มีสารชนิดใดที่มีประสิทธิภาพ จึงได้

สำรวจและทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีกลุ่ม Triazole

และกลุ่ม Imidazole ซึ่งเชื้อราชั้นสูงจะอ่อนแอต่อ

กลุ่มสารพวกนี้ (ธรรมศักดิ์ , 2528) โดยคัดเลือก

ผลิตภัณฑ์ที่ยังมิได้จัดเป็นสารเคมีแนะนำและเป็น

สารเคมีที่แนะนำแล้วมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ

สารเคมี กลุ่มไตรอะโซล (Triazole) คือ โพรพิโคนาโซล +

โพรคลอราช (propiconazole+prochloraz) เฮกซา

โคนาโซล (hexaconozole) ไตรอะดิมิฟอน (triadime-

fon) เตตระโคนาโซล (tetraconazole) ไมโครบิวทานิล

(microbuthanil) และ สารกลุ่ม อิมีดาโซล (Imida-

zole) คือ โปรคลอราช (prochloraz) ซึ่งสารจำพวกนี้

ส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้กับโรคของพืชไร่ ข้าว และไม้ผล

บางชนิด เช่น โรคราน้ำค้างพืชตระกูลแตง โรคใบจุด

จากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคแอนแทรกโนสของมะม่วง

เป็นต้น โดยทดสอบประสิทธิภาพที่อัตราสารออกฤทธิ์

cyproconazole 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100

iprodion 21.6 53.0 57.1 67.2 59.0 80.3 18.9 60.0 65.2 62.9 53.2 87.9

phosphoric acid 14.7 63.8 79.2 82.6 78.9 100.0 15.0 71.7 81.9 88.9 83.6 98.9

validamycin - 23.0 44.3 79.5 80.6 81.8 - 22.7 46.4 83.0 84.1 87.3

carbendazim -27.3 -25.9 -12.8 1.0 25.0 68.3 0.0 0.0 0.0 2.2 27.7 63.7

tridemorph 79.7 85.6 100.0 100.0 100.0 100.0 75.3 83.1 92.1 100.0 100.0 100.0

etaboxam 11.1 58.7 63.6 67.3 71.3 75.5 4.2 54.7 61.0 63.0 68.2 70.0

ตารางที่ 1 เปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญเชื้อรา R. lignosus บนอาหาร(PDA) ที่ผสมสารเคมีป้องกัน

กำจัดเชื้อราชนิด และความเข้มข้นสารออกฤทธิ์ (ppm.) ต่างๆเปรียบเทียบ control

หลังปลูกเชื้อ 5 และ 10 วัน

สารเคมี%การยับยั้งหลังปลูกเชื้อ 5 วัน %การยับยั้งหลังปลูกเชื้อ 7 วัน

100 100500 5001,000 1,0005,000 5,00010,000 10,00050,000 50,000

Page 15: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

13 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

1, 10, 100 และ 1,000 ppm. เปรียบเทียบการเจริญ

เชื้ อราในอาหาร PDA ที่ ไม่ผสมสารเคมี พบว่า

สารเคมีทุกชนิดมีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อราโรครากขาว

ได้ดี โดยสารเคมี propiconazole+prochloraz

(ผลิตภัณฑ์ที่ 1), hexaconozole, และ microbuthanil

มีประสิทธิภาพยับยั้งและกำจัดเชื้อราได้ดีเทียบเท่า

cyproconazole ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเชื้อราโรค

รากขาวได้ 100% ที่ความเข้มข้นเพียง 100 ppm.ใน

ขณะที่ propiconazole+prochloraz (ผลิตภัณฑ์ที่ 2),

tr iadimefon, tetraconazole, microbuthanil+

mancozeb และ prochloraz สามารถยับยั้งการ

เจริญเชื้อราโรครากขาวได้ 100% ที่สารออกฤทธิ์ 1,000

ppm. (ตารางที่ 2) สรุปได้ว่าสารเคมีในกลุ่ม Triazole

และ กลุ่ม Imidazole ทุกชนิดมีศักยภาพเป็นสาร

ป้องกันกำจัดโรครากขาวยางพาราจึงได้ทดสอบสาร

เคมีเหล่านี้ในสภาพแปลงต่อไป

1.2 ทดสอบประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเชื้อราโรค

รากน้ำตาล (P. noxius) และเชื้อราโรครากแดง

(G. pseudoferreum) ของสารเคมีกลุ่ม ไตรอะโซล

(Triazole) และ อิมิดาโซล (Imidazole)

ไซโปรโคนาโซล, โพรพิโคนาโซล, เฮกซาโคนาโซล,

ไมโครบิวทานิล และโพรคลอราช สามารถกำจัดและ

ยับยั้งเชื้อรา โรครากสีน้ำตาล และโรครากแดงได้ดี

และเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้อ่อนแอต่อสารเคมีมากกว่า

เชื้อราโรครากขาว ใช้ความเข้มข้นสารเคมีน้อยกว่า

ก็สามารถยับยั้งเชื้อได้ 100 % ดังแสดงในตารางที่ 3

และตารางที่ 2 ควรแนะนำให้ใช้สารในปริมาณหรือ

ความเข้มข้นน้อยกว่าที่แนะนำให้ใช้กับโรครากขาวได้

ดังนั้น ควรศึกษาพัฒนาอัตราและวิธีการใช้สารเคมี

เหล่านี้ต่อไป เพื่อให้ใช้สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสม

มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่าย

1.3 ทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีกับต้นยาง

เป็นโรครากขาวในแปลงทดลอง

ไ ด้ ท ด ส อ บ ส า ร เ ค มี ไ ต ร อ ะ ดิ มิ ฟ อ น แ ล ะ

โพรคลอราช ที่อัตราความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ 2,000

และ 5,000 ppm. ซึ่งเป็น 2 และ 5 เท่าของอัตราต่ำสุดที่มี

cyproconazole (10%w/v SL) 63.5 84.3 100 100 56.2 86.4 100 100

propiconazole+prochloraz (9%+49% w/v EC)* 68.2 87.2 100 100 59.7 87.8 100 100

propiconazole+prochloraz (9%+49% w/v EC)* 61.5 77.1 89.5 100 53.7 71.0 89.8 100

hexaconozole (5%w/vSC) 40.5 79.4 100 100 37.0 74.2 100 100

hexaconozole (5%w/vSC) 64.4 86.8 100 100 58.0 85.4 100 100

triadimefon (20% w/v EC) 23.1 57.7 84.3 100 9.1 45.0 79.7 100

tetraconazole (2.5%%w/vSC) 41.9 74.2 90.1 100 32.2 69.2 89.4 100

microbuthanil+mancozeb (2.25+60%WP)** 26.9 70.6 100 100 7.8 62.5 89.6 100

microbuthanil (12.5% w/v EC) 60.3 85.0 100 100 60.4 82.4 100 100

prochloraz (45% w/v EC) -3.5 26.8 79.4 100 -3.3 11.1 74.3 100

ตารางที่ 2 เปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. microporus บนอาหาร(PDA) ที่ผสมสารเคมี

ที่ระดับความเข้มข้น (ppm.) ต่างๆ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ไม่ใช้สารเคมี

หลังปลูกเชื้อ 5 และ 7 วัน

สารเคมี/ความเข้มข้น(ppm.)%การยับยั้งหลังปลูกเชื้อ 7 วัน%การยับยั้งหลังปลูกเชื้อ 5 วัน

11 1010 100100 1,0001,000

หมายเหตุ * ปริมาณสารคิดจากสารออกฤทธิ์ propiconazole

** ปริมาณสารคิดจากสารออกฤทธิ์ microbuthanil(ผลิตภัณฑ์เป็นผง)

Page 16: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

14 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ประสิทธิภาพ 100% ในห้องปฏิบัติการ และ ไซโปร

โคนาโซล อัตรา 500 ppm. ซึ่งเป็นความเข้มข้น 5 เท่า

ของอัตราต่ำสุดที่มีประสิทธิภาพ 100% ในห้องปฏิบัติ

การ เปรียบเทียบกับไม่ใช้สาร และไซโปรโคนาโซล

อัตรา 1,000 ppm. ตามคำแนะนำ(สถาบันวิจัยยาง,

2552) ทดสอบกับต้นยางในแปลงปลูก หลังใช้สาร

1 ปี แสดงในตารางที่ 4 ดังนี้

กรรมวิธีไม่ใช้สารเคมี พบว่า ต้นยางทั้งที่เป็น

โรครุนแรงและติดเชื้อเล็กน้อยก่อนการทดลองแสดง

อาการของโรคอย่างรุนแรง และยืนต้นตายทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังพบโรคลุกลามสู่ต้นยางปกติ ทำให้ต้น

ยางแสดงอาการรุนแรงและมีต้นยางตายเพิ่มขึ้น โดย

รวมมีต้นยางที่เป็นโรครุนแรงและตายทั้งหมด 10 ต้น

จาก 12 ต้น หรือคิดเป็นร้อยละ 84.3 และต้นยางที่ตาย

และแสดงอาการรุนแรงทุกต้นมีดอกเห็ดของเชื้อรา

สาเหตุเจริญแสดงว่ายังมีเชื้อราสาเหตุ ในขณะที่การใช้

สารเคมีสามารถรักษาต้นยางที่เป็นโรคและป้องกันการ

แพร่ลุกลามโรคสู่ต้นยางปกติได้ดี โดย ไซโปรโคนาโซล

ที่ความเข้มข้น 500 ppm. มีประสิทธิภาพดีที่สุด

สามารถรักษาโรค และยับยั้งเชื้อราในต้นที่เป็นโรค

รุนแรงและติดเชื้อเล็กน้อยได้ ทำให้ต้นยางสามารถ

เจริญเติบโตต่อไปได้ทั้งหมดและสามารถป้องกันการ

แพร่ลุกลามโรคสู่ต้นยางปกติได้ 100% รากไม้และโคน

ต้นที่เป็นอาการรุนแรงจะผุและย่อยสลายไป พบว่า ต้น

ยางสามารถงอกรากใหม่ได้โดยเจริญออกมาจากเนื้อเยื่อ

โคนต้นที่เป็นรอยต่อของส่วนที่ผุและเนื้อเยื่อปกติขึ้นมา

ทดแทน ส่วนที่ความเข้มข้น 1,000 ppm. สามารถรักษา

ต้นยางที่เป็นโรครุนแรงมากได้ 50% รักษาต้นที่เป็นโรค

รุนแรงปานกลางและรุนแรงเล็กน้อยได้ รวมถึงสามารถ

ป้องกันการแพร่ลุกลามโรคสู่ต้นยางปกติได้ดี แต่อย่างไร

ก็ตาม ถึงแม้ไม่สามารถฟื้นฟูต้นยางที่แสดงอาการ

รุนแรงได้ แต่สารเคมีสามารถกำจัดเชื้อราที่อยู่ในเนื้อไม้

ได้ โดยสังเกตได้จากการไม่มีดอกเห็ดเชื้อราเจริญออก

จากโคนต้นเหมือนกับกรรมวิธีควบคุม เนื่องจากสาร

ไซโปรโคนาโซล มีราคาจำหน่ายค่อนข้างแพง ที่ผ่านมา

สถาบันวิจัยยางแนะนำให้ใช้สารเคมี อัตรา 500-1,000

ppm.สารออกฤทธิ์ หรือสารเคมี(10SL) 5-10 มิลลิลิตร

ต่อน้ำ 1 ลิตร ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้สารเคมี เฉพาะ 5

มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร อัตราเดียว จะประหยัดราย

จ่ายได้ถึง 50 %

ไตรอะดิมิฟอน 2,000 และ 5,000 ppm. มี

ประสิทธิภาพรักษา กำจัดเชื้อรา และป้องกันการแพร่

ลุกลามของโรคได้ดีเช่นกัน โดยสามารถรักษาต้นที่

เป็นโรครุนแรงมากได้ 90% และรักษาต้นที่เป็นโรค

cyproconazole 56.7 100 100 100 66.5 100 100 100

propiconazole+prochloraz (9%+49% w/v EC)* 100 100 100 100 82.0 100 100 100

hexaconozole (5%w/vSC) 76.2 100 100 100 50.4 100 100 100

microbuthanil+mancozeb (2.25+60%WP)** 13.6 55.3 100 100 -43.6 45.0 100 100

microbuthanil (12.5% w/v EC) -3.2 39.0 100 100 3.2 100 100 100

prochloraz(45% w/v EC) -7.1 4.3 82.4 100 -11.4 4.0 100 100

ตารางที่ 3 เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. noxius และ G. pseudoferreum บนอาหาร

PDA ที่ผสมสารเคมีที่ระดับความเข้มข้น (ppm.) ต่างๆ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม

ที่ไม่ใช้สารเคมี

สารเคมี/ความเข้มข้น(ppm.)G. pseudoferrium (14 วัน)P. noxius (7 วัน)

11 1010 100100 1,0001,000

หมายเหตุ * ปริมาณสารคิดจากสารออกฤทธิ์ propiconazole

** ปริมาณสารคิดจากสารออกฤทธิ์ microbuthanil

Page 17: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

15 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ตารางที่ 4 ผลการใช้สารเคมีกับยางพาราเป็นโรครากขาวหลังการใช้สารเคมีครั้งแรก 12 เดือน

(ตรวจสอบเดือนพฤศจิกายน 2553)

4 12 ( 2553)

1 2 3 1 2 3

1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 D Y N D Y N D Y N

3 1 - - - - - - 1 2 1 - - - - - - - 1 3 - - - - - 3 1 - 1 3 - - 4 - - - - - - - 4 - - - - - - - 4 1 - - 2 - - - 1 4 - - 2 2 - 1 1 2

+ 83% prochloraz 5,000ppm.

4 - - - - - - - - - 1 3 - - - - - - - 4 - - - - - 4 - - - 4 - - 4 - - 1 1 - - 1 1 - - 1 3 - - - - - - - 4 - - - - 2 - 2 - 1 3 - - 4

+ 75% prochloraz. 2,000ppm.

3 1 - - - - - - - 1 1 2 - - - - - - - 4 - - - - - 4 - - - 4 - - 4 - - - - 2 1 1 - - - - 4 - - - - - - - 4 - - - - 1 - 3 - - 4 - - 4

+ 91.6% triadimefon 5,000ppm.

4 - - - - - - - - 2 - 2 - - - - - - - 4 - - - - - 4 - - - 4 - - 4 - - - 3 - - - 1 - - 1 3 - - - - - - - 4 - - - - 1 - 3 - - 4 - - 4

90% triadimefon 2,000ppm.

4 - - - - - - - - 3 - 1 - - - - - - 3 1 - - - - 4 - - - 4 - - 4 - - - 2 1 - 1 - - - - 4 - - - - - - - 4 - - - 1 - 3 - - 4 - - 4

90% cyproconazole 1,000 ppm

3 1 - - - - - - - 4 - - - - - - - - 2 2 - - - - - 3 1 - - 4 - - 4 - - - - 2 - - 2 - - - 4 - - - - - - - 4 - - - - 2 - 2 - 1 3 - - 4

+ 83.3% cyproconazole 500 ppm.

4 - - - - - - - 1 3 - - - - - - - 3 1 - - - - - - 4 - - 1 3 - - 4 - - - 1 3 - - - - - - 3 1 - - - - - - 3 1 - - - - - 4 - - 4 - - 4

+ 100%

: D = Y = N = 1= / 100%/ >60% ( ) 2= / >50-100%/ >20% ( ) 3= , <50%/ ( ) 4= / / 5= , , 6= , , , 7= , 8= ,

รุนแรงปานกลาง-รุนแรงเล็กน้อยได้ รวมถึงป้องกัน

การแพร่ลุกลามโรคสู่ต้นยางปกติได้ดี ดังนั้น สารออก

ฤทธิ์ 2,000 ppm. จึงเป็นอัตราที่มีประสิทธิภาพ ควร

พัฒนาวิธีใช้แนะนำเกษตรกรต่อไป ซึ่ง Hoong และ

Page 18: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

16 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

คณะ (1991) รายงานว่า ไตรอะดิมิฟอน 15-20 กรัม

รักษาต้นยางที่เป็นโรครากขาวระดับค่อนข้างรุนแรง

ได้ สารเคมีชนิดนี้ค่อนข้างมีกลิ่น แต่หาซื้อได้ง่าย

ราคาถูก จึงเหมาะเป็นสารแนะนำเกษตรกร

โพรคลอราช 2,000 ppm. มีประสิทธิภาพรักษา

และกำจัดโรคได้ดี ความเข้มข้น 5,000 ppm. สามารถ

รักษาอาการต้นที่แสดงอาการรุนแรงเล็กน้อยและ

ป้องกันการแพร่ลุกลามได้ดี แต่ยังมีเชื้อราที่มีชีวิต

หลงเหลืออยู่ จากการพบดอกเห็ดเจริญออกมาจาก

ส่วนโคนต้นยาง นอกจากนี้ ยังพบว่ามีรากเจริญออก

มาจากเนื้อเยื่อโคนต้นที่เป็นรอยต่อของส่วนที่ผุและ

เนื้อเยื่อปกติเช่นเดียวกัน เนื่องจากสารเคมีชนิดนี้

ค่อนข้างหาซื้อได้ง่าย ราคาถูก จึงเหมาะแก่การเป็น

สารแนะนำให้ เกษตรกร แต่ต้องพัฒนาอัตราและ

วิธีการใช้ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป

ข้อสังเกตที่พบว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิด มีประสิทธิ

ภาพในการป้องกันกำจัดโรครากขาวได้ดี โดยเฉพาะ

ไซโปรโคนาโซล และไตรอะดิมิฟอน สามารถรักษา

และป้องกันกำจัดโรคได้ดีมาก ต้นยางที่เป็นโรครุนแรง

ก็ยังสามารถเจริญต่อไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีรากงอก

ใหม่ขึ้นมาทดแทนอย่างหนาแน่นบริเวณที่ เป็นรอย

ต่อของส่วนที่ผุซึ่ ง เดิมเป็นส่วนที่ เป็นโรคและเนื้ อ

เยื่อปกติ ซึ่งรากใหม่นี้จะมีผลทำให้ต้นยางที่พุ่มใบ

เหลืองร่วงกลับมีใบใหม่ที่ไม่แสดงอาการใบเหลือง

แต่อย่างไรก็ตาม ต้นยางเหล่านี้ยังมีใบน้อยอยู่ ซึ่งหาก

เวลาผ่านไป และรากใหม่ขยายและโตขึ้น ต้นยาง

เหล่านี้สามารถฟื้นตัวและเจริญได้เป็นปกติ

การทดลองที่ 2 ประสิทธิภาพสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรค

รากขาวในภาคใต้ตอนล่าง2.1 สำรวจทดสอบประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญ

เส้นใยเชื้อราในห้องปฏิบัติการ

สำรวจสารเคมีในตลาดท้องถิ่น จ.สงขลา และ

พัทลุง สามารถหาซื้อสารเคมีในตลาดท้องถิ่นได้ สำรวจ

สารเคมีในตลาดท้องถิ่น จ.สงขลา และพัทลุง 4 ชนิด

พบมีสารเคมีที่แนะนำ 2 ชนิด คือ hexaconazole

5%SC และ propiconazole 25% W/V.EC จึงได้

คัดเลือกสารเคมีที่มีขายอยู่ทั่วไปในตลาดท้องถิ่นมา

ศึกษาทดสอบประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการอีก 2

ชนิด คือ benomyl 50% WP และ metalexyl 25%

WP เปรียบเทียบกับ cyproconazole 10%SL และ

tridemorph 75% EC ทดสอบสารเคมี 5 อัตราความ

เข้มข้นของสารเคมี คือ 1, 3, 5, 7 และ 10% โดยคิด

เป็นความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ดังแสดงในตาราง

ที่ 5

ผลทดสอบ เฮกซาโคนาโซล, โพรพิโคนาโซล

และไตรดีมอร์ฟ ทุกอัตราสามารถยับยั้งการเจริญ

เชื้อราได้ 100% เช่นเดียวกับ ไซโปรโคนาโซล จาก

การทดสอบสารเคมีในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนที่รายงาน

ข้างต้น พบว่า สารเคมีออกฤทธิ์เพียง 100-1,000 ppm.

สามารยับยั้งเชื้อได้ 100% ซึ่งการทดลองนี้ใช้สารเคมี

ที่มีความเข้มข้นสารออกฤทธิ์สูงมากจึงสามารถยับยั้ง

ได้ 100% ทุกอัตรา ส่วนสารเคมีชนิดอื่นเช่น เบโนมิล

(benomyl) สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยเชื้อราได้

100% ที่สารออกฤทธิ์สูงถึง 25,000 ppm. และเมตา

แลกซิล(metalexyl) ที่อัตราสารออกฤทธิ์สูงสุด 25,000

ppm. สามารถยับยั้งการเจริญเชื้อราได้เพียง 85%

เท่านั้น ดังนั้น สารเนโนมิล และเมตาแลกซิล จึงไม่

เหมาะในการป้องกันกำจัดโรคราก เนื่องจากต้องใช้

สารที่มีความเข้มข้นสารออกฤทธิ์สูงมาก และต้องใช้

สารเคมีในปริมาณมาก ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย

การทดลองที่ 3 ประสิทธิภาพสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและความคุมโรครากขาวในเขตปลูก ยางภาคตะวันออก

3.1 สำรวจทดสอบประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญ

เส้นใยเชื้อราในห้องปฏิบัติการ

การสำรวจชนิดสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่มี

จำหน่ายในร้านค้า ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่

จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 38 ร้าน

พบว่ามี 21 ร้านค้าที่มีสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่

แนะนำป้องกันกำจัดโรครากขาวจำหน่าย ได้แก่ สาร

cyproconazole, propiconazole, difenoconazole,

hexaconazole เมื่อคัดเลือกสารเคมีที่มีจำหน่ายใน

ภาคตะวันออก จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ prochloraz,

Page 19: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

17 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ตารางที่ 5 การเจริญเชื้อ R. lignosus บนอาหารผสมสารเคมีที่ 1, 3, 5, 7 และ 10%

ยับยั้งการเจริญเชื้อรา วัดการเจริญหลังเลี้ยงเชื้อ 7 วัน และ% ยับยั้งการเจริญเชื้อราของฤทธิ์

สารตกค้าง(ศูนย์วิจัยยางสงขลา)

5 R. lignosus 1, 3, 5, 7 10% 7 % ( )

(%) (ppm.) % (% )

Benomyl ( )

1 3 5 7 10

5,000 15,000 25,000 35,000 50,000

77.5 90.6 100 100 100

- -

34.1 22.7 41.2

Metalexyl ( )

1 3 5 7 10

2,500 7,500 12,500 17,500 25,000

68.8 68.2 81.7 75.7 84.7

- - - - -

hexaconazole (

)

1 3 5 7 10

5,000 15,000 25,000 35,000 50,000

100 100 100 100 100

49.2 64.7 77.3 73.2 79.2

propiconazole (

)

1 3 5 7 10

2,500 7,500 12,500 17,500 25,000

100 100 100 100 100

81.5 91.2 90.7 89

93.1 cyproconazole (

)

1 3 5 7 10

1,000 3,000 5,000 7,000 10,000

100 100 100 100 100

74.5 87

86.1 100 100

Tridemorph ( )

1 3 5 7 10

7,500 22,500 37,500 52,500 75,000

100 100 100 100 100

100 100 100 100 100

difenoconazole, cyproconazole, triflumizole,

carbendazim และ procymidone มาทดสอบ

ประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเชื้อราโรครากขาวในห้อง

ปฏิบัติการ โดยวิธี poisoned food technique พบว่า

สารเคมีที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตเส้นใยได้ดี

ที่สุดคือ cyproconazole รองลงมา difenoconazole,

Page 20: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

18 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

triflumizole และ prochloraz ตามลำดับ ส่วน carben-

dazim และ procymidone ไม่สามารถยับยั้งการเจริญ

เติบโตเชื้อได้ (ตารางที่ 6)

สรุปและข้อเสนอแนะ 1. สารเคมีที่แนะนำใช้ป้องกันกำจัดโรครากขาว

ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีกลุ่มไตรอะโซล (triazole) พบว่า

ในพื้นที่ภาคใต้ ค่อนข้างหายากและราคาแพง ซึ่งใน

สลากของผลิตภัณฑ์สารเคมีเหล่านี้แนะนำใช้กับโรค

สาเหตุจากเชื้อรา ในพืชไร่ ข้าว และไม้ผลบางชนิด

ซึ่งแตกต่างจากพืชหลักภาคใต้ จะปลูกพืชเหล่านี้น้อย

มาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่มีสารเคมีเหล่านี้จำหน่าย

แตกต่างกับในพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีสารเคมีกลุ่ม

ไตรอะโซล หลายชนิด และหาซื้อได้ง่ายในตลาดท้องถิ่น

2. สารเคมีที่มีขายอยู่ทั่วไปในตลาดท้องถิ่นไม่มี

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรครากขาว เช่น

เบนโนมิล, เมตาแลกซิล, ไอโปรไดโอน, ฟอสฟอริก

แอซิด, วาลิดามัยซิน, อีทาบอกแซม, คาร์เบนดาซิม

และโปรไซมิโดน เป็นต้น

3. ผลทดสอบในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารเคมี

ชนิดที่ยังไม่แนะนำให้ใช้ป้องกันกำจัดโรครากขาวใน

ปัจจุบัน มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อราโรครากขาวได้ดี

ใกล้เคียงกับสาร โซโปรโคนาโซล และ เฮกซาโคนาโซล

คือ ไตรอะดิมิฟอน, ไมโครบิวทานิล, เททราโคนาโซล,

ไดฟิโนโคนาโซล, ไตรฟลูมิโซล และโพรคลอราช

4. สารเคมี ไซโปรโคนาโซล สารออกฤทธิ์ 500

ppm. มีประสิทธิภาพรักษา ป้องกัน และกำจัดโรคราก

ขาวได้ดีมากไม่แตกต่างกับความเข้มข้นสารออกฤทธิ์

1,000 ppm. ต้นยางสามารถงอกรากใหม่ขึ้นมาทดแทน

รากที่เป็นโรค ทำให้ต้นยางที่เป็นโรคสามารถเจริญ

เติบโตได้ต่อไป จึงแนะนำให้ใช้สารเคมี 5 มิลลิลิตร

ต่อน้ำ 1 ลิตร(500 ppm. a.i.) อัตราเดียว แทนการ

แนะนำ 5-10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร (500-1,000

ppm. a.i) ทำให้เกษตรกรประหยัดรายจ่ายถึง 50%

5. สารเคมีทางเลือก มีประสิทธิภาพป้องกัน

กำจัดโรครากขาวได้ดี คือไตรอะดิมิฟอน อัตราสารออก

ฤทธิ์ 2,000 ppm. และไมโครบิวทานิล ซึ่งมีประสิทธิ

ภาพดีมากใกล้เคียงกับไซโปรโคนาโซล นอกจากนี้มี

สารเคมีกลุ่มเอมิดาโซล คือ โพรคลอราช อัตราสาร

ออกฤทธิ์ 2,000 ppm. สามารถลดความรุนแรงของโรค

ได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่าสารเคมีใน

กลุ่มไตรอะโซล ซึ่งจะศึกษาอัตรา วิธีการใช้ที่มีประสิทธิ

ภาพและประหยัดมากขึ้นต่อไป

เอกสารอ้างอิงธรรมศักดิ์ สมมาตย์. 2528. สารเคมีป้องกันกำจัด

โรคพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์ทั่งฮั่วซิน. 371 หน้า.

พงษ์เทพ ขจรไชยกูล. 2523. โรคและศัตรูยาง. รวบรวม

prochloraz 45.90 62.36 83.96 98.41

difenoconazole 76.62 90.27 96.07 100.00

cyproconazole 95.22 98.29 100.00 100.00

triflumizole 80.06 84.57 91.99 100.00

carbendazim -0.43 0.29 1.89 2.62

procymidone 0 1.59 4.76 9.52

ตารางที่ 6 ประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัด ยับยั้งการเจริญเชื้อราโรครากขาวในห้องปฏิบัติการ

ทดสอบด้วยวิธี poisoned food technique (ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา)

สารเคมี ความเข้มข้นของสารเคมี (มิลลิกรัมต่อลิตร)

1 2.5 5 10

Page 21: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

19 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

โดยกลุ่มโรงเรียนการยาง ศูนย์วิจัยยางสงขลา

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. 49 หน้า.

สถาบันวิจัยยาง. 2549. โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญ

ในประเทศไทย. กรมวิชาการเกษตรกระทรวง

เกษตรและสหกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

52 หน้า.

สายใจ สุชาติกูล. 2548. ศึกษาการใช้เทคโนโลยีใน

สวนยางพ้นสงเคราะห์.

Hoong, C.W., W.C. Pheng, and W.C. Chuan. 1991.

Control of white root disease in immature

rubber with three systemic fungicides.

Planter 67(783) : 251-265.

Soekirman, P. 2006. Current status white root

disease on Hevea rubber in Indonesia.

Paper presented in the International

Workshop on White Root Disease of Hevea

Rubber. Salatiga, Indonesia. 28 November.

Page 22: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

20 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

หนอนกัดกินเปลือกยางพาราและการควบคุมกำจัด รัตน์ติยา พวงแก้ว ศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร

เนื่องจากพื้นที่ปลูกยางเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยาง

มากขึ้นประมาณ 2.8 ล้านไร่ จึงทำให้มีปัญหาโรค

แมลงเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แมลงศัตรูตามปกติของยาง

พารา คือ หนอนทราย ปลวก เพลี้ยหอย และไรพืช เมื่อ

แมลงศัตรูเหล่านี้เข้าทำลายต้นยาง จะมีผลกระทบต่อ

การเจริญเติบโตของต้นยาง ต้นยางอาจจะชะงักเฉา

ตายได้ จากผลสำรวจแปลงยางพาราเขตปลูกยางใหม่

พื้นที่แห้งแล้ง พบว่า มีแมลงอีกชนิดหนึ่งที่ตัวอ่อนระยะ

ตัวหนอนชอบกัดกินเปลือกต้นยางพารา แต่เกษตรกร

ส่วนใหญ่ไม่ทราบเพราะหนอนชนิดนี้อาศัยอยู่ภายใต้

รังเส้นใยที่มันสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตัวทำให้มองไม่เห็น

ตัวหนอน จึงไม่มีการป้องกันรักษา หากเกษตรกร

ไม่ทราบและไม่เตรียมตัว อาจพบการระบาดของหนอน

ชนิดนี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของ

ต้นยาง และผลผลิตต่อไปในอนาคต ดังนั้น จึงศึกษา

วงจรชีวิต ชีววิทยา และการระบาดของหนอน เพื่อ

ประเมินการระบาด และศึกษาแนวทางในการป้องกัน

ควบคุมรักษาต่อไป

ผลการศึกษา สำรวจประชากรหนอนกัดกินเปลือกยางพาราใน

เดือนพฤศจิกายน 2552 ถึงกุมภาพันธ์ 2553 ในพื้นที่

2 จังหวัด จำนวน 8 แปลง ได้แก่ บุรีรัมย์ 5 แปลง และ

สุรินทร์ 3 แปลง โดยสำรวจการเข้าทำลายบริเวณต่างๆ

ของต้นยาง สุ่มสำรวจแปลงละ 100 ต้น พบว่า หนอน

กัดกินเปลือกยางบริเวณเหนือรอยกรีดมากที่สุดถึง

ร้อยละ47.90 รองลงมาคือบริเวณรอยกรีด ร้อยละ

40.97 บริ เวณคาคบ และกิ่ ง ร้อยละ 7.29 และ

3.83 ตามลำดับ โดยหนอนระบาดมากในพื้นที่ ตำบล

สำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ เฉลี่ย

24.1 ตัว/ต้น รองลงมาได้แก่ ตำบลเทนมีย์ และ ตำบล

โคกปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เฉลี่ย 13.5

และ 12.0 ตัว/ต้น ตามลำดับ แต่ไม่พบการระบาดใน

พื้นที่ ตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก และตูมใหญ่ อำเภอ

คูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (ตารางที่ 1) จากผลการศึกษา

นำตัวหนอนมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการภายใต้อุณหภูมิ

ห้อง (ภาพที่ 1) พบว่า ลักษณะทางสัณฐานวิทยาตัว

หนอนช่วงวัยแรกยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร กว้าง 1

มิลลิเมตร ลำตัวแบน ส่วนหัวมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม

ลำตัวสีส้ม แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดง และเป็นสีแดง

เข้ม ระยะก่อนเข้าดักแด้ลำตัวยาวประมาณ 20

มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่

อยู่ปล้องอกที่ 1-3 มีขาเทียม (proleg) 4 คู่ ที่ท้องปล้อง

6-9 ตัวหนอนกัดกินเปลือกยางและอาศัยอยู่ภายใต้รัง

ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันตัว รังสีน้ำตาลมี 2 ชั้น ขนาด

รังกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5

เ ซ น ติ เ ม ต ร ตั ว ห น อ น อ า ศั ย ใ ต้ รั ง จ น เ ข้ า ดั ก แ ด้

ดักแด้เป็นแบบ ออบเทคท์ (obtect) คือ มีรยางค์ ยึด

ติดกับลำตัว มีปลอกหุ้มดักแด้ ดักแด้อยู่ในรังชั้นที่ 2

ดักแด้มีขนาดยาว 10 มิลลิเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร

ระยะดักแด้ 8-15 วัน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ

กลางคืน (moth) อยู่ในอันดับ (Order) Lepidoptera

มีขนาดเล็ก ส่วนหัว อก และท้องสีน้ำตาลอ่อน ปีกสี

น้ำตาลเข้ม บริเวณโคนปีกมีแถบสีขาวและดำพาดตาม

ขวาง ขอบปีกสีขาว เส้นปีกสีดำ เพศเมียมีขนาด

Page 23: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

21 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ร่อนทอง สตึก บุรีรัมย์ 19 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0

ตูมใหญ่ คูเมือง บุรีรัมย์ 11 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0

จันทรเพชร บ้านกรวด บุรีรัมย์ 7 0.0 2.1 0.7 0.4 0.0 3.2

จันทรเพชร บ้านกรวด บุรีรัมย์ 11 0.0 1.1 1.7 0.2 0.0 3.0

สำโรงใหม่ ละหานทราย บุรีรัมย์ 14 0.0 5.5 14.5 2.4 1.6 24.1

เทนมีย์ เมือง สุรินทร์ 13 0.0 7.9 4.9 0.5 0.2 13.5

โคกปราสาท เมือง สุรินทร์ 11 0.01 6.9 4.1 0.6 0.4 12.0

สังขะ สังขะ สุรินทร์ 11 0.0 0.5 2.2 0.2 0.1 3.0

ร้อยละ 0.02 40.97 47.90 7.29 3.83

ตารางที่ 1 สำรวจประชากรหนอนกัดกินเปลือกยางพาราบริเวณต่างๆ ของต้นยาง RRIM 600

ในพื้นที่ 2 จังหวัด

ตำบล อำเภอ จังหวัด อายุ

(ปี)

รวม

(ตัว/ต้น)

จำนวนหนอนที่กินเปลือกบริเวณต่างๆ (ตัว/ต้น)

เท้าช้าง คาคบ กิ่งหน้ากรีด เหนือรอยกรีด

ใหญ่กว่าเพศผู้ ปีกกว้าง 2–3 มิลลิเมตร ยาว 8–10

มิลลิเมตร ลำตัวยาว 5-7 มิลลิเมตร มีปากแบบดูด

(siphoning type) มีหนวดแบบเส้นด้าย (filliform) ระยะ

ตัวเต็มวัยเพศผู้ 1-2 วัน เพศเมีย 6-14 วัน ฤดูกาล

แพร่ระบาดช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน การป้องกัน

กำจัดเบื้องต้นแนะนำใช้ไส้เดือนฝอย Steinernemar

carpocasae อัตรา 4 ล้านตัว/น้ำ 20 ลิตร/ต้น ฉีดพ่น

2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน หรือใช้สารเคมี กลุ่ม อีมาเม็กติน

เบนโซเอท (emamectin benzoate) อัตรา 10 มิลลิลิตร/

น้ำ 20 ลิตร พ่นให้เปียกชุ่มบริเวณที่หนอนทำลาย

สรุปผลการศึกษาและคำแนะนำ โดยปกติหนอนแมลงชนิดนี้ ไม่แพร่ระบาดใน

ช่วงฤดูฝน เพราะต้นยางพาราเปียกน้ำท่วมรังไม่

สามารถเจริญครบวงจรได้ มักพบหนอนแมลงชนิดนี้

ในพื้นที่ปลูกยางใหม่เขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะปีใด

ที่ฤดูฝนหมดเร็ว จะมีหนอนแมลงเหล่านี้มากขึ้น ยัง

ไม่พบผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตยาง เพราะส่วนใหญ่

ช่วงแล้งหยุดกรีดยาง แต่ถ้ามีการระบาดเร็วขึ้นอาจพบ

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว การกรีดยางอาจมีปัญหา

เพราะตัวหนอนจะสร้างรังเป็นหลุมเล็ก ทำให้เปลือก

ต้นยางแข็งและมีขี้ ขุยของรั งรบกวนร่องกรีดยาง

หนอนแมลงนี้จะกินผิวเปลือกแห้งของต้นยางเป็น

หลัก และกัดกินลึกลงไปถึงเนื้อเยื่อสดของเปลือกยาง

เฉพาะที่ทำรัง แต่ไม่ถึงเนื้อเยื่อท่อน้ำยาง ทำให้เปลือก

ต้นยางผิวแห้งแข็งขึ้น เพราะเปลือกต้นยางเสียน้ำ

ระเหยออกไปได้ง่าย และผิวเปลือกแข็งของต้นยาง

เป็นหลุมบ่อเล็กๆ ไม่สะดวกต่อการกรีด อย่างไรก็ตาม

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนแมลงพวกนี้ก็หายไปหมด ถ้าบำรุง

รักษาใส่ปุ๋ยต้นยางดี ก็ไม่เป็นอุปสรรคในฤดูกรีดยาง

ปีต่อไป ถ้าจะกำจัดก็สามารถดำเนินการได้ตาม

การแนะนำดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

Page 24: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

22 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาพที่ 1 ระยะต่างๆ ของหนอนกัดกินเปลือกยางพารา ; ลักษณะการทำลายของหนอนกัดกินเปลือกยางพารา (A และ B), หนอนกัดกินเปลือกยางพารา

และดักแด้ (C และ D), ตัวเต็มวัยหนอนกัดกินเปลือกยางพารา (E และ F)

312

312

312

312

312

312

A

C

E

B

D

F

Page 25: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

23 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

การจัดการสวนยางแบบมีส่วนร่วมภาคตะวันออก (จังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรี)

พิศมัย จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

จังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรี มีพื้นที่ปลูกยาง

52,792 ไร่ และ 122,837 ไร่ ตามลำดับ ให้ผลผลิต

7,016.91 ตัน ผลผลิตต่อไร่ เฉลี่ยประมาณ 256 และ

317 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ(กรมพัฒนาที่ดิน,

2547) ประเด็นปัญหาที่ทำให้ผลผลิตของเกษตรกร

ค่อนข้างตกต่ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการที่ ไม่

เหมาะสม โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ย ไม่ค่อยใส่ปุ๋ยเคมีตาม

สูตรแนะนำของสถาบันวิจัยยาง บางครั้งพบใส่ปุ๋ย

อินทรีย์แทน เนื่องจากปุ๋ยเคมีราคาแพง ประกอบกับใน

พื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณน้ำฝนน้อย เฉลี่ย 1,200 - 1,400

มิลลิเมตร/ปี เมื่อมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว

จึงกระทบต่อการให้ผลผลิตน้ำยาง ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหา

นี้ควรทำการศึกษาการจัดการสวนยางของเกษตรกร

โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้

จัดการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ผลการศึกษา การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

สูตร 30-5-18 ช่วงระหว่าง เดือนมิถุนายน 2550-

มกราคม 2555 ได้ผลผลิตยาง 349 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ

4.85 กิโลกรัม/ต้น/ปี มากกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยตามวิธีการ

ปฏิบัติของเกษตรกรได้ผลผลิตยาง 325 กิโลกรัม/ไร่/ปี

หรือ 4.52 กิโลกรัม/ต้น/ปี เฉลี่ย ร้อยละ 7 (ภาพที่ 1 และ

ตารางที่ 3 และ 4 ) และในปี พ.ศ. 2551 ผลผลิตยาง 4

เดือน (พฤษภาคม –สิงหาคม 2551) พบว่าวิธีการใส่ปุ๋ย

ตามคำแนะนำฯ ให้ผลผลิต 160 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ

2.22 กิโลกรัม/ต้น/ปี มากกว่าวิธีการปฏิบัติของเกษตร

กร ซึ่งได้ผลผลิต 142 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 1.98 กิโลกรัม/

ต้น/ปี เฉลี่ย ร้อยละ 12 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา

รายได้ต่อวัน ให้ผลเช่นเดิม คือ วิธีการใสปุ๋ยตามคำ

แนะนำ ในปี 2550-2551 ให้ผลผลิต 33.41 กิโลกรัม/

แปลงกรีด/วัน มากกว่าวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร ซึ่งได้

ผลผลิต 31.02 กิโลกรัม/แปลงกรีด/วัน เฉลี่ย ร้อยละ

8 ในปี 2551 ให้ผลเช่นเดียวกัน วิธีการการใส่ปุ๋ยตามคำ

แนะนำให้ผลผลิต 31.59 กิโลกรัม/แปลงกรีด/วัน มาก

กว่าวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร ซึ่งได้ผลผลิต 28.55

กิโลกรัม/แปลงกรีด/วัน เฉลี่ย ร้อยละ 11

เปรียบเทียบชนิดของปุ๋ยที่ใช้

จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ จำนวน 18

ราย สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามชนิดของปุ๋ยที่ใช้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-7-18

จำนวน 3 ราย (ตารางที่ 1 ) จากผลการทดลอง ปี2550-

251 พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ สูตร 30-5-18

ให้ผลผลิตยาง 288 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ 4.00 กิโลกรัม/

ต้น/ปี สูงกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร สูตร 15-7-18

เพียงร้อยละ 2 ให้ผลผลิตยาง 282 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ

3.91 กิโลกรัม/ต้น/ปี เนื่องจากปุ๋ยสูตร 15-7-18 เดิม

อยู่ในคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง แต่ภายหลังได้

ยกเลิกและเปลี่ยนเป็นแนะนำปุ๋ยสูตรเคมี 30-5 18 แทน

(ตารางที่ 2) เมื่อพิจารณาผลผลิตของเกษตรกรแต่ละ

ราย พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ ให้ผลผลิต

ใกล้เคียงกับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (ภาพที่ 1 และ 2) และใน

ปี 2551 เก็บผลผลิต 4 เดือน พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยตามคำ

แนะนำ สูตร 30-5-18 ให้ผลผลิตยาง 184 กิโลกรัม/ไร่/ปี

สูงกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร สูตร 15-7-18

Page 26: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

24 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ประมาณร้อยละ 17 (ตารางที่ 2) อิทธิพลของปุ๋ยเคมี

สูตรเดิม 15-7-18 และสูตรใหม่ 30-5-18 ต่อผลผลิต

ในปีแรกที่ทดลองแตกต่างกันน้อย แต่เมื่อใส่ติดต่อกัน

2 ปี พบว่า การใส่ปุ๋ยสูตร 30-5-18 ให้ผลผลิตมากกว่า

ปุ๋ยสูตร 15-7-18 ถึง ร้อยละ 17 ทั้งนี้เพราะสูตรปุ๋ย

แนะนำมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่บำรุงต้นและใบมากว่า

สูตรเดิม 2 เท่า

กลุ่มที่ 2 เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20

จำนวน 5 ราย (ตารางที่ 1) ผลการทดลอง ในปี 2550-

2551 พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำฯ สูตร 30-5-18

ให้ผลผลิตยาง 389 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ 5.40 กิโลกรัม/

ต้น/ปี สูงกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร สูตร 20-8-20

ประมาณ ร้อยละ 9 ซึ่งให้ผลผลิตยาง 356 กิโลกรัม/ไร่/

ปี หรือ 4.95 กิโลกรัม/ต้น/ปี ทั้งนี้เนื่องจาก ปุ๋ยสูตร

20-8-20 เป็นสูตรปุ๋ยที่แนะนำสำหรับยางเล็กก่อนเปิด

กรีดในเขตปลูกยางเดิม และพบว่าอิทธิพลปุ๋ยสูตร

แนะนำ มีผลที่ให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น เนื่องจากการใส่ปุ๋ย

สูตรสำหรับยางอ่อนมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความ

ต้องการของยางที่เปิดกรีดแล้ว (ตารางที่2) พิจารณา

ผลผลิตของเกษตรกรแต่ละราย พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ย

ตามคำแนะนำให้ผลผลิตมากกว่าการใช้ปุ๋ยที่เกษตรกร

ใช้ (ภาพที่ 2, 3 และ 4)

กลุ่มที่ 3 เกษตรกรใช้อินทรีย์ชนิดต่างๆ และมี

บางรายใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับสารเสริม เช่น กากผงชูรส

อามิ จำนวน 5 ราย (ตารางที่ 1) ผลการทดลอง ในปี

2550-2551 พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ สูตร

30-5-18 ให้ผลผลิตยาง 337 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ 4.68

กิ โลกรัม/ต้น/ปี สูงกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร

ประมาณ ร้อยละ 11 ซึ่งให้ผลผลิต 305 กิโลกรัม/ไร่/ปี

หรือ 4.24 กิโลกรัม/ต้น/ปี(ตารางที่ 2) พิจารณาผลผลิต

ของเกษตรกรแต่ละราย พบว่า การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ

ให้ผลผลิตมากกว่าปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (ภาพที่ 6, 7 และ 8)

ปี 2551 เก็บผลผลิต 4 เดือน พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ย

ตามคำแนะนำ สูตร 30-5-18 ให้ผลผลิตยาง 138

กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ 1.92 กิโลกรัม/ต้น/ปี สูงกว่าวิธีการใส่

ปุ๋ยของเกษตรกรประมาณร้อยละ 14 (ตารางที่ 2)

กลุ่มที่ 4 เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ได้แก่

ปุ๋ยเคมีสูตร 22-5-18 สูตร 16-11-14 ปุ๋ยเคมีสูตร

27-7-17 และปุ๋ยเคมีสูตร 21-4-21 จำนวน 5 ราย

(ตารางที่ 1) ผลการทดลองปี 2550-2551 พบว่า

วิธีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ สูตร 30-5-18 ให้ผลผลิต

ยาง 359 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ 4.98 กิโลกรัม/ต้น/ปี

สูงกว่าวิธีใส่ปุ๋ยของเกษตรกร ร้อยละ 5 ซึ่งให้ผลผลิต

ยาง 341 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ 4.73 กิโลกรัม/ต้น/ปี

(ตารางที่ 2) พิจารณาผลผลิตของเกษตรกรแต่ละราย

พบว่า การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำทำให้ผลผลิตมากกว่า

ปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (ภาพที่ 6, 9 และ 10) ยกเว้น สวน

ยางนายไพรัตน์ฯ ที่ใช้ปุ๋ยสูตร 27-7-14 ให้ผลผลิต 259

กิ โลกรัม/ไร่ /ปี มากกว่าปุ๋ยสูตรแนะนำ ประมาณ

ร้อยละ 26 ตั้งแต่สิงหาคม-มกราคม เนื่องจากปุ๋ยสูตร

27-7-14 ถือว่าเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหรือสูตรปุ๋ย

ใกล้เคียงกับปุ๋ยตามคำแนะนำมากที่สุด และจากการ

ใช้ติดต่อกันหลังกรีดยาง 5 ปี อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้

ผลผลิตสูงกว่าปุ๋ยตามคำแนะนำฯ อย่างไรก็ตาม

ผลผลิตของสวนยางดังกล่าวค่อนข้างต่ำ

ในปี 2551 ที่เก็บผลผลิต 4 เดือน พบว่า วิธีการ

ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำฯสูตร 30-5-18 ให้ผลผลิตยาง 208

กิโลกรัม/ไร่ /ปี หรือ 2.89 กิโลกรัม/ต้น/ปี สูงกว่า

วิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรประมาณร้อยละ 9 (ตาราง

ที่ 2)

สรุปผลการศึกษา การจัดการสวนยางเขตภาคตะวันออก เพื่อเพิ่ม

ผลผลิตยางพาราของเกษตรกร อย่างน้อยร้อยละ 10

เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการแบบมีส่วนร่วม และเป็น

ตัวอย่างสวนยางในชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต

ยางพารา มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 18 ราย

เปรียบเทียบการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของสถาบันวิจัย

ยาง (30-5-18) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ เช่นปุ๋ยเคมีสูตร

อื่น (15-17-18, 20-8-20, 22-5-18, 21-4-21 และ 16-

11-14) และปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น ทดลองในแปลงเกษตร

จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษา

พบว่า ในปี 2550-2551 การใส่ปุ๋ยงานวิจัยหรือปุ๋ยตาม

คำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง(30-5-18) ได้ผลผลิต

4.85 กิโลกรัม/ต้น/ปี หรือ 349 กิโลกรัม/ไร่/ปี มาก

กว่าวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร ร้อยละ 7 ได้ผลผลิต

Page 27: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

25 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

4.52 กก./ต้น/ปี หรือ 325 กิโลกรัม/ไร่/ปี และในปี

2551-2552 (ทดลอง 4 เดือน จากเดือนพฤษภาคม-

สิงหาคม 2551) การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ ได้ผลผลิต

ผลิต 2.22 กิโลกรัม/ต้น/ปี หรือ 160 กิโลกรัม/ไร่/(4

เดือน) มากกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร ร้อยละ 12

เอกสารอ้างอิงกรมพัฒนาที่ดิน. 2547. การใช้เทคโนโลยีสำรวจระยะ

ไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำรวจและ

ประเมินผลยางพารา ปีการผลผลิต 2547. ส่วน

วิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินที่ 1 สำนักที่ดินและ

วางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวง

เกษตรและสหกรณ์.

สถาบันวิจัยยาง. 2550. ข้อมูลวิชาการยางพารา 2550

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวง

เกษตรและ สหกรณ์.

Chantuma P. 2007. Dynamics of Carbohydrate

Reserves as Relate to Tapping in Rubber

Tree. Thesis Ph.d. in Kasetsart University.

ตารางที่ 1 รายชื่อและพื้นที่ทดลองของเกษตรกรใน จ.ฉะเชิงเทรา และชลบุรี

./ / ./ / % ./ / ./ / %1. 30-5-18 4.00 288 2 2.56 184 171. 15-7-18 3.91 282 0 2.20 158 02. 30-5-18 5.40 389 9 1.79 129 112. 20-8-20 4.95 356 0 1.61 116 03. 30-5-18 4.68 337 11 1.92 138 143. 4.24 305 0 1.68 121 04. 30-5-18 4.98 359 5 2.89 208 94. 4.73 341 0 2.66 191 0

1 .

( )

( .)

1. . . 14 58.41 5 15-7-18 1. . . 10 49.39 6 15-7-18 1. . . 20 52.60 11 15-7-18 2. . . 19 49.45 3 20-8-20 2. . . 25 53.16 11 20-8-20 2. . . 20 47.41 11 20-8-20 2. . . 14 52.92 3 20-8-20 2. . . 9 42.49 2 20-8-20 3. . . 14 51.18 2 3. . . 14 49.50 1 3. . . 12 47.12 2 3. . . 10 56.19 2 22-5-18 3. . . 12 55.28 5 3 3. . . 21 52.76 5 + 4. . . 40 45.26 4 22-5-18 4. . . 11 52.41 5 16-11-14 4. . . 35 53.61 5 27-7-14 4. . . 25 47.84 10 21-4-21

18 325

2 2550-2551 30-5-18

2550-2551 2551 (4 )

Page 28: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

26 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างสูตรปุ๋ยงานวิจัย 30-5-18

และปุ๋ยที่เกษตรกรใช้

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างสูตรปุ๋ยงานวิจัย 30-5-18

และปุ๋ยที่เกษตรกรใช้

./ / ./ / % ./ / ./ / %1. 30-5-18 4.00 288 2 2.56 184 171. 15-7-18 3.91 282 0 2.20 158 02. 30-5-18 5.40 389 9 1.79 129 112. 20-8-20 4.95 356 0 1.61 116 03. 30-5-18 4.68 337 11 1.92 138 143. 4.24 305 0 1.68 121 04. 30-5-18 4.98 359 5 2.89 208 94. 4.73 341 0 2.66 191 0

1 .

( )

( .)

1. . . 14 58.41 5 15-7-18 1. . . 10 49.39 6 15-7-18 1. . . 20 52.60 11 15-7-18 2. . . 19 49.45 3 20-8-20 2. . . 25 53.16 11 20-8-20 2. . . 20 47.41 11 20-8-20 2. . . 14 52.92 3 20-8-20 2. . . 9 42.49 2 20-8-20 3. . . 14 51.18 2 3. . . 14 49.50 1 3. . . 12 47.12 2 3. . . 10 56.19 2 22-5-18 3. . . 12 55.28 5 3 3. . . 21 52.76 5 + 4. . . 40 45.26 4 22-5-18 4. . . 11 52.41 5 16-11-14 4. . . 35 53.61 5 27-7-14 4. . . 25 47.84 10 21-4-21

18 325

2 2550-2551 30-5-18

2550-2551 2551 (4 )

3 2550-2551 30-5-18

./ % / % ./ % ./ % / / / 3/ / 4/ 1. 1/ 112 4.63 6 41.35 6 33.08 6 333 6 112 4.35 0 38.85 0 31.09 0 313 0 2. 1/ 114 5.08 -5 44.52 -5 65.62 -5 366 -5 114 5.34 0 46.86 0 37.49 0 384 0 3. 1/ 128 2.29 12 19.43 21 15.54 12 165 21 128 2.05 0 16.04 0 12.13 0 148 0 4. 1/ 104 6.29 20 60.53 20 48.42 20 453 20 104 5.25 0 50.44 0 40.36 0 378 0 5. 2/ 109 4.57 9 41.88 9 33.50 9 329 9 109 4.18 0 38.32 0 30.65 0 301 0 6. 2/ 114 5.09 6 44.64 6 35.71 6 366 6 114 4.79 0 42.01 0 33.61 0 345 0 7. 1/ 125 6.10 4 48.79 4 39.03 4 439 4 125 5.86 0 46.85 0 31.48 0 422 0 8. 1/ 120 4.96 7 41.38 7 33.10 7 357 7 120 4.65 0 38.74 0 30.99 0 335 0 9. 1/ 116 7.35 17 62.84 16 50.27 17 529 16 116 6.29 0 54.19 0 43.35 0 453 0 10. 2/ 120 1.98 20 16.54 20 13.23 20 143 20 120 1.65 0 13.78 0 11.03 0 119 0 11. 1/ 141 3.83 6 27.18 6 21.75 6 276 6 141 3.62 0 25.65 0 20.52 0 261 0 12. 1/ 132 5.52 24 41.84 24 33.47 24 397 24 132 4.45 0 33.74 0 26.99 0 320 0 13. 2/ 124 4.80 13 38.69 13 30.96 13 346 13 124 4.26 0 34.35 0 27.48 0 307 0 14. 1/ 132 5.46 2 41.36 2 33.09 2 393 2 132 5.36 0 40.63 0 32.51 0 386 0

Page 29: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

27 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ตารางที่ 3 (ต่อ) เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างสูตรปุ๋ยงานวิจัย 30-5-18

และปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ 3 2550-2551 30-5-18

./ % / % ./ % ./ % / / / 3/ / 4/ 1. 1/ 112 4.63 6 41.35 6 33.08 6 333 6 112 4.35 0 38.85 0 31.09 0 313 0 2. 1/ 114 5.08 -5 44.52 -5 65.62 -5 366 -5 114 5.34 0 46.86 0 37.49 0 384 0 3. 1/ 128 2.29 12 19.43 21 15.54 12 165 21 128 2.05 0 16.04 0 12.13 0 148 0 4. 1/ 104 6.29 20 60.53 20 48.42 20 453 20 104 5.25 0 50.44 0 40.36 0 378 0 5. 2/ 109 4.57 9 41.88 9 33.50 9 329 9 109 4.18 0 38.32 0 30.65 0 301 0 6. 2/ 114 5.09 6 44.64 6 35.71 6 366 6 114 4.79 0 42.01 0 33.61 0 345 0 7. 1/ 125 6.10 4 48.79 4 39.03 4 439 4 125 5.86 0 46.85 0 31.48 0 422 0 8. 1/ 120 4.96 7 41.38 7 33.10 7 357 7 120 4.65 0 38.74 0 30.99 0 335 0 9. 1/ 116 7.35 17 62.84 16 50.27 17 529 16 116 6.29 0 54.19 0 43.35 0 453 0 10. 2/ 120 1.98 20 16.54 20 13.23 20 143 20 120 1.65 0 13.78 0 11.03 0 119 0 11. 1/ 141 3.83 6 27.18 6 21.75 6 276 6 141 3.62 0 25.65 0 20.52 0 261 0 12. 1/ 132 5.52 24 41.84 24 33.47 24 397 24 132 4.45 0 33.74 0 26.99 0 320 0 13. 2/ 124 4.80 13 38.69 13 30.96 13 346 13 124 4.26 0 34.35 0 27.48 0 307 0 14. 1/ 132 5.46 2 41.36 2 33.09 2 393 2 132 5.36 0 40.63 0 32.51 0 386 0

3 2550-2551 30-5-18

./ % / % ./ % ./ % / / / 3/ / 4/ 1. 1/ 112 4.63 6 41.35 6 33.08 6 333 6 112 4.35 0 38.85 0 31.09 0 313 0 2. 1/ 114 5.08 -5 44.52 -5 65.62 -5 366 -5 114 5.34 0 46.86 0 37.49 0 384 0 3. 1/ 128 2.29 12 19.43 21 15.54 12 165 21 128 2.05 0 16.04 0 12.13 0 148 0 4. 1/ 104 6.29 20 60.53 20 48.42 20 453 20 104 5.25 0 50.44 0 40.36 0 378 0 5. 2/ 109 4.57 9 41.88 9 33.50 9 329 9 109 4.18 0 38.32 0 30.65 0 301 0 6. 2/ 114 5.09 6 44.64 6 35.71 6 366 6 114 4.79 0 42.01 0 33.61 0 345 0 7. 1/ 125 6.10 4 48.79 4 39.03 4 439 4 125 5.86 0 46.85 0 31.48 0 422 0 8. 1/ 120 4.96 7 41.38 7 33.10 7 357 7 120 4.65 0 38.74 0 30.99 0 335 0 9. 1/ 116 7.35 17 62.84 16 50.27 17 529 16 116 6.29 0 54.19 0 43.35 0 453 0 10. 2/ 120 1.98 20 16.54 20 13.23 20 143 20 120 1.65 0 13.78 0 11.03 0 119 0 11. 1/ 141 3.83 6 27.18 6 21.75 6 276 6 141 3.62 0 25.65 0 20.52 0 261 0 12. 1/ 132 5.52 24 41.84 24 33.47 24 397 24 132 4.45 0 33.74 0 26.99 0 320 0 13. 2/ 124 4.80 13 38.69 13 30.96 13 346 13 124 4.26 0 34.35 0 27.48 0 307 0 14. 1/ 132 5.46 2 41.36 2 33.09 2 393 2 132 5.36 0 40.63 0 32.51 0 386 0

3 ( ) 2550-2551 30-5-18

./ % / % ./ % ./ %

/ / / / 15. 2/ 102 5.95 14 58.38 14 46.70 14 428 14 102 5.24 0 51.38 0 41.10 0 377 0 16. 2/ 90 5.33 2 59.84 1 47.87 1 384 2 90 5.24 0 59.25 0 47.40 0 377 0 17. 1/ 132 2.68 -26 20.34 -25 16.27 -25 193 -26 132 3.60 0 27.29 0 21.83 0 259 0 18. 2/ 129 5.43 6 42.11 6 33.69 6 391 6 129 5.12 0 39.66 0 31.73 0 369 0

119 4.85 7 41.76 8 33.41 8 349 7 119 4.52 0 38.78 0 31.02 0 325 0 90 1.65 13.78 11.02 119 141 7.35 62.84 50.27 529

1/ 2550- 2551 2/ - 2550

3/ / / 800 4/ / 72 - 30-5-18 -

0

200

400

600

800

1000

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

349 325

160 142

0

50

100

150

200

250

300

350

400

2550 2550 2551 2551

(./

)

1 2550-2551 30-5-18 ( )

1/ ระยะเวลากรีดยาง มิถุนายน 2550-มกราคม 2551 2/ ระยะเวลากรีดยาง มิถุนายน-ธันวาคม 2550

3/ จำนวนต้น/แปลงกรีด/วัน เฉลี่ย 800 ต้น 4/ จำนวนต้น/ไร่ เฉลี่ย 72 ต้น

- งานวิจัย หมายถึง วิธีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง ปุ๋ยสูตร 30-5-18

- เกษตรกร หมายถึง วิธีการใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรปฏิบัติมาก่อน

Page 30: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

28 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

4 2551 30-5-18

1/ ./ % / % ./ % ./ %

/ / / / 1. 57 2.96 20 51.91 12 41.53 0 213 0 57 2.47 0 46.52 0 37.22 -10 178 -17 2. 42 2.48 10 58.96 7 47.17 0 179 0 41 2.25 0 54.90 0 43.92 -6 162 -9 3. 2/ 94 2.25 20 23.89 20 19.11 0 162 0 94 1.87 0 19.91 0 15.92 -17 135 -17 4. 41 1.43 5 34.78 5 27.83 0 103 0 41 1.36 0 33.22 0 26.58 -4 98 -4 5. 58 1.46 20 25.21 20 20.17 0 105 0 58 1.22 0 21.01 0 16.80 -17 88 -17 6. 61 2.83 14 46.33 14 37.06 0 203 0 61 2.49 0 40.74 0 32.59 -12 179 -12 7. 44 1.69 10 38.46 10 30.77 0 122 0 44 1.54 0 34.93 0 27.95 -9 111 -9 8. 65 1.57 8 24.12 8 19.30 0 113 0 65 1.45 0 22.37 0 17.89 -7 105 -7 10. 66 1.11 20 16.84 20 13.48 0 80 0 66 0.93 0 14.04 0 11.23 -17 67 -17 13. 57 1.86 5 32.63 5 26.10 0 134 0 57 1.77 0 30.99 0 24.79 -5 127 -5 14. 74 2.78 18 37.62 23 30.10 0 200 0 77 2.36 0 30.62 0 24.50 -19 170 -15 15. 58 3.13 6 53.99 6 43.19 6 225 6 58 2.97 0 51.13 0 40.91 0 214 0 16. 50 3.18 5 63.66 5 50.93 5 229 5 50 3.04 0 60.77 0 48.62 0 219 0 18. 53 2.36 20 44.51 15 35.61 15 170 20 51 1.97 0 38.55 0 30.84 0 142 0

59 2.22 12 39.49 11 31.59 11 160 12 59 1.98 0 35.69 0 28.55 0 142 0 41 14.04 11.23 0.93 67 94 63.66 50.93 3.18 229

1/ – 2551 2/ – 2551

ตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2551 ระหว่างสูตรปุ๋ยงานวิจัย 30-5-18

และปุ๋ยที่เกษตรกรใช้

Page 31: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

29 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

4 2551 30-5-18

1/ ./ % / % ./ % ./ %

/ / / / 1. 57 2.96 20 51.91 12 41.53 0 213 0 57 2.47 0 46.52 0 37.22 -10 178 -17 2. 42 2.48 10 58.96 7 47.17 0 179 0 41 2.25 0 54.90 0 43.92 -6 162 -9 3. 2/ 94 2.25 20 23.89 20 19.11 0 162 0 94 1.87 0 19.91 0 15.92 -17 135 -17 4. 41 1.43 5 34.78 5 27.83 0 103 0 41 1.36 0 33.22 0 26.58 -4 98 -4 5. 58 1.46 20 25.21 20 20.17 0 105 0 58 1.22 0 21.01 0 16.80 -17 88 -17 6. 61 2.83 14 46.33 14 37.06 0 203 0 61 2.49 0 40.74 0 32.59 -12 179 -12 7. 44 1.69 10 38.46 10 30.77 0 122 0 44 1.54 0 34.93 0 27.95 -9 111 -9 8. 65 1.57 8 24.12 8 19.30 0 113 0 65 1.45 0 22.37 0 17.89 -7 105 -7 10. 66 1.11 20 16.84 20 13.48 0 80 0 66 0.93 0 14.04 0 11.23 -17 67 -17 13. 57 1.86 5 32.63 5 26.10 0 134 0 57 1.77 0 30.99 0 24.79 -5 127 -5 14. 74 2.78 18 37.62 23 30.10 0 200 0 77 2.36 0 30.62 0 24.50 -19 170 -15 15. 58 3.13 6 53.99 6 43.19 6 225 6 58 2.97 0 51.13 0 40.91 0 214 0 16. 50 3.18 5 63.66 5 50.93 5 229 5 50 3.04 0 60.77 0 48.62 0 219 0 18. 53 2.36 20 44.51 15 35.61 15 170 20 51 1.97 0 38.55 0 30.84 0 142 0

59 2.22 12 39.49 11 31.59 11 160 12 59 1.98 0 35.69 0 28.55 0 142 0 41 14.04 11.23 0.93 67 94 63.66 50.93 3.18 229

1/ – 2551 2/ – 2551

4 2551 30-5-18

1/ ./ % / % ./ % ./ %

/ / / / 1. 57 2.96 20 51.91 12 41.53 0 213 0 57 2.47 0 46.52 0 37.22 -10 178 -17 2. 42 2.48 10 58.96 7 47.17 0 179 0 41 2.25 0 54.90 0 43.92 -6 162 -9 3. 2/ 94 2.25 20 23.89 20 19.11 0 162 0 94 1.87 0 19.91 0 15.92 -17 135 -17 4. 41 1.43 5 34.78 5 27.83 0 103 0 41 1.36 0 33.22 0 26.58 -4 98 -4 5. 58 1.46 20 25.21 20 20.17 0 105 0 58 1.22 0 21.01 0 16.80 -17 88 -17 6. 61 2.83 14 46.33 14 37.06 0 203 0 61 2.49 0 40.74 0 32.59 -12 179 -12 7. 44 1.69 10 38.46 10 30.77 0 122 0 44 1.54 0 34.93 0 27.95 -9 111 -9 8. 65 1.57 8 24.12 8 19.30 0 113 0 65 1.45 0 22.37 0 17.89 -7 105 -7 10. 66 1.11 20 16.84 20 13.48 0 80 0 66 0.93 0 14.04 0 11.23 -17 67 -17 13. 57 1.86 5 32.63 5 26.10 0 134 0 57 1.77 0 30.99 0 24.79 -5 127 -5 14. 74 2.78 18 37.62 23 30.10 0 200 0 77 2.36 0 30.62 0 24.50 -19 170 -15 15. 58 3.13 6 53.99 6 43.19 6 225 6 58 2.97 0 51.13 0 40.91 0 214 0 16. 50 3.18 5 63.66 5 50.93 5 229 5 50 3.04 0 60.77 0 48.62 0 219 0 18. 53 2.36 20 44.51 15 35.61 15 170 20 51 1.97 0 38.55 0 30.84 0 142 0

59 2.22 12 39.49 11 31.59 11 160 12 59 1.98 0 35.69 0 28.55 0 142 0 41 14.04 11.23 0.93 67 94 63.66 50.93 3.18 229

1/ – 2551 2/ – 2551

3 ( ) 2550-2551 30-5-18

./ % / % ./ % ./ %

/ / / / 15. 2/ 102 5.95 14 58.38 14 46.70 14 428 14 102 5.24 0 51.38 0 41.10 0 377 0 16. 2/ 90 5.33 2 59.84 1 47.87 1 384 2 90 5.24 0 59.25 0 47.40 0 377 0 17. 1/ 132 2.68 -26 20.34 -25 16.27 -25 193 -26 132 3.60 0 27.29 0 21.83 0 259 0 18. 2/ 129 5.43 6 42.11 6 33.69 6 391 6 129 5.12 0 39.66 0 31.73 0 369 0

119 4.85 7 41.76 8 33.41 8 349 7 119 4.52 0 38.78 0 31.02 0 325 0 90 1.65 13.78 11.02 119 141 7.35 62.84 50.27 529

1/ 2550- 2551 2/ - 2550

3/ / / 800 4/ / 72 - 30-5-18 -

0

200

400

600

800

1000

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

349 325

160 142

0

50

100

150

200

250

300

350

400

2550 2550 2551 2551

(./

)

1 2550-2551 30-5-18 ( )

ภาพที่ 1 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 การใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้

ตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2551 ระหว่างสูตรปุ๋ยงานวิจัย 30-5-18

และปุ๋ยที่เกษตรกรใช้

1/ ระยะเวลากรีดยาง พฤษภาคม – สิงหาคม 2551

2/ ระยะเวลากรีดยาง พฤษภาคม – พฤศจิกายน 2551

Page 32: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

30 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาพที่ 2 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นางสมพร และนางสุนีย์

ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18)

ภาพที่ 3 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายสุทธรักษ์ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร

15-7-18 และนายสมยศ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20)

ภาพที่ 4 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายมณเฑียร ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร

20-8-20 และนายสำราญ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

2 2550-2551 30-5-18 ( ) (

15-7-18)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

3 2550-2551 30-5-18 ( ) (

15-7-18 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

4 2550-2551 30-5-18 ( ) (

20-8-20 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

2 2550-2551 30-5-18 ( ) (

15-7-18)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

3 2550-2551 30-5-18 ( ) (

15-7-18 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

4 2550-2551 30-5-18 ( ) (

20-8-20 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

2 2550-2551 30-5-18 ( ) (

15-7-18)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

3 2550-2551 30-5-18 ( ) (

15-7-18 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

4 2550-2551 30-5-18 ( ) (

20-8-20 20-8-20)

Page 33: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

31 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาพที่ 5 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายทองหล่อ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร

20-8-20 และนายมานิต ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20)

ภาพที่ 6 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายเล็ก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์

และนายภิญโญ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์)

ภาพที่ 7 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายพิชิตใช้ปุ๋ยอินทรีย์

และนายวันชัย ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 22-5-18)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

5 2550-2551 30-5-18 ( ) (

20-8-20 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

6 2550-2551 30-5-18 ( )

( )

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

7 2550-2551 30-5-18 ( ) (

22-5-18)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

5 2550-2551 30-5-18 ( ) (

20-8-20 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

6 2550-2551 30-5-18 ( )

( )

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

7 2550-2551 30-5-18 ( ) (

22-5-18)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

5 2550-2551 30-5-18 ( ) (

20-8-20 20-8-20)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

6 2550-2551 30-5-18 ( )

( )

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

7 2550-2551 30-5-18 ( ) (

22-5-18)

Page 34: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

32 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาพที่ 8 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายสมชาย ใช้ปุ๋ย

อินทรีย์ และนายประทิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์)

ภาพที่ 9 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายอนันต์ ใช้ปุ๋ย

เคมีสูตร 22-5-18 และนายเกรียงไกร ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-11-14)

ภาพที่ 10 เปรียบเทียบผลผลิตยาง ปี 2550-2551 ระหว่างการใส่ปุ๋ยแนะนำ 30-5-18 (งานวิจัย) กับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ (นายไพรัตน์ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร

27-7-14 และนายทองดี ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-4-21)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

8 2550-2551 30-5-18 ( )

( )

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

9 2550-2551 30-5-18 ( ) (

22-5-18 16-11-14)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

10 2550-2551 30-5-18 ( ) (

27-7-14 21-4-21)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

8 2550-2551 30-5-18 ( )

( )

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

9 2550-2551 30-5-18 ( ) (

22-5-18 16-11-14)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

10 2550-2551 30-5-18 ( ) (

27-7-14 21-4-21)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

8 2550-2551 30-5-18 ( )

( )

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

9 2550-2551 30-5-18 ( ) (

22-5-18 16-11-14)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .51

(/

/)

0

400

800

1200

1600

. .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50 . .50

(/

/)

10 2550-2551 30-5-18 ( ) (

27-7-14 21-4-21)

Page 35: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

33 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาพที่ 1 เครื่องเกี่ยวนวด ภาพที่ 2 ตีนตะขาบ

การพัฒนายางตีนตะขาบเครื่องเกี่ยวนวด

วิชัย โอภานุกุล1, อดุลย์ ณ วิเชียร2, ณพรัตน์ วิชิตชลชัย2, คทาวุธ จงสุขไว1 และ วีระ สุขประเสริฐ1

ปัจจุบันมีการปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวหลายครั้ง

ต่อปี ซึ่งทุกกิจกรรมตั้งแต่เตรียมดิน ปลูก ดูแลรักษา

และการเก็บเกี่ยว ต้องมีเครื่องจักรกลเกษตรเข้ามาใช้

งานทุกขั้นตอน การเก็บเกี่ยวข้าวมากกว่าร้อยละ 70

ของพื้นที่ปลูกข้าวจะใช้เครื่องเกี่ยวนวด ดังแสดงใน

ภาพที่ 1 ซึ่งถูกออกแบบโดยรวมระบบการทำงานเกี่ยว

และนวดเข้าด้วยกัน เมื่อได้ข้าวเปลือกจึงลำเลียงใส่ถัง

เก็บที่อยู่ในเครื่องเดียวกันหรือบรรจุใส่กระสอบ มี

ระบบขับเคลื่อนแบบแทรกเตอร์ตีนตะขาบ สามารถ

ทำงานได้รวดเร็ว ลดความเหนื่อยยาก ลดต้นทุนการเก็บ

เกี่ยวเมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคน โดยเฉพาะพื้นที่

ภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่ทำนาปรัง มีกิจกรรมเก็บเกี่ยว

หลายครั้งต่อปี ในปี พ.ศ. 2536 นับเป็นช่วงแรกที่เครื่อง

เกี่ยวนวดเริ่มได้รับความนิยม และขยายตัวการใช้อย่าง

รวดเร็ว ราคาเครื่องละประมาณ 800,000-1,500,000

บาท ใช้ตีนตะขาบที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เมื่อเคลื่อนที่

บนถนน จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาผิวถนนเสียหาย แต่มี

อายุการใช้งานต่ำต้องซ่อมแซมบ่อยครั้ง ทำให้มีการ

พัฒนาวัสดุเป็นเหล็ก ซึ่งมีความทนทานต่อการใช้งาน

ได้ดี แต่เมื่อนำมาเคลื่อนที่บนถนนทำให้ผิวถนนเสียหาย

ซึ่งจากรายงานของ วินิต และคณะ (2551) มีจำนวน

เครื่องเกี่ยวนวดเพิ่มมากขึ้นถึง 10,000 คัน และการเก็บ

เกี่ยว เป็นวัฏจักรซ้ำกันทุกปี ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้ง

ระหว่างเจ้าของเครื่องเกี่ยวนวดกับหน่วยงานท้องถิ่น

ที่ดูแลถนน จนหลายท้องที่ต้องใช้มาตรการทาง

กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาผิวถนนเสียหาย การนำมา

ขับเคลื่อนไปบนถนนจำเป็นต้องมีแผ่นยางรองรับเพื่อ

ป้องกันผิวถนนเสียหายจากการกดทับของตีนตะขาบ

ที่สร้างจากเหล็ก ดังแสดงในภาพที่ 2 ทำให้สูญเสีย

ต้นทุนด้านเวลาขณะเคลื่อนย้าย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

จึงมีแนวคิดพัฒนาวัสดุที่ ใช้ทำตีนตะขาบ เพื่อลด

ความเสียหายต่อผิวถนนและลดเวลาการเคลื่อนย้าย

1 สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร2 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

Page 36: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

34 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนความสูญเสียด้านเวลา และเพิ่ม

ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องเกี่ยวนวดโดยรวม

ให้มากขึ้น เป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวต่อไป การ

ศึกษาครั้ งนี้มีวัตถุประสงค์ พัฒนาสูตรยางความ

ทนทานสูง นำมาผลิตยางตีนตะขาบเครื่องเกี่ยวนวด

ที่มีการใช้งานมากกว่า 10,000 เครื่อง ให้สามารถ

นำไปเคลื่อนที่บนถนนลาดยางแอสฟัลต์โดยไม่ทำ

ให้ผิวถนนเสียหาย ลดการสูญเสียเวลา ค่าใช้จ่าย

เคลื่อนย้ายเข้าทำงานในแปลงนา ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุน

การผลิตข้าวลดลง รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มยางธรรมชาติ

ให้สูงขึ้นโดยนำมาแปรรูปและใช้ในประเทศ

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาสูตรยางความทนทานสูงการออกแบบสูตรยาง

ดำเนินการออกสูตรยางโดยนักวิทยาศาสตร์ของ

สถาบันวิจัยยาง จำนวน 14 สูตร โดยใช้ยางแผ่นดิบ

หรือยางธรรมชาติชั้น 3 บดผสมกับสารเคมี ได้แก่

สารกระตุ้น สารตัวเร่ง สารตัวเติม และสารเคมีอื่นๆ

ด้วยเครื่องผสมแบบ 2 ลูกกลิ้ง จนเข้ากัน นำไปทดสอบ

สมบัติทางกายภาพในห้องปฏิบัติการหาสูตรที่มี

คุณสมบัติตามกำหนด โดยใช้ค่าชี้ผลตามมาตรฐาน

อุตสาหกรรมยางไทย

ทดสอบสมบัติทางกายภาพในห้องปฏิบัติการ

ค่าชี้ผลที่ใช้อ้างอิงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม

มอก. 2478-2552 ประกอบด้วยค่าความแข็ง ค่า

ความต้านแรงดึง ระยะยืดจนขาด โมดูรัสที่ระยะยืด

100, 300, 500 เปอร์เซ็นต์ และค่าความถ่วงจำเพาะ

เป็นต้น หลังจากนั้น เลือกสูตรยาง รหัส Tin 1 มาใช้

ผลิตยางตีนตะขาบโดยอัดขึ้นรูปร้อนด้วยแม่พิมพ์ที่

ออกแบบเฉพาะ ซึ่งเป็นแบบผิวหน้าแบน นำไปติดตั้ง

กับเครื่องเกี่ยวนวดทดสอบเคลื่อนที่บนผิวถนนลาด

ยางแอสฟัลต์ พบว่าสูตรยางรหัส Tin 1 เกิดการ

ฉีกขาดที่บริ เวณหน้าและขอบของยางตีนตะขาบ

มากกว่าร้อยละ 80 จึงเปลี่ยนเป็นสูตร รหัส Tin 13

ซึ่ งมีสมบัติทางกายภาพสูงดีกว่าสูตรรหัส T in 1

นำมาผลิตเป็นยางตีนตะขาบ ทดสอบการเคลื่อนที่

บนถนนลาดยางแอสฟัลต์ พบว่า ผิวถนนไม่เกิดการ

เสียหาย แต่เกิดปัญหายางตีนตะขาบหลุดออกจาก

ตีนตะขาบของเครื่องเกี่ยวนวด เนื่องจากมีพื้นที่สัมผัส

กับผิวถนนมากเกินไป จึงออกแบบใหม่อีกครั้ง โดย

ปรับรูปทรงของยางตีนตะขาบ และสร้างแม่พิมพ์

สำหรับใช้อัดขึ้ นรูป นำไปทดสอบใช้ งานในห้อง

ปฏิบัติการ และภาคสนาม จนได้สูตรยางความทน

ทานสูงที่เหมาะสมสำหรับผลิตเป็นยางตีนตะขาบ

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนายางตีนตะขาบเครื่องเกี่ยวนวด

ศึกษาข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับการออกแบบยางตีน

ตะขาบ

สาเหตุที่ เมื่อนำเครื่องเกี่ยวนวดไปเคลื่อนที่

บนถนนแล้วทำให้ผิวถนนเสียหายเกิดจากตีนตะขาบ

ทำจากเหล็กเป็นวัสดุแข็งเกร็ง ขณะเคลื่อนที่บนผิว

ถนนทำให้เกิดแรงกระทำในลักษณะตะกุยผิวถนน

(Grousers) เนื่องจากเป็นเครื่องจักรกลเกษตรขนาด

ใหญ่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสากรรม มอก. 1428-

2540 ได้กำหนดแรงกดต่อหนึ่งหน่วยพื้นต้องไม่เกิน

2.94 เมกะพาสคัล หรือ 29.98 กิโลกรัมต่อตาราง

เซนติเมตร แต่เนื่องจากมีเพียงบางส่วนตีนตะขาบ

เท่านั้นที่สัมผัสผิวถนน ทำให้มีแรงกดบนตีนตะขาบ

ที่กระทำกับพื้นสูง (ground contact pressure) ทำให้

เกิดความเค้น (Stress: u) กระทำต่อผิวถนนมากกว่า

หลายเท่าตัว จนเกินความต้านแรง (Strength: y)

ของวัสดุที่ถนน เกิดการเปลี่ยนรูปทำให้ผิวถนนเป็นรอย

เสียหาย การลดแรงกระทำกับผิวถนนมี 2 วิธี หาก

พิจารณาจากสมการ P = F/A ได้แก่การเพิ่มพื้นที่ตีน

ตะขาบให้มากขึ้น หรือลดน้ำหนักเครื่องเกี่ยวนวดให้

น้อยลงซึ่งทำได้ยากเนื่องจากมีชิ้นส่วนกลไกซับซ้อน จึง

สนใจเฉพาะการพัฒนาตีนตะขาบที่ใช้วัสดุทำจาก

เหล็กร่วมกับยาง

เหล็กที่ใช้ควรเป็นเหล็กเหนียวคาร์บอนต่ำ อัดขึ้น

รูปแบบเย็นเพื่อให้มีความต้านแรงสูงขึ้น นำมาเชื่อม

ประกอบเป็นตีนตะขาบ ส่วนยางธรรมชาติมีสมบัติเด่น

หลายประการโดยเฉพาะความยืดหยุ่น เมื่อมีแรงดึง

มากระทำกับยางที่คงรูปแล้วจะสามารถยืดตัวได้หลาย

เท่าของความยาวเดิมหากปล่อยแรงออกสามารถกลับ

Page 37: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

35 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

คืนสู่รูปร่างและความยาวเดิมได้ นอกจากนี้ยังมีสมบัติ

ด้านอื่น เช่น เมื่อนำไปติดกับวัสดุชนิดอื่นทำให้ยางมี

ความแข็งแรงสูงขึ้น จึงสามารถนำไปใช้งานด้านวิศว-

กรรมได้หลากหลาย ส่วนแรงที่กระทำกับตีนตะขาบนั้น

เป็นแบบวัฏจักร เกิดความเค้นกระทำซ้ำๆ สลับไป-มา

เป็นวงรอบ ซึ่งค่าความเค้นสูงสุดในชิ้นงานที่มีการล้า จะ

มีความน้อยกว่าความต้านแรงของวัสดุ จึงใช้เป็นข้อ

พิจารณาหลักในการออกแบบ ดังนั้น ต้องออกแบบให้

ยางตีนตะขาบสามารถรับน้ำหนักเครื่องเกี่ยวนวดและ

ถ่ายเทลงพื้นถนนโดยไม่ทำให้ผิวถนนเสียหาย ผลิต

ได้ง่ายมีราคาที่ เหมาะสม จึงกำหนดให้มีรูปร่างที่

สามารถติดตั้งเข้าในช่องว่างของตีนตะขาบ และยึดด้วย

สกรูเหล็กทนแรงดึงสูง

การออกแบบ สร้างยางตีนตะขาบ ทดสอบ และ

ปรับปรุง ในห้องปฏิบัติการ

จากลักษณะแรงกระทำกับผิวถนน ขณะเครื่อง

เกี่ยวนวดเคลื่อนที่ผ่าน นำออกแบบแม่พิมพ์อัดขึ้นรูป

การคำนวณปริมาณแรงกดจากตีนตะขาบ โดยใช้เครื่อง

เกี่ยวนวดสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เป็นแบบที่

ใช้แรงงานคนรองข้าวเปลือกด้านข้าง เพื่อลดภาระ

น้ำหนักผลิตผลทางเกษตรที่ เก็บเกี่ยว เป็นตัวแปร

สำคัญต่อแรงกระทำกับตีนตะขาบ ซึ่งโดยปกติแล้ว

ถ้าเป็นเครื่องเกี่ยวนวดที่มีถังบรรจุ จะทำให้ภาระที่

กระทำต่อพื้นที่ เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,000-3,000

กิ โลกรัม โดย เครื่ อ ง เกี่ ยวนวดที่ นำมาทดสอบมี

น้ำหนัก 4,200 กิโลกรัม ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ

ไฮดรอสแตติก ต้นกำลังเครื่องยนต์ขนาด 120 แรงม้า

มีจำนวนตีนตะขาบข้างละ 34 ชิ้น ความยาว 60

เซนติเมตร ความกว้าง 11 เซนติเมตร มีพื้นที่ 660

ตารางเซนติ เมตร มีพื้นที่ รับแรงในแนวดิ่ งจำนวน

12 ชิ้น และมีพื้นที่ว่างสำหรับจับยึดโซ่ที่สามารถติดตั้ง

ยางตีนตะขาบ 153 ตารางเซนติเมตร เป็นข้อมูลออก

แบบ พบว่า พื้นที่กระทำต่อพื้นที่สัมผัสของตีนตะขาบ

ขนาด 15,840 ตารางเซนติเมตร ทำให้แรงกระทำต่อ

พื้นดินมีค่าเท่ากับ 0.026 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร

หรือ 0 .265 กิ โลกรัมต่อตารางเซนติ เมตร จึ งได้

กำหนดให้ยางตีนตะขาบมีความสามารถรับภาระ

เท่ากับตีนตะขาบ ทำให้ต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น

อย่างน้อย 4.31 เท่า เนื่องจากมีพื้นที่ เพียง 153

ตารางเซนติเมตร โดยภาระที่รับมีค่าเท่ากับ 1.14

กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร นำข้อมูลไปออกแบบ

รูปทรง เรขาคณิต และเขียนแบบด้วยโปรแกรม

คอมพิวเตอร์ (CAD) ได้เป็นรูปทรง 3 มิติ และแปลง

ข้อมูลเป็นพิกัดระยะทาง 3 มิติ (G-code) นำข้อมูล

ใส่เครื่องกัดโลหะที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC)

สร้างแม่พิมพ์ แสดงในภาพที่ 3 และนำยางธรรมที่ผสม

สารเคมี ประกอบด้วย เขม่าดำเกรด 330 จำนวน 50

phr สารตัวเร่ง CBS และกำมะถันมาอัดขึ้นรูปด้วย

แม่พิมพ์ที่ อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส แสดงในภาพ

ที่ 4 ได้ยางตีนตะขาบจำนวน 68 ชิ้น นำไปติดตั้งกับ

ตีนตะขาบ โดยจับยึดด้วยสกรูทำจากเหล็กทนแรง

ดึงสูงขนาด M 12x1.75 ร่วมกับแหวนสปริง จำนวน

4 ตัว แสดงในภาพที่ 5

ภาพที่ 3 แม่พิมพ์ ภาพที่ 4 การอัดขึ้นรูป

Page 38: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

36 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ทดสอบการเคลื่อนที่บนถนนลาดยางแอสฟัลต์

บริเวณข้างสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ผลทดสอบ

ครั้งที่ 1 ยางตีนตะขาบไม่สามารถรับแรงได้ เกิดการฉีก

ขาดมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จึงออกแบบสูตรยาง

ให้มีความเหนียวมากกว่าเดิม และทดสอบครั้งที่ 2

กำหนดให้เครื่องเกี่ยวนวดเคลื่อนที่ไป-กลับ ระยะทาง

50 เมตร และเลี้ยวที่บริเวณกลับตัวด้วยลักษณะใช้

งานแบบปกติของเครื่องเกี่ยวนวด จำนวน 20 เที่ยว ใช้

ความเร็วเคลื่อนที่ทางตรงเฉลี่ย 0.86 เมตรต่อวินาที

(3.1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) รอบเครื่องยนต์ 1,500 รอบ

ต่อนาที รวมระยะทาง 1 กิโลเมตร ผลทดสอบยางตีน

ตะขาบสามารถรองรับน้ำหนักเครื่องเกี่ยวนวดได้ โดยไม่

ทำให้พื้นถนนเสียหายเป็นรอย ดังแสดงในภาพที่ 6 แต่

พบปัญหาขณะเลี้ยวมียางตีนตะขาบหลุดออกจากจุด

จับยึด เนื่องจากด้านหน้าของยางตีนตะขาบมีพื้นที่

สัมผัสกับผิวถนนมากเกินไป ทำให้มีแรงกระทำที่จุด

จับยึดมากเกินจนเกิดการฉีกขาด ดังแสดงในภาพที่ 7

จึงปรับปรุง ออกแบบให้มีส่วนโค้งเพื่อลดพื้นที่สัมผัส

กับผิวถนน และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เขียนแบบ

เป็นรูปทรง 3 มิติ แล้วโอนถ่ายพิกัดไปสร้างแม่พิมพ์

ดังแสดงในภาพที่ 8

หลังจากปรับปรุงแม่พิมพ์ยางตีนตะขาบให้มีส่วน

โค้งด้านหน้าแล้ว จึงนำมายางธรรมชาติที่ผสมกับ

สารเคมีตามสูตรที่กำหนดและอัดขึ้นรูป จำนวน 68 ชิ้น

มาติดตั้งกับตีนตะขาบ และนำไปทดสอบเก็บเกี่ยวข้าว

โพดที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี จำนวน

50 ไร่ แสดงในภาพที่ 9 สภาพพื้นที่ปลูกเป็นดินทราย

พบปัญหายางตีนตะขาบหลุดออกจากตีนตะขาบ

สาเหตุเกิดจากขณะที่เครื่องเกี่ยวนวดเลี้ยวกลับตัวที่

หัว-ท้ายแปลง จากคุณลักษณะการเคลื่อนที่ของ

ภาพที่ 5 ยางตีนตะขาบ ภาพที่ 6 ผิวถนนหลังติดตั้งยางตีนตะขาบ

ภาพที่ 7 ยางตีนตะขาบหลุดขณะเลี้ยว

ภาพที่ 8 แม่พิมพ์ยางตีนตะขาบมีส่วนโค้งด้านหน้า

62

7

1 80

2 - 50 20

0.86 (3.1 ) 1,500 1

8

9 3

10

8

63

9

10

68 50 11

-

90

45 12 18 24

13

Page 39: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

37 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ระบบช่วงล่างเครื่องเกี่ยวนวด จำเป็นต้องหยุดชุดตีน

ตะขาบด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้เกิดการเลี้ยว ทำให้มี

เกิดแรงกระทำจากพื้นดินที่ด้านข้างดันให้ยางตีนตะขาบ

ค่อยๆ โก่งงอ ของด้านที่หยุด เมื่อจำนวนชั่วโมงทำงาน

มากขึ้นดินจึงดันยางตีนตะขาบหลุดออกจากตีนตะขาบ

จึงนำข้อมูลมาปรับปรุงแม่พิมพ์อีกครั้งให้มีมุมเอียง

ด้านข้างจากเดิมมุม 90 องศา ลดลงเป็น 45 องศา

และเพิ่มขนาดของบ่าบู๊ซจับยึดจากเดิม 18 เป็น 24

มิลลิเมตร แล้วนำแม่พิมพ์มาอัดขึ้นรูปและนำไปติดตั้ง

กับตีนตะขาบ แล้วนำไปทดสอบปัญหาแรงดันด้านข้าง

ของยางตีนตะขาบ พบว่าใช้งานได้ดี จึงสรุปผลรูปทรง

ของยางตีนตะขาบที่ปรับปรุงขั้นสุดท้าย ดังแสดงใน

ภาพที่ 10 และนำไปทดสอบภาคสนาม

การทดสอบบนถนนลาดยางแอสฟัลต์ เพื่อนำข้อมูลมาประเมินอายุการใช้งานและหา

อัตราการสึกหรอ โดยนำยางตีนตะขาบมาติดตั้งกับ

เครื่องเกี่ยวนวด แสดงในภาพที่ 11 แล้วนำไปทดสอบ

การเคลื่อนที่บนผิวถนนลาดยางพบว่าไม่ทำให้ผิวถนน

เสียหาย และหาเปอร์ เซ็นต์การลื่นไถลบนผิวถนน

ลาดยาง เปรียบเทียบกับพื้นนาและพื้นไร่ โดยกำหนด

ความเร็วการเคลื่อนที่เท่ากับ 4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การทดสอบในสภาพดินนา ทดสอบในแปลงของเกษตรกร บริ เวณบ้าน

หนองถ่าน ตำบลหนองถ่าน อำเภออู่ทอง จังหวัด

สุพรรณบุรี สภาพแปลงนาข้าวเก็บเกี่ยวแล้ว 1 วัน

มีเศษฟางปกคลุมเล็กน้อย พื้นเป็นดินเหนียวอ่อนนุ่ม

ภาพที่ 9 การทดสอบเก็บเกี่ยวข้าวโพด

64

11

12 45 13 3.

14 15

64

11

12 45 13 3.

14 15

ภาพที่ 11 ยางตีนตะขาบที่ติดตั้งแล้ว

ภาพที่ 10 ยางตีนตะขาบที่ปรับปรุงขั้นสุดท้าย

Page 40: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

38 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ไม่มีน้ำขัง ดังภาพที่ 12 โดยกำหนดพื้นที่ทดสอบเป็น

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง 30 เมตร ความยาว 75

เมตร และที่ว่างสำหรับเลี้ยวกับหัว-ท้ายแปลง 3 เมตร

มีพื้นที่รวมทั้งหมด 2,250 ตารางเมตร ดังแสดงในภาพ

ที่ 13 ใช้ความเร็วการเก็บเกี่ยวปกติ 3-4 กิโลเมตรต่อ

ชั่วโมง โดยกำหนดความเร็วรอบเครื่องยนต์ 1,500 รอบ

ต่อนาที นำเครื่องเกี่ยวนวดเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงระยะ

ทาง 75 เมตร และเลี้ยวกลับตัวที่หัว-ท้ายแปลง จำนวน

4.5 เที่ยววิ่ง ได้พื้นที่เกือบ 1 ไร่ (หน้ากว้างเก็บเกี่ยว 2.3

เมตรx(75x2x4.5)) เท่ากับ 1,552.5 ตารางเมตร แล้ว

หยุดตรวจสอบการสึกหรอโดยการตรวจพินิจด้วยสายตา

รวม 7 ครั้ง หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ พบว่า ยาง

ตีนตะขาบมีอัตราการสึกหรอน้อยมากเพราะสภาพพื้น

นาเป็นดินเหนียวอ่อน หากต้องการทราบผลอายุการ

ใช้งาน ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง คณะผู้วิจัยจึง

เปลี่ยนสภาวะการทดสอบเพื่อเร่งการสึกหรอ ซึ่งเมื่อ

พิจารณาจากกราฟความความต้านทานการแทงทะลุ

ของดินนา แสดงในภาพที่ 14 ค่าความต้านทานการ

แทงทะลุความลึก 5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นส่วนที่มีผลกับ

การสึกหรอของยางตีนตะขาบ เท่ากับ 0.3 นิวตันต่อ

ตารางมิลลิเมตร เมื่อเทียบกับดินไร่จะแข็งกว่ามีค่า

ความต้านทานการแทงทะลุความลึก 5 เซนติเมตร

เท่ากับ 1.6 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร

การทดสอบในสภาพดินไร่ โดยสภาพไร่ เป็นดินเหนียวปนกรวด ชุดดิน

กบินทร์บุรี ดำเนินการที่ ตำบลลาดกระทิง อำเภอ

สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ดังแสดงในภาพที่ 15

โดยกำหนดเงื่อนไขและรูปร่างพื้นที่เช่นเดียวกันกับดิน

นาและวางแผนให้ทดสอบมากที่สุดเท่าที่เวลาและงบ

ประมาณอำนวย โดยก่อนทดสอบทำเครื่องหมายที่

ตีนตะขาบด้านละ 5 ชิ้น ทั้ง 2 ด้าน แล้วถอดยางตีน

ตะขาบตรงจุดที่ทำเครื่องหมาย รวม 10 ชิ้น ดังแสดง

ในภาพที่ 16 นำมาชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง

บันทึกข้อมูล และนำกลับใส่ที่ เดิม โดยใช้ความเร็ว

การเคลื่อนที่ 4.21-4.43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รอบเครื่อง

ยนต์ 1,500 รอบต่อนาที นำไปทดสอบได้ระยะทาง 225

กิโลเมตร เมื่อนำมาเทียบเป็นพื้นที่เก็บเกี่ยว ((225x

ภาพที่ 13 ลักษณะแปลงทดสอบ

ภาพที่ 14 กราฟเปรียบเทียบค่าความต้านทานการแทงทะลุของดินนา

และดินไร่

ภาพที่ 12 การทดสอบสภาพดินนาในแปลงเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี

66

18

19

20

75/78

3

30

20 20

66

18

19

20

75/78

3

30

20 20

1,000เมตร) x 2.3เมตร) เท่ากับ 517,500/1,600

คิดเป็นพื้นที่ 323 ไร่ และถอดยางตีนตะขาบนำมา

ทำความสะอาดและชั่งน้ำหนักที่หายไป เพื่อนำมาหา

อัตราสึกหรอ ดั งตารางที่ 1 มีอัตราการสึกหรอ

Page 41: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

39 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาพที่ 15 การทดสอบสภาพดินไร่

ภาพที่ 16 การทดสอบสภาพดินไร่

ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์

ส่ วนผลกระทบจากการลื่ น ไถลจากการวัด

ความเร็วทางตรง 5 เที่ยววิ่ง ระยะ 20 เมตร พบว่า

ในทางกลับกันการใส่ยางตีนตะขาบยังมีประสิทธิภาพ

ในการตะกุยดิน (Grousers) ได้สูง โดยมีเปอร์เซ็นต์

การลื่นไถลเพียง 2.51 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับพื้นถนน

ลาดยาง ดังแสดงในตารางที่ 2

การประเมินใช้งานในเชิงพาณิชย์

ต้นทุนการผลิต

เพื่อเป็นแนวทางการนำยางตีนตะขาบไปใช้งาน

ในสภาวะการจริง และไม่คิดค่าแม่พิมพ์ขึ้นรูป ราคา

50,000 บาท ผลิตงานได้ 100,000 ชิ้น คิดราคาต่อ

หน่วย (50,000/100,000) เท่ากับ 0.50 บาทต่อชิ้น

ซึ่งต้นทุนการผลิต จะแปรผันตามปริมาณชิ้นงาน หาก

ผลิตจำนวนมากราคาต่อหน่วยจะต่ำลง โดยคิดเฉพาะ

(1) ค่ายางธรรมชาติและสารเคมี 30 บาทต่อชิ้น

(2) ค่าแรงอัดขึ้นรูป 5 บาทต่อชิ้น ใช้ทั้ งหมด 68

ชิ้น เป็นเงิน (30x5x68) เท่ากับ 10,200 บาท

ความคุ้มค่า

เมื่อคิดในกรณีที่เจ้าของเครื่องเกี่ยวนวด ต้องจ่าย

เงินซื้อยางตีนตะขาบ 10,200 บาท อายุการใช้งาน

ประมาณ 1 ปี หรือมากกว่า เมื่อเทียบรายได้ประมาณ

10,000-15,0000 บาทต่อวัน (โดยทั่วไปเครื่องเกี่ยว

นวดจะทำงานปีละ 2,000 ไร่ ความสามารถในการเก็บ

เกี่ยว 20-30 ไร่ต่อวัน) เทียบกับความสะดวก ไม่ต้อง

เสียค่าใช้จ่ายขณะเคลื่อนย้าย 2,000 บาทต่อชั่วโมง

จะเห็นว่ามีความคุ้มค่าที่จะซื้อไปใช้งาน

สรุปผลการศึกษา งานวิจัยนี้ได้พัฒนาสูตรยางธรรมชาติผสมกับ

สาร เคมี ให้มี สมบัติทางกายภาพสอดคล้องกับ

มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2478-2552 มีค่าความ

แข็ง 68.8 Shore A จากนั้นนำสูตรที่พัฒนาได้ไปผลิต

ยางตีนตะขาบโดยการอัดขึ้นรูปร้อนด้วยแม่พิมพ์ที่

ออกแบบเฉพาะ ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ส่วน

ผลการทดสอบใช้งานกับเครื่องเกี่ยวนวดขนาด 4.2

ตัน เมื่อนำไปขับเคลื่อนบนถนนลาดยางพบว่าไม่ทำ

ให้ผิวถนนลาดยางเสียหาย จึงทดสอบในแปลงนามีค่า

ความต้านทานการแทงทะลุ 0.3 นิวตันต่อตาราง

มิลลิเมตร ความเร็วการเคลื่อนที่ 4.17-4.93 กิโลเมตร

ต่อชั่วโมง บนพื้นที่ 7.2 ไร่ พบว่า ยางตีนตะขาบมีอัตรา

การสึกหรอน้อยมาก จึง เร่ งอัตราการสึกหรอโดย

ทดสอบในสภาพไร่ซึ่งดินแข็งกว่ามีค่าความต้านทาน

การแทงทะลุ 1.6 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ใช้ความเร็ว

การเคลื่อนที่ 4.21-4.43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนพื้นที่

323 ไร่ หรือคิดเทียบเท่าแปลงนา 1,721 ไร่ เมื่อนำยาง

ตีนตะขาบมาตรวจสอบมีอัตราสึกหรอประมาณร้อยละ

5 เท่านั้น

การนำไปใช้ประโยชน์ 1. ได้วิธีแปรรูปยางธรรมชาติให้มีมูลค่าสูง

Page 42: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

40 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

1 327.10 325.10 310.70 308.90

2 325.70 324.90 309.50 308.70

3 325.20 326.00 309.00 310.90

4 326.10 327.20 309.80 307.90

5 326.80 325.40 310.50 309.10

น้ำหนักเฉลี่ย 326.18 325.72 309.90 309.10

พื้นถนนลาดยาง 15.62 15.4 15.74 15.45 15.57 15.56 0

พื้นดินนา 15.59 15.06 17.24 16.33 15.51 15.95 2.51

พื้นดินไร่ 16.23 16.26 16.38 16.32 16.28 16.29 4.74

ตารางที่ 1 ผลการทดสอบการสึกหลอของยางตีนตะขาบในสภาพดินไร่

ตารางที่ 2 ผลการทดสอบเปอร์เซ็นต์การลื่นไถลในสภาพพื้นดินนาและดินไร่

เทียบกับพื้นถนนลาดยาง

ชิ้นที่

สภาพพื้นที่ ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์

การลื่นไถล

น้ำหนักก่อนใช้งาน (กรัม)

เวลา (วินาที)

น้ำหนักหลังใช้งาน (กรัม)

ข้างซ้าย

รอบที่ 1 รอบที่ 2 รอบที่ 3 รอบที่ 4 รอบที่ 5

ข้างซ้ายข้างขวา ข้างขวา

ขึ้น โดยนำไปผลิตเป็นยางตีนตะขาบเครื่องเกี่ยว

นวดที่มีการผลิตและใช้งานในประเทศ

2. นำไปจัดแสดงในงาน มหกรรมพืชสวนโลก

เฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ณ จังหวัดเชียงใหม่

ระหว่างเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2555

3. ขยายผลการวิจัยโดยร่วมกับบริษัทผู้ผลิต

เครื่องเกี่ยวนวดในจังหวัดพิษณุโลกนำยางตีนตะขาบ

ไปใช้กับเครื่องเกี่ยวนวดขนาดใหญ่ น้ำหนัก 9 ตัน

บรรณานุกรมพงษ์ธร แซ่อุย. 2548. ยาง ชนิด สมบัติและการใช้งาน.

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. 125 หน้า.

พรพรรณ นิธิอุทัย และคณะ. 2540. ยาง: เทคนิค

การออกสูตร . ภาควิชาเทคโนโลยียางและ

พอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ภาณุฤทธิ์ ยกตุทัต. 2547. การออกแบบเครื่องจักรกล.

บริษัทสำนักพิมพ์ท้อป, กรุงเทพ ฯ. 503 หน้า.

รุ่งเรือง และคณะ. 2549. การศึกษาสมรรถนะการ

ขับเคลื่อนแบบจำลองตีนตะขาบ. การประชุม

วิชาการครั้ งที่ 7 ประจำปี 2549. สมาคม

วิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันวิจัยยาง. 2550. สถิติยางประเทศไทย. ฉบับที่ 3.

กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 31 หน้า.

สันธานและคณะ. 2536. รายงานการประชุมวิชาการ

ประจำปี. กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการ

Page 43: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

41 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

เกษตร, กรุงเทพฯ. 65 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2550. สถิติการ

เกษตรของประเทศไทย.กรุงเทพฯ. 122 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2540.

เครื่องเกี่ยวนวดข้าว .กระทรวงอุตสาหกรรม,

กรุงเทพฯ. 19 หน้า.

สุรเวทย์ กฤษณะเศรณี. 2548. เครื่องจักรกลเกษตรและ

การจัดการผลิตพืช.กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

84 หน้า.

อนันต์ มีชูเวท. 2531. แทรกเตอร์ตีนตะขาบ. สมาคม

ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ,กรุงเทพฯ.

259 หน้า.

Even, W. Colin. Practical Rubber Compounding

and Processing. Applied Sci. Pubplishers,

1981, p.43.

Morton, Mauric. Rubber Technology. Cp. Cit. p.58.

RNAM Test Codes and Procedures for Farm

Machinery. 1995. Test Codes and Procedures

for Harvesting Machines. pp 207-225.

Stewart, SJ.,Lieb, R.I., and Dewwod, J.E., PVI/Ac

celerator Systems. Ruber Age, October,

1970, p.56.

Page 44: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

42 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

สรุปสถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 2และแนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2556

เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

1. สถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมในไตรมาส

ที่ 2 และแนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2556 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International

Monetary Fund: IMF) ได้ปรับลดการพยากรณ์

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกลงจากร้อยละ

3.3 ต่อปี เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นร้อยละ 3.1

ต่อปีเมื่อเดือนกรกฎาคม เนื่องจากอุปสงค์และอัตรา

การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจกำลัง

เติบโตยังไม่ฟื้นตัวขึ้นเท่าที่ควร เนื่องจากนโยบาย

เข้มงวดทางการเงินของประเทศจีน อัตราการเติบโต

ทางเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปยังหดตัวและ

ความเสี่ยงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของโลกยัง

คงอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากการคาดการณ์ว่า

ประเทศสหรัฐอเมริกาจะเริ่มลดการอัดฉีดเงินที่มีต้นทุน

อัตราดอกเบี้ยต่ำ (ใกล้ร้อยละศูนย์) เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

ของประเทศในเดือนกันยายน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนด้าน

การเงินของนักลงทุนสูงขึ้นและจะมีเงินทุนไหลกลับ

จากภูมิภาคอื่นๆ ของโลกรวมทั้งจากทวีปเอเชียและจะ

ทำให้ค่าเงินในทวีปเอเชียอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อ

การส่งออกแต่ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าประเภททุน

สูงขึ้น

จากนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเงินของ

ประเทศสหรัฐอเมริกาที่อาจจะเริ่มลดการอัดฉีดเงิน

เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เนื่องจาก

อัตราการว่างงานลดลง การลงทุนและการบริโภคดีขึ้น

ในไตรมาสที่ 2 ส่วนสหภาพยุโรปเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

ในไตรมาสที่ 2 และสำหรับประเทศญี่ปุ่นเศรษฐกิจได้มี

การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 และ 2

สำหรับเศรษฐกิจของประเทศเทศที่กำลังเติบโต

ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน

(BRIC) นั้น มีเพียงประเทศบราซิลเท่านั้นที่เศรษฐกิจ

ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาที่ 1 และ 2 แต่ใน

ส่วนเศรษฐกิจของประเทศรัสเซีย อินเดีย และจีน

ชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 1 และ 2

ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยและอินโดนีเซีย

มีการชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 1 และ 2 เนื่องจากการ

ประสบปัญหาการขาดดุลการค้า โดยเฉพาะการนำเข้า

สินค้าพวกพลังงานมีราคาสูงขึ้น ส่วนประเทศมาเลเซีย

นั้นเศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2

เพราะไม่ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

กล่าวโดยสรุปเศรษฐกิจโลกโดยรวมในไตรมาส

ที่ 1 และ 2 ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร และยังไม่มีเสถียรภาพ

เนื่องจากนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเงินของกลุ่ม

ประเทศที่พัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศเศรษฐกิจกำลัง

เติบโต ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา ยัง

ไม่มีเอกภาพที่ให้เศรษฐกิจโลกมีการเจริญเติบโตอย่าง

มีเสถียรภาพและยั่งยืนในระยะยาว แม้ว่าจะมีการ

ประชุมระดับผู้นำประเทศของโลกในเวทีต่างๆ มาอย่าง

ต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำและ

ไม่มีเสถียรภาพ

2. สถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 2 ของ

ปี พ.ศ. 2556 ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่ตลาดกลางหาดใหญ่

Page 45: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

43 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ภาพที่ 1 ราคายางพาราไทยปี พ.ศ.2555-2556

ที่มา: บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

ปรับตัวลดลงจากระดับราคาเฉลี่ย 83.56 บาท/กก.

ในไตรมาสที่ 1 มาอยู่ที่ระดับราคาเฉลี่ย 78.87 บาท/

กก. หรือลดลง 4.69 บาท/กก. หรือลดลงร้อยละ 5.62

ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยมีปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่

1. เศรษฐกิจของโลกโดยรวมมีการชะลอตัว

ลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยเฉพาะ

ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางพาราอันดับหนึ่ง

ของโลก ส่งผลทำให้ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น

ในอัตราที่ลดลง

2. ระดับสต็อกยางพาราของโลกในไตรมาสที่ 2

ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่

แล้ว โดยเฉพาะสต็อกยางที่เมืองชิงเต่า ประเทศจีน

อยู่ที่ระดับสูงถึง 341,900 ตัน สต็อกยางที่ตลาดซื้อ

ขายล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ 113,996 ตัน และสต็อกยาง

พาราที่ตลาดซื้อขายล่วงหน้ากรุงโตเกียว 12,217 ตัน

3. ผลผลิตยางพาราของโลกในไตรมาสที่ 2 ลดลง

ไม่มากนักอันเนื่องมาจากฤดูแล้งที่ไม่รุนแรงมากนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย อินโดนีเซีย และ

มาเลเซีย

4. นักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัว

ทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ประกอบกับการชะลอ

ตัวลงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศจีนและข่าว

ธนาคารกลางประเทศสหรัฐอเมริกาจะลดการอัดฉีด

เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการชะลอการลงทุน

ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น

5. ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดซื้อขาย

ล่วงหน้ากรุงโตเกียวสัญญาเดือนปัจจุบัน (Spot Month)

ต่ำกว่าราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ท่าเรือส่งออก

กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกรกฎาคมที่

ผ่านมาซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ผิดปกติและกดดันให้ราคา

ยางพาราในตลาดส่งมอบจริงลดลงไปด้วย

แต่ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในขณะที่ราคายาง

พาราในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

แต่ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดที่

ใหญ่อันดับที่หนึ่งของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.49 ใน

ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น

ตลาดที่ใหญ่อันดับที่สองของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.53

ในไตรมาสเดียวกัน

3. แนวโน้มราคายางพาราในไตรมาสที่ 3 ของปี

พ.ศ. 2556 ราคายางพาราในประเทศยังปรับตัวลดลงจาก

Page 46: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

44 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 1

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 2

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 3

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 4

ค่าเฉลี่ย

-12

-24

-28

-22

-31

-21

-14

-22

-19

-12

-13%

-23%

-28%

-22%

-31%

-24%

-19%

-25%

-19%

-9%

-12.47

-26.57

-29.97

-23.00

-33.22

-22.44

-12.70

-22.79

-16.89

-9.49

-14.84

-29.40

-34.85

-26.37

-37.17

-27.83

-20.70

-28.57

-18.90

-7.78

99.92

110.96

108.82

106.56

107.73

105.32

91.91

101.65

89.28

81.80

83.06

84.71

86.48

78.93

82.54

82.65

93.90

114.67

125.38

122.65

120.90

119.95

117.63

107.66

115.08

99.54

88.97

93.63

94.04

98.57

91.99

95.37

95.31

106.33

87.45

84.39

78.84

83.56

74.51

82.88

79.21

78.87

72.39

72.31

99.83

95.98

87.80

94.54

82.78

89.80

86.96

86.51

80.64

81.19

ตารางที่ 1 ราคายางพาราไทยปี พ.ศ. 2555 - 2556

เดือนยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 (USS3) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3)

2555 25552556 2556+/- +/-% %

ที่มา : บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

หน่วย : บาท/กก.

Page 47: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

45 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 1

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 2

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 3

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

ค่าเฉลี่ยไตรมาส 4

ค่าเฉลี่ย

ตารางที่ 1 ราคายางพาราไทยปี พ.ศ. 2555 - 2556

เดือน

ที่มา : บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด

-17

-23

-28

-23

-35

-32

-26

-31

-25

-12

-15%

-26%

-29%

-24%

-31%

-20%

-20%

-24%

-22%

-14%

-19.24

-27.53

-33.27

-26.68

-40.47

-34.92

-24.83

-33.41

-23.73

-9.97

-14.47

-28.54

-32.14

-25.05

-32.25

-19.95

-17.26

-23.16

-19.36

-11.28

111.48

118.36

116.74

115.53

115.53

110.40

96.99

107.64

93.07

84.37

86.69

88.04

91.92

86.58

88.92

89.14

100.09

96.20

108.25

110.57

105.01

105.31

99.50

87.26

97.36

86.36

78.04

79.55

81.32

82.30

74.91

78.05

78.42

90.53

92.25

90.83

83.48

88.85

75.06

75.47

72.17

74.23

69.35

74.40

81.73

79.71

78.43

79.96

73.06

79.55

70.00

74.20

67.00

66.76

ยางแท่งเอสทีอาร์ 20 (STR20) น้ำยางสด (Field Latex)

2555 25552556 2556+/- +/-% %

หน่วย : บาท/กก.

Page 48: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

46 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ไตรมาสที่ 2 จนถึงเดือนกรกฎาคมเนื่องจากปัจจัย

แวดล้อมที่ยังไม่ดีขึ้น แต่ราคายางพาราในประเทศเริ่ม

ฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมจนถึงกลางเดือน

กันยายนอันเป็นผลมาจากสาเหตุหลักคือ

1. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดซื้อขาย

ยางพาราล่วงหน้าและตลาดส่งมอบจริงดีขึ้น เนื่อง

จากมีรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศใน

กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 และใน

ส่วนของสหภาพยุโรปเศรษฐกิจเริ่มแสดงให้เห็นถึง

การฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 และมีแนวโน้มที่จะมีการ

ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้

2. รายงานตัวเลขดัชนีการผลิตภาคอุตสาห-

กรรมและตัวเลขการส่งออกของประเทศจีนในเดือน

สิงหาคมปรับตัวดีขึ้น และผู้นำรัฐบาลจีนได้กล่าวให้

ความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนว่าจะมีการผ่อนคลายทาง

นโยบายการเงินมากขึ้นเพื่อรักษาระดับอัตราการเจริญ

เติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ไม่ให้ต่ำกว่าร้อยละ 7.5

3. ผลผลิตยางพาราในไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะ

ในประเทศไทย อินโดนีเซียเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในขณะ

ที่ผลผลิตยางพาราลดลงในประเทศมาเลเซียเนื่อง

จากความแห้งแล้งและฝนตกหนักในประเทศอินเดีย

4. ปริมาณสต็อกยางพาราของโลกยังอยู่ ใน

ระดับที่ไม่สูงนัก เนื่องจากผลกระทบจากข้อ 3 ข้างต้น

ในขณะเดียวกันรายงานตัวเลขสต็อกยางที่เมืองชิงเต่า

ประเทศจีนและสต็อกยางพาราที่ตลาดล่วงหน้ากรุง

โตเกียวได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2

5. ยอดขายรถยนต์ของประเทศจีนและสหรัฐ

อเมริกาซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับที่หนึ่งและสองของ

โลกยังมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และร้อยละ 17

ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

6. ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ตลาดซื้อขาย

ล่วงหน้าที่กรุงโตเกียวได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติตั้งแต่

เดือนสิงหาคม โดยราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เดือน

ปัจจุบัน (Spot Month) ที่ตลาดซื้อขายล่วงหน้ากรุง

โตเกียวสูงกว่าราคา ณ ท่าเรือส่งออกกรุงเทพฯ

7. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนดีขึ้นโดยสังเกตได้

จากตลาดหุ้นที่สำคัญของโลก ได้แก่ ตลาดหุ้นกรุง

นิวยอร์ค ยุโรป กรุงโตเกียว และเซี่ยงไฮ้ มีทิศทางที่ปรับ

ตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนกันยายนนี้

สำหรับราคายางพาราในปลายเดือนกันยายน

และในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นไป

อีกหากเศรษฐกิจของโลกโดยรวมฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

และการลดการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของ

ธนาคารกลางประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นไปอย่าง

เหมาะสมและไม่สร้างความตื่นตระหนกแก่นักลงทุน

และไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของระบบการเงิน

และต้นทุนการกู้ยืมของนักลงทุนในตลาดโลก นอก

จากนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ผลผลิตยางพารา

ที่จะออกมาในไตรมาสที่ 4 ด้วย ซึ่งหากผลผลิตออก

มามากและเกษตรกรไม่มีการเก็บผลผลิตบางส่วน

ไว้จำหน่ายในฤดูแล้งที่จะมาถึงก็อาจจะทำให้ราคา

ยางพาราในประเทศไม่ปรับตัวสูงขึ้นเท่าที่ควร

Page 49: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

47 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

ข่าวสถาบันวิจัยยาง

ย้ายข้าราชการ กรมวิชาการเกษตร มีคำสั่งที่ 915/2556 ลง

วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 ย้ายข้าราชการ ดังนี้

นายสมยศ ชูกำเนิด นักวิชาการเกษตรชำนาญ

การพิเศษ กลุ่มควบคุมพืชภาคใต้ สำนักควบคุมพืช

และวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ย้ายมาดำรง

ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่ม

วิชาการ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ให้ข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ กรมวิชาการเกษตร มีคำสั่งที่ 1017/2556 ลงวันที่

26 กรกฎาคม 2556 ให้ข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ

ดังนี้

นายสมยศ ชูกำเนิด นักวิชาการเกษตรชำนาญ

การพิเศษ กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยยาง ไปช่วยปฏิบัติ

ราชการที่กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนัก

ควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

อนุญาตให้ข้าราชการขยายเวลาศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตร มีคำสั่งที่ 903/2556 ลง

วันที่ 4 กรกฎาคม 2556 อนุญาตให้ข้าราชการขยาย

เวลาศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ดังนี้

นางสาวปิยะนุช ปิยะตระกูล นักวิชาการเกษตร

ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรม

วิชาการเกษตร ขอขยายระยะเวลาศึกษาระดับปริญญา

เอก ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2556 เพื่อ

จัดทำวิทยานิพนธ์ และนำผลงานวิจัยลงตีพิมพ์ใน

วารสาร

ส่งตัวข้าราชการกลับต้นสังกัด ตามหนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนัก

รัฐมนตรี ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 ขอส่งตัวข้าราชการ

กลับต้นสังกัด ดังนี้

นายจุมพฏ สุขเกื้อ เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เนื่องจากได้

เสร็จสิ้นภารกิจที่สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเกษตร

และสหกรณ์ จึงขอส่งตัวกลับไปปฏิบัติราชการที่ต้น

สังกัด ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป

อนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ กรมวิชาการเกษตร มีคำสั่งที่ 1042/2556 ลง

วันที่ 1 สิงหาคม 2556 อนุญาตให้ข้าราชการลาออก

จากราชการ ดังนี้

นางนภัสสร ดำขำ เจ้าพนักงานการเงินและ

บัญชี กลุ่มบริหารโครงการวิจัย สถาบันวิจัยยาง กรม

วิชาการเกษตร อนุญาตให้ลาออกจากราชการตั้งแต่

วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เนื่องจากไปบรรจุเข้ารับราชการ

ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ศึกษาดูงานต่างประเทศ นายอำนวย ไชยสุวรรณ์ หัวหน้าด่านตรวจ

พืชสะเดา สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร และ

คณะ รวม 4 คน เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการผลิต

ยางล้อรถยนต์ตามมาตรฐานสหภาพยุโรป ที่โรงงาน

มิชิลิน ฝรั่งเศส รวมทั้งดูงานการขยายพันธุ์พืชในห้อง

ปฏิบัติการภายใต้ขั้นตอนการกักกันพืชของ CIRAD

เมือง Montpellier และเยี่ยมชมและศึกษาแลกเปลี่ยน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานด่านกักกันพืชท่าเรือ Antwerp

เบลเยี่ยม ท่าเรือร็อตเตอดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

Page 50: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

48 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

นอกจากนั้น ได้ดูงานด้านตลาดประมูลไม้ดอกไม้

ประดับที่เมืองอัมสเตอดัม และบริษัทยางล้อของ Inter-

nationnal Homologation Bussiness ของเยอรมนีด้วย

ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2556

ประชุม HRPP นายสุธี อินทรสกุล เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรและคณะ รวม

12 คน เดินทางไปเข้าร่วมประชุมสัมมนาโครงการ

HRPP ระหว่างวันที่ 4 – 6 กันยายน 2556 ณ โรงแรม

ไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประชุมต่างประเทศ นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย นักวิทยาศาสตร์ชำนาญ

การพิเศษ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร และ

คณะ รวม 3 คน เดินทางไปเข้าร่วมประชุมคณะ

ทำงานด้านผลิตภัณฑ์ยางภายใต้คณะกรรมการ

ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน

(ACCSQ Rubber-Based Product Working Group-

RBPWG) ครั้งที่ 17 และการประชุม Task Force on

Rubber Based Product ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 3 – 5

กันยายน 2556 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักร

กัมพูชา

จัดฝึกอบรม สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัด

โครงการฝึกอบรมให้แก่พนักงานกองทุนสงเคราะห์การ

ทำสวนยางที่ได้รับการบรรจุใหม่ และจำเป็นต้องมี

ความรู้ ในการปลูกสร้างสวนยางทีถูกต้องทั้ งด้าน

ลักษณะพื้นที่ การเตรียมพื้นที่ การเตรียมวัสดุปลูก

วิธีการปลูก และการดูแลรักษาเพื่อนำความรู้ไปถ่าย

ทอดให้เกษตรกรที่ขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทนจาก

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ณ ศูนย์

เรียนรู้ยางพาราลำทับ อ. ลำทับ จ. กระบี่ โดยมีหลักสูตร

ดังนี้

- หลักสูตร “ การปลูกสร้างสวนยางและการรักษา

สวนยาง รุ่นที่ 2” ระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2556

มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 37 คน

- หลักสูตร “การจำแนกพันธุ์ยาง รุ่นที่ 2” ระหว่าง

วันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2556 มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด

37 คน

- หลักสูตร “การผลิตและขยายพันธุ์ยาง รุ่นที่ 2”

ระหว่างวันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2556 มีผู้เข้าร่วมอบรม

ทั้งหมด 37 คน

- หลักสูตร “โรคและศัตรูยาง รุ่นที่ 2” ระหว่าง

วันที่ 15 - 17 กรกฎาคม 2556 มีผู้ เข้าร่วมอบรม

ทั้งหมด 37 คน

Page 51: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

49 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 14 กรกฎาคม-กันยายน 2556

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัด

โครงการอบรม หลักสูตร “ การจัดการสวนยางอย่าง

ยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2556

ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริ เวอร์แคว รีสอร์ท กาญจนบุรี

อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ให้แก่พนักงานกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยาง เนื่องจากพนักงานกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยางจำเป็นต้องมีความรู้ในการปลูกสร้าง

สวนยางอย่างรอบด้าน สามารถให้คำแนะนำแก่

เกษตรกรในการดูแลจัดการสวนยางได้อย่างถูกต้อง

เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างยาวนาน มีผู้

เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 58 คน

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัด

โครงการฝึกอบรมบุคคลทั่วไป หลักสูตร การผลิต

ผลิตภัณฑ์น้ำยางรุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม

2556 ณ ห้องประชุม อาคารพิศ ปัญญาลักษณ์ และ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยยาง

มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 20 คน

โครงการมหกรรมยางทั่วไทย สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัด

โครงการมหกรรมยางทั่วไทย ก้าวใหม่ ตลาดกลาง

ยางพาราไทย มั่นใจสู่ระดับโลก ระหว่างวันที่ 28 – 30

สิงหาคม 2556 ณ สำนักงานตลาดกลางยางพารา

นครศรีธรรมราช ต.จันดี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และทุกภาคส่วนที่

เกี่ยวข้องกับยางพาราได้รับทราบความก้าวหน้าการ

พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ของตลาดกลางยางพาราไทย

และให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ได้รู้และเข้าใจการ

ซื้อขายยาง ระบบตลาดท้องถิ่น ระบบตลาดกลางยาง

พารา ทั้งตลาดปัจจุบัน (Spot Market) ตลาดข้อตกลง

ส่งมอบจริง (Forward Market) ตลาดข้อตกลง

ส่งมอบจริงประเทศไทย (Rubberthai Physical

Forward Central Market) และระบบตลาดสินค้า

ล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) มีผู้ เข้าร่วมงาน

ทั้งหมด 2,000 คน

Page 52: วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556