785
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๑. สรณคมน์ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ _____________ ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๑. สรณคมน์ ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓ สรณคมน์ จบ เชิงอรรถ : สรณะ หมายถึงสิ่งที่ทาลาย ขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ ภัย และกิเลส การยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ก็เพื่อเป็นเครื่องช่วย ทาลาย ขจัดปัดเป่าทุกข์ ภัยและกิเลสต่าง ๆ ในจิตใจให้หมดสิ้น (ขุ.ขุ.อ. ๑/๖-๗) อนึ่ง การเปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย ถือเป็นการบรรพชาและอุปสมบทในสมัยต้นพุทธกาล เรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา (การอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์) (วิ.อ. ๓/๓๔/๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ · ๑ ไต แปลจากค าว่า “วกฺก” (โบราณแปลว่า

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สตุตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๑. สรณคมน์

    พระสุตตันตปิฎก

    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ _____________

    ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ๑. สรณคมน์

    ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ๑

    ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจา้เป็นสรณะ

    ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ

    ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

    ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจา้เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒

    ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒

    ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒

    ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจา้เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓

    ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓

    ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓

    สรณคมน์ จบ

    เชิงอรรถ :

    ๑ สรณะ หมายถึงสิ่งที่ท าลาย ขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ ภัย และกิเลส การยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

    ก็เพื่อเป็นเคร่ืองช่วย ท าลาย ขจัดปัดเป่าทุกข์ ภัยและกิเลสต่าง ๆ ในจิตใจให้หมดสิ้น (ขุ.ขุ.อ. ๑/๖-๗)

    อนึ่ง การเปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย ถือเป็นการบรรพชาและอุปสมบทในสมัยต้นพุทธกาล เรียกว่า

    ติสรณคมนูปสัมปทา (การอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์) (วิ.อ. ๓/๓๔/๒๓)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๒. ทสสิกขาบท

    ๒. ทสสิกขาบท

    ว่าด้วยสิกขาบท๑ ๑๐ ประการ

    ๑. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์

    ๒. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่

    เจ้าของมิได้ให้

    ๓. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากพฤตกิรรมอันมิใช่

    พรหมจรรย์๒

    ๔. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ

    ๕. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท๓ คือเจตนางดเว้นจากการดื่มน้ าเมาคือสุรา

    และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท

    เชิงอรรถ :

    ๑ สิกขาบท แยกศัพท์อธิบายดังนี้ สิกขา + บท ค าว่า สิกขา หมายถึงสิ่งที่จะต้องศึกษา ได้แก่ ศีล สมาธิ

    และปัญญา ค าว่า บท หมายถึงอุบายเครื่องบรรลุ (ปชฺชเต อเนนาติ ปท ) หมายถึงพื้นฐาน(มูละ) หมายถึง

    ที่อาศัย(นิสสยะ) และหมายถึงที่ตั้ง(ปติฏฐะ) ดุจในค าว่า “สีล นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย สตฺต โพชฺฌงฺเค

    ภาเวนฺโต พหุลีกโรนฺโต” เป็นต้น (ส .ม. ๑๙/๑๘๒/๕๘) ดังนั้น สิกขาบท จึงหมายถึงอุบายเครื่องบรรลุสิ่งที ่

    จะต้องศึกษา และหมายถึงพื้นฐาน ที่อาศัย หรือที่ตั้งแห่งสิ่งที่จะตอ้งศึกษา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

    ค าว่า “สิกขาบท” มีความหมายเท่ากับค าว่า “เวรมณ”ี ดังบทวิเคราะห์ว่า “เวรมณี เอว สิกฺขาปท ”

    จึงมีพระบาลีว่า “เวรมณีสิกฺขาปท ” แปลว่า สิกขาบทคือเจตนางดเว้น ค าว่า “เจตนางดเว้น” หมายถึงการงด

    (วิรัติ) การไม่ท า(อกิริยา) การไม่ต้องอาบัติ(อนัชฌาบัต)ิ การไม่ล่วงละเมิดขอบเขต(เวลาอนติกกมะ)

    รวมถึงการก าจัดกิเลสด้วยอริยมรรคที่เรียกว่า เสตุ (เสตุฆาตะ) (ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๐๔/๔๔๗)

    ในที่นี้หมายถึงศีล ๑๐ ส าหรับสามเณร เป็นต้น (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๕-๑๗) และดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๐๕-๑๐๖/

    ๑๖๘-๑๖๙

    ๒ พฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ หมายถึงเจตนาที่จะเสพเมถุนธรรม(พฤติกรรมของคนคู่กัน) หรือเจตนาที่

    แสดงออกทางกายโดยมุ่งหมายจะเสพเมถุนธรรม (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗)

    ๓ อรรถกถาอธิบายว่า สุราและเมรัยเป็นของมึนเมา และมีสิ่งอื่นอีกที่เป็นของมึนเมา (ตทุภยเมว (สุราเมรย )

    มทนียฏฺเฐน มชฺช , ย วา ปน ฺมฺปิ กิ ฺจิ มทนีย ) จึงอาจแปลตามนัยนี้ว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท

    คือ เจตนางดเว้นจากการด่ืมสุราเมรัย และของมึนเมาอันเป็นเหตุแห่งความประมาท (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๒. ทสสิกขาบท

    ๖. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการบริโภคอาหาร

    ในเวลาวิกาล๑

    ๗. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการฟ้อนร า ขับร้อง

    บรรเลงดนตรี และดูการละเล่นอันเป็น

    ข้าศึกต่อกุศล๒

    ๘. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการทัดทรงประดับ

    ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ

    เครื่องลูบไล้๓

    ๙. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการนอนบนที่นอน

    สูงและที่นอนใหญ่

    ๑๐. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการรับทองและเงิน

    ทสสิกขาบท จบ

    เชิงอรรถ :

    ๑ เวลาวิกาล ในที่นี้หมายถึงเวลาที่เลยเที่ยงวันไป (ขุ.ขุ.อ. ๒/๒๗)

    ๒ ค าว่า “นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา” ในสิกขาบทนี้ แปลได้ ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ แปลว่า “การดูการละเล่นอัน

    เป็นข้าศึกต่อกุศลคือการฟ้อนร า ขับร้อง และบรรเลงดนตรี” (ดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๓/๖ ประกอบ) นัยที่ ๒

    แปลว่า “การฟ้อนร า ขับร้อง บรรเลงดนตรี และการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล” ในที่นี้แปล

    ตามนัยที่ ๒ ค าว่า “ทัสสนา” มิได้จ ากัดความหมายเพียงการดู การเห็นเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง

    การฟัง การได้ยินด้วย ค าว่า “ข้าศึกต่อกุศล” แปลจากค าว่า “วิสูกะ” หมายถึงเป็นเหตุท าลายกุศลธรรม

    ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น และหมายถึงเป็นข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสมตอ่พระพุทธศาสนา

    ในสิกขาบทนี้พึงทราบนัยเพิ่มเติมอีก ๒ นัย คือ (๑) จะจัดเป็นการล่วงละเมิดสิกขาบทได้ต่อเมื่อ

    เข้าไปดูเพราะประสงค์จะเห็นเทา่นั้น แต่ถ้าบังเอิญการละเล่นนั้นผ่านมาให้เห็นเองทางที่ตนยืน นั่ง หรือ

    นอนอยู่ ไม่จัดเป็นการล่วงละเมิด จัดเป็นเพียงความเศร้าหมอง (๒) เพลงขับร้อง(คีตะ)ที่ประกอบด้วย

    ธรรม ถือเป็นความเหมาะสม ไม่ห้าม แต่ธรรมที่ประกอบเป็นเพลงขับร้อง ถือเป็นความไม่เหมาะสม

    (ขุ.ขุ.อ. ๒/๒๗-๒๘)

    ๓ ดู สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๐๖/๓๐๘

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๓. ทวัตติงสาการ

    ๓. ทวัตติงสาการ

    ว่าด้วยอาการ ๓๒

    ในร่างกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

    เน้ือ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑

    หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒ ปอด

    ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า

    ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ าตา

    เปลวมัน น้ าลาย น้ ามูก ไขข้อ มูตร๓ และมันสมอง

    ทวัตติงสาการ จบ

    เชิงอรรถ :

    ๑ ไต แปลจากค าว่า “วกฺก” (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก

    สะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากล าคอลงไปถึงหัวใจ

    แล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕

    ให้บท นิยามค าว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกลก้ระดูกสันหลัง ท าหน้าที่

    ขับของเสียออกมากับน้ าปัสสาวะ”, Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary,

    1985, (224), และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (591) ให้ความหมาย

    ของค าว่า “วกฺก” ตรงกันกับค าว่า “ไต” (Kidney)

    ๒ ม้าม แปลจากค าว่า “ปิหก” ตาม (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕) (โบราณแปลว่า ไต), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

    พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้ายมีหน้าที่ท าลายเม็ด

    เลือดแดง สร้างเม็ดน้ าเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย”

    ๓ มูตร หมายถึงน้ าปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๗, วิสุทฺธิ. ๑/๒๑๓/๒๘๘) และดู องฺ.ฉกฺก.

    (แปล) ๒๒/๒๙/๔๖๙

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๔ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๔. สามเณรปัญหา

    ๔. สามเณรปัญหา

    ว่าด้วยการถามปัญหากับโสปากสามเณร

    ๑. อะไรชื่อว่า หนึ่ง

    ที่ชื่อว่า หนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งปวงด ารงอยู่ได้ด้วยอาหาร๑

    ๒. อะไรชื่อว่า สอง

    ที่ชื่อว่า สอง ได้แก่ นามและรูป

    ๓. อะไรชื่อว่า สาม

    ที่ชื่อว่า สาม ได้แก่ เวทนา ๓๒

    ๔. อะไรชื่อว่า ส่ี

    ที่ชื่อว่า ส่ี ได้แก่ อริยสัจ ๔

    ๕. อะไรชื่อว่า ห้า

    ที่ชื่อว่า ห้า ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕๓

    ๖. อะไรชื่อว่า หก

    ที่ชื่อว่า หก ได้แก่ อายตนะภายใน ๖๔

    ๗. อะไรชื่อว่า เจ็ด

    ที่ชื่อว่า เจ็ด ได้แก่ โพชฌงค์ ๗

    เชิงอรรถ :

    ๑ อาหาร หมายถึงปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ด ารงชีพอยู่ได้ ได้แก่ อาหาร ๔ คือ (๑) กวฬิงการาหาร

    (อาหารคือค าข้าว) (๒) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (๓) มโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา)

    (๔) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ยกเว้นอสัญญีสัตตพรหม ซึ่งมีฌานเป็นอาหาร (ขุ.ขุ.อ. ๔/๖๕,

    องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๗/๓๓๖) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๓/๑๙๑,๓๑๑/๒๐๓, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๗/๖๒, ขุ.ป. (แปล)

    ๓๑/๒๐๘/๓๔๕, ม.มู. (แปล) ๑๒/๙๐/๘๔

    ๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๔, ส .สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๐/๓๐๓

    ๓ ดู ส .ข. (แปล) ๑๗/๔๘/๖๖-๖๗, อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๑/๑-๒

    ๔ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๕ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๕. มงคลสูตร

    ๘. อะไรชื่อว่า แปด

    ที่ชื่อว่า แปด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘

    ๙. อะไรชื่อว่า เก้า

    ที่ชื่อว่า เก้า ได้แก่ สัตตาวาส ๙๑

    ๑๐. อะไรชื่อว่า สิบ

    ที่ชื่อว่า สิบ ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐๒ เรียกว่า พระอรหันต ์

    สามเณรปัญหา จบ

    ๕. มงคลสูตร

    ว่าด้วยมงคล

    [๑] ข้าพเจ้า๓ได้สดับมาอย่างน้ี

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-

    บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งน้ัน เมื่อราตรีผ่านไป๔ เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ

    งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

    ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร๕ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

    เชิงอรรถ :

    ๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๑/๒๓๒, ๓๕๙/๒๗๒

    ๒ องค์คุณ ๑๐ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สมัมาอาชีวะ

    (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณะ (๑๐) สัมมาวิมุตติ (ขุ.ขุ.อ. ๔/๗๗)

    ๓ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์

    ๔ ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม(ยามแรก) ก าหนดเวลา ๔ ชั่วโมงตั้งแต่เวลา ๑๘ นาฬิกาถึง ๒๒

    นาฬิกาแห่งราตรีที่ผ่านไป ก าลังอยู่ในช่วงมัชฌิยาม(ยามกลาง) คือก าลังอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ ๒๒ นาฬิกา

    ถึง ๒ นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘, ขุ.ขุ.อ. ๕/๙๙)

    ๕ ที่สมควร (เอกมนฺต ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป

    (๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๓๑๘)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๖ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๕. มงคลสูตร

    [๒] เทวดาและมนุษย์จ านวนมาก

    ต่างมุ่งหวังความสวัสดี ร่วมกันคิดถึงเรื่องมงคล

    ขอพระองคต์รัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด

    (พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบดังน้ี)

    [๓] (๑) การไม่คบคนพาล (๒) การคบแต่บัณฑิต

    (๓) การบูชาคนที่ควรบูชา

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๔] (๔) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

    (๕) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน (๖) การตั้งตนไว้ชอบ

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๕] (๗) ความเป็นพหูสูต (๘) ความเป็นผู้มีศิลปะ

    (๙) วินัยที่ศึกษามาดี (๑๐) วาจาสุภาษิต

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๖] (๑๑) การบ ารุงมารดาบิดา (๑๒) การสงเคราะห์บุตร

    (๑๓) การสงเคราะห์ภรรยา (๑๔) การงานที่ไม่อากูล๑

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๗] (๑๕) การให้ทาน (๑๖) การประพฤติธรรม

    (๑๗) การสงเคราะห์ญาติ (๑๘) การงานที่ไม่มีโทษ

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๘] (๑๙) การงดเว้นจากบาป (๒๐) การเว้นจากการดื่มน้ าเมา

    (๒๑) ความไม่ประมาทในธรรม

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    เชิงอรรถ :

    ๑ อากูล หมายถึงการงานที่ท าคั่งค้างไว้ ที่ท าไม่เหมาะสม และที่ท าย่อหย่อนไม่สมบูรณ์แบบ (ขุ.ขุ.อ. ๕/๑๒๑)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๗ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๕. มงคลสูตร

    [๙] (๒๒) ความเคารพ (๒๓) ความถ่อมตน (๒๔) ความสันโดษ

    (๒๕) ความกตัญญู (๒๖) การฟังธรรมตามกาล

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๑๐] (๒๗) ความอดทน๑ (๒๘) ความเป็นคนว่าง่าย

    (๒๙) การพบเห็นสมณะ (๓๐) การสนทนาธรรมตามกาล

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๑๑] (๓๑) การเผาผลาญบาป (๓๒) การประพฤติพรหมจรรย์๒

    (๓๓) การเห็นอริยสัจ (๓๔) การท านิพพานให้แจ้ง

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๑๒] (๓๕) จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หว่ันไหว

    (๓๖) จิตไม่เศร้าโศก (๓๗) จิตปราศจากธุลี (๓๘) จิตเกษม

    นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    [๑๓] เทวดาและมนุษย์ท ามงคลดังกล่าวมานี้แล้ว

    ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทกุสถาน

    ทั้ง ๓๘ ประการนั้น เป็นมงคลอันสูงสดุ

    ของเทวดาและมนุษย์เหล่าน้ัน

    มงคลสูตร จบ

    เชิงอรรถ :

    ๑ ความอดทน ในที่นี้หมายถึงอธวิาสนขันติ (ขันติคือความอดกลั้น) ได้แก่ ความอดกลั้นต่อค าด่าต่าง ๆ

    อดกลั้นต่อการถูกเบียดเบียน ตลอดถึงอดกลั้นต่อทกุขเวทนา เช่น ความหนาว ความร้อน เป็นต้น ยกตน

    อยู่เหนือทุกข์ต่าง ๆ ด ารงตนอยู่ได้อย่างไม่หว่ันไหว (ขุ.ขุ.อ. ๕/๑๒๙)

    ๒ พรหมจรรย์ เป็นชื่อของ (๑) เมถุนวิรัติ (ดู ที.สี. (แปล) ๙/๘/๓, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๙๒/๓๒๓)

    (๒)สมณธรรม (ดู ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๕๗/๒๑๗) (๓)ศาสนา (ดู ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๘/๑๑๓) (๔)มรรค

    (ดู ส .ม. (แปล) ๑๙/๖/๙) (ขุ.ขุ.อ. ๕/๑๓๓)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๘ }

  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๖. รตนสูตร

    ๖. รตนสูตร๑

    ว่าด้วยรตนะอันประณีต

    (พระผู้มีพระภาคตรัสรตนสูตรดังน้ี)

    [๑] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น๒

    หรือผู้สิงสถติอยู่ในอากาศ๓ ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้

    ขอให้ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี และจงฟังภาษิตโดยเคารพเถิด

    [๒] เพราะฉะนั้นแล ภูตทั้งปวง ท่านจงใคร่ครวญ

    จงแผ่เมตตาต่อหมู่มนุษยด์้วยเถิด

    มนุษย์เหล่าใดน าเครื่องเซ่นสรวงมาให้

    ทั้งกลางวันและกลางคืน

    เพราะเหตุนั้น ขอท่านทั้งหลายอย่าประมาท

    จงรักษามนุษย์เหล่าน้ัน

    [๓] ทรัพย์เครือ่งปลื้มใจ หรือรตันชาติที่ประณีต๔ใด ๆ

    ที่มีในโลกนี้ ในโลกอื่น หรือในสวรรค์

    ทรัพย์หรือรตันชาตินั้น ๆ ที่เสมอด้วยตถาคต ไม่มี

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    เชิงอรรถ :

    ๑ ดู สุตตนิบาตข้อ ๒๒๔-๒๔๑ หน้า ๕๒๙ ในเล่มนี้

    ๒ ค าว่า ภูต มีความหมายหลายนัย คือ นัยที่ ๑ มีความหมายเชิงกริยาว่า “มีแล้ว” (หรือ “เกิดแล้ว” ดู วิ.มหา.

    (แปล) ๒/๑๕๓/๓๒๗) นัยที่ ๒ หมายถึงขันธ์ ๕ (ดู ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๐๑/๔๓๒) นัยที่ ๓ หมายถึงธาตุ ๔

    มีปฐวีธาตุ เป็นต้น (ดู ม.อุ. ๑๔/๘๖/๖๘) นัยที่ ๔ หมายถึงพระขีณาสพ (ดู ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๙๐/๑๑๖)

    นัยที่ ๕ หมายถึง สรรพสัตว์ (ดู ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๒๐/๑๖๗) นัยที่ ๖ หมายถึงรุกขชาติต่าง ๆ (ดู วิ.มหา.

    (แปล) ๒/๙๐/๑๑๖) นัยที่ ๗ หมายถึงหมู่สัตว์นับแต่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลงมา (ดู ม.มู. (แปล) ๑๒/๓/๕)

    ในที่นี้หมายถึงอมนุษย์ที่มีศักดิ์น้อย หรืออมนุษย์ที่มีศักดิ์มาก และค าว่า ผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น หมายถึง

    ภุมมเทวดาคือเทวดาที่บังเกิดบนพื้นดิน ต้นไม้ และภูเขา เป็นต้น (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๔๕)

    ๓ ผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ หมายถึงเทวดาที่บังเกิดในวิมานในอากาศตั้งแต่สวรรค์ชั้นยามาจนถึงพรหมโลก

    ชั้นอกนิษฐา (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๔๕)

    ๔ ประณีต ในที่นี้หมายถึงสูงสุด ประเสริฐสุด (ขุ.ข.ุอ. ๖/๑๔๙)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๙ }

  • ๑๐

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๖. รตนสูตร

    [๔] พระศากยมุนีผู้มีพระทัยตัง้มั่น

    ทรงบรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลส

    ปราศจากราคะ เป็นอมตธรรมอันประณีต

    ไม่มีธรรมใด ๆ ที่เสมอด้วยธรรมนั้น

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๕] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

    ตรัสสรรเสริญสมาธิ๑ใดว่าเป็นธรรมสะอาด

    ตรัสถึงสมาธิใดว่าให้ผลโดยล าดับ

    สมาธิอื่น๒ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ไม่มี

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๖] บุคคล ๑๐๘ จ าพวก๓ที่สตับุรุษสรรเสริญ

    ซึ่งจัดเป็นบุคคล ๔ คู่ เป็นสาวกของพระสุคต

    เชิงอรรถ :

    ๑ สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอริยสัมมาสมาธิ (ม.อุ. ๑๔/๑๓๖/๑๒๑) ที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิ (สมาธิที่ให้ผล

    โดยล าดับ) เพราะเป็นสมาธิที่ให้ผลแน่นนอนตามล าดับ สามารถถอนกิเลสได้สิ้นเชิง (ข.ุขุ.อ. ๖/๑๕๘)

    ๒ สมาธิอ่ืน หมายถึงรูปาวจรสมาธิและอรูปาวจรสมาธิ (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๕๙)

    ๓ บุคคล ๑๐๘ จ าพวก ได้แก่ พระโสดาบัน ๓ จ าพวก คือ (๑) เอกพีชี (๒) โกลังโกละ (๓) สัตตักขัตตุปรมะ

    พระสกทาคามี ๓ จ าพวก คือ (๑) ผู้บรรลุผลในกามภพ (๒) ผู้บรรลุผลในรูปภพ (๓) ผู้บรรลุผลในอรูปภพ

    รวมพระโสดาบัน ๓ จ าพวก และพระสกทาคามี ๓ จ าพวก นับโดยปฏิปทา ๔ ประการ จึงได้บุคคล ๒๔

    จ าพวก (๖ x ๔ = ๒๔) รวมกับพระอนาคามี ๔ ชั้น คือ ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสส ี

    อีกชั้นละ ๕ จ าพวก (๔ x ๕ = ๒๐) และพระอนาคามีชั้นอกนิษฐคามีอีก ๔ จ าพวก (๒๐ + ๔ = ๒๔) เป็น

    บุคคล ๔๘ จ าพวก (๒๔ + ๒๔ = ๔๘) รวมกับพระอรหันต์ ๒ จ าพวก คือ (๑) สุขวิปัสสก (๒) สมถยานิก

    เป็นบุคคล ๕๐ จ าพวก (๔๘ + ๒ = ๕๐) รวมกับพระอริยบุคคลผู้ด ารงอยู่ในมรรคอีก ๔ จ าพวก เป็น

    บุคคล ๕๔ จ าพวก (๕๐ + ๔ = ๕๔)

    บุคคลเหล่านี้มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสัทธาธุระ ๕๔ จ าพวก และฝ่ายปัญญาธุระ ๕๔ จ าพวก จึงเป็น

    พระอริยบุคคล ๑๐๘ จ าพวก (๕๔ + ๕๔ = ๑๐๘) (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๕๙-๑๖๐) นี้คือนัยโดยพิสดาร

    ส่วนนัยโดยย่อ ได้แก่ บุคคล ๘ จ าพวก คือ (๑) พระโสดาบัน (๒) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อท าให้แจ้ง

    โสดาปัตติผล (๓) พระสกทาคามี (๔) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อท าให้แจ้งสกทาคามิผล (๕) พระอนาคามี

    (๖) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อท าให้แจ้งอนาคามิผล (๗) พระอรหันต์ (๘) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อท าให้แจ้งอรหัตตผล

    (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๐)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๐ }

  • ๑๑

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๖. รตนสูตร

    เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา

    ทานที่เขาถวายในบุคคลเหล่านั้น มีผลมาก

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๗] บุคคลเหล่าใดในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า

    เป็นผู้ประกอบตนไว้ดี มีใจมั่นคง หมดความห่วงใย

    บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าบรรลอุรหัตตผล

    หยั่งถึงอมตนิพพาน รับรสความดับสนิทแบบได้เปลา่๑

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๘] สัตบุรุษใดพิจารณาเห็นแจ้งอริยสัจ

    เราเรียกสัตบุรุษนั้นว่า มีอุปมาเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังลงดิน

    อันไม่หว่ันไหวเพราะลมที่พัดมาจากทศิทั้งสี่

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๙] พระโสดาบันเหล่าใดรู้แจ้งอริยสัจ

    ที่พระศาสดาผู้มีปัญญาลึกซึ้งแสดงแล้ว

    ถึงแม้ว่าพระโสดาบันเหล่านั้นจะประมาทไปบ้าง

    เชิงอรรถ :

    ๑ แบบได้เปล่า หมายถึงได้โดยไม่ต้องจ่ายแม้แต่กากณึกเดียว (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๑) กากณึก เป็นมาตราเงิน

    อย่างต่ าที่สุด (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๑ }

  • ๑๒

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๖. รตนสูตร

    ท่านเหล่านั้นก็จะไม่ถือก าเนิดในภพที่ ๘๑

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๑๐] พระโสดาบันน้ันละธรรม ๓ ประการ คือ

    สักกายทิฏฐิ วิจกิิจฉา และสีลัพพตปรามาส

    พร้อมกับการบรรลุโสดาปตัติมรรคได้แล้ว

    แม้จะมีกิเลสบางอย่างเหลืออยู่๒

    [๑๑] พระโสดาบันน้ันพ้นแล้วจากอบายทั้งสี่๓

    และจะไม่ท าอภฐิาน ๖๔

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๑๒] ถึงแม้ว่า พระโสดาบันน้ันจะท าบาปกรรม๕

    ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจไปบ้าง

    ท่านก็ไม่ปกปิดบาปกรรมนั้นไว้

    เรากล่าวว่าผู้เห็นบท๖แล้ว ไม่อาจท าอย่างน้ันได้

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    เชิงอรรถ :

    ๑ ไม่ถือก าเนิดในภพที่ ๘ หมายถึงไม่เกิดในภพที่ ๘ เพราะท่านเหล่านั้นละสังโยชน์ ๓ ประการ (สักกายทิฏฐิ

    วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้แล้ว และจะเวียนเกิดเวียนตายในเทวโลกและมนุษยโลกอย่างมากไม่เกิน

    ๗ คร้ัง แล้วบรรลุอรหัตตผล เพราะนามรูปดับไปในภพที่ ๗ นั่นเอง (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๓-๑๖๔)

    ๒ อภิ.ก. ๓๗/๒๗๘/๑๐๓

    ๓ อบายทั้งสี่ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ นรก ก าเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย

    (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๕)

    ๔ อภิฐาน ๖ หมายถึงฐานะอันหนัก ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ฆ่ามารดา (๒) ฆ่าบิดา (๓) ฆ่าพระอรหันต์

    (๔) ท าโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ (๕) ท าให้สงฆ์แตกกัน (๖) เข้ารีตศาสดาอื่น (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๖)

    ๕ บาปกรรม ในที่นี้หมายถึงการต้องอาบัติเบา เช่น ต้องอาบัติเพราะนอนร่วมกับสามเณรเป็นต้น มิได้

    หมายถึงอาบัติหนัก (ข.ุขุ.อ. ๖/๑๖๗) และดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๐/๒๓๘ ประกอบ

    ๖ บท ในที่นี้หมายถึงทางแห่งนิพพาน (ข.ุข.ุอ. ๖/๑๖๗)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๒ }

  • ๑๓

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๖. รตนสูตร

    [๑๓] พุ่มไม้งามในป่า ซึ่งมียอดออกดอกบานสะพรั่ง

    ในต้นเดือนห้าแห่งคิมหันตฤดู งามอย่างยิ่ง ฉันใด

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

    ที่ให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง ฉันน้ัน

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๑๔] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้ธรรมอันประเสริฐ

    ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงน าทางอันประเสริฐมาให้

    ทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าใคร ๆ ได้ทรงแสดงธรรมอนัประเสริฐไว้

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    [๑๕] พระขีณาสพเหล่าใดสิ้นภพเก่าแล้ว ไม่มีการเกิดใหม่

    ทั้งมีจิตเบื่อหน่ายในภพทีจ่ะเกิดต่อไป

    ท่านเหล่านั้นชื่อว่า มีพืช๑สิ้นแล้ว ไม่มีฉันทะงอกขึ้น เป็นปราชญ์

    ย่อมดับสนทิเหมือนประทปีดวงน้ีดับไป

    นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

    ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

    (ท้าวสักกะจอมเทพกราบทูลเป็นคาถา ดังนี้ )

    [๑๖] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น

    หรือผู้สิงสถติอยู่ในอากาศ ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้

    เชิงอรรถ :

    ๑ พืช ในที่นี้หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ (ขุ.ข.ุอ. ๖/๑๗๑) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๗/๓๐๐ ประกอบ

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๓ }

  • ๑๔

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๖. รตนสูตร

    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระตถาคต๑พทุธเจ้า

    ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอให้มีความสวัสดี

    [๑๗] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น

    หรือผู้สิงสถติอยู่ในอากาศ ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้

    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระธรรมของพระตถาคต

    ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอให้มีความสวัสดี

    [๑๘] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น

    หรือผู้สิงสถติอยู่ในอากาศ ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้

    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระสงฆ์ของพระตถาคต

    ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอให้มีความสวัสดี

    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังน้ี)

    ถ้าเห็นว่าจะได้สุขอันยิ่งใหญ่

    ด้วยการเสียสละสุขอันเลก็น้อย

    นักปราชญ์พึงเสียสละสุขอันเล็กน้อย

    เพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่๒

    รตนสูตร จบ

    เชิงอรรถ :

    ๑ ตถาคต แปลว่า ไปอย่างนั้นหรือมาอย่างนั้น มีความหมายหลายนัย เช่น ไปหรือมาอย่างบุคคลผู้

    ขวนขวายเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก ไปหรือมาด้วยการเพิกถอนกิเสสได้ด้วยก าลังแห่งสมถะและวิปัสสนา

    ไปหรือมาด้วยการก าจัดทุกข์ทั้งปวงได้ ไปหรือมาด้วยการปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ในที่นี้ใช้เป็น

    ค าแสดงคุณลักษณะของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าไปอย่างนั้นหรือมาอย่างนั้น (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๗๒)

    ๒ สุขอันยิ่งใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความสุขอันโอฬารคือพระนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๘๗) ดู ขุ.ธ. แปลในเล่มนี้

    ข้อ ๒๙๐ หน้า ๑๒๓

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๔ }

  • ๑๕

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๗. ติโรกุฑฑสูตร

    ๗. ติโรกุฑฑสูตร๑

    ว่าด้วยเร่ืองเปรตที่อยู่ภายนอกฝาเรือน๒

    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้ เพื่ออนุโมทนาพระเจ้าพิมพิสารจอมทพัมคธรัฐ

    ดังน้ี)

    [๑] พวกเปรตพากันมาสู่เรือนของตน๓

    บ้างยืนอยู่ที่ฝาเรือนด้านนอก

    บ้างยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่ง สามแพร่ง

    บ้างยืนพิงอยู่ที่บานประตู

    [๒] เมื่อมีข้าวและน้ าดื่มมากมาย

    เมื่อของเคี้ยวของกินถูกจดัเตรียมไว้แล้ว

    ญาติสักคนก็ไม่นึกถึงเปรตเหล่านั้น

    เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย

    [๓] เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมถวายอาหารและน้ าดื่ม

    ที่สะอาดประณีต เหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล

    อุทิศให้ญาติทั้งหลาย(ที่เกิดเป็นเปรต)อย่างน้ีว่า

    ขอทานน้ีจงส าเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา

    ขอญาติทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด

    [๔] ส่วนญาติที่เกิดเป็นเปรตเหล่านั้น

    พากันมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ให้ทานน้ัน

    ย่อมอนุโมทนาในอาหารและน้ าดื่มเป็นอันมากโดยเคารพว่า

    [๕] เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด พวกเราจึงได้สุขสมบัติเช่นน้ี

    ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงมีอายุยืน

    อนึ่ง การบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ไดท้ าแก่พวกเราแล้ว

    และทายกก็ไม่ไร้ผล

    เชิงอรรถ :

    ๑ พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร ณ กรุงราชคฤห์ (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๗๗)

    ๒ ดูเทียบ ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๑๔-๒๕/๑๗๐-๑๗๒, อภิ.ก. ๓๗/๔๙๐/๒๙๕

    ๓ เรือนของตน หมายถึงเรือนญาติของตน หรือเรือนที่เคยอยู่ในปางก่อน (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๑)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๕ }

  • ๑๖

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๗. ติโรกุฑฑสูตร

    [๖] ในเปตวิสัย๑นั้น ไม่มีกสิกรรม (การท าไร่ไถนา)

    ไม่มีโครักขกรรม (การเลีย้งวัวไว้ขาย)

    ไม่มีพาณิชกรรม (การค้าขาย) เช่นนั้น

    การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี

    ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น

    ด ารงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทศิให้จากมนุษยโลกนี้

    [๗] น้ าฝนที่ตกลงมาในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ทีลุ่่ม ฉันใด

    ทานที่ทายกอทุิศให้จากมนุษยโลกนี้

    ย่อมส าเร็จผลแน่นอนแกพ่วกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน

    [๘] ห้วงน้ าที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด

    ทานที่ทายกอทุิศให้จากมนุษยโลกนี้

    ย่อมส าเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน

    [๙] กุลบุตรเมือ่ระลกึถึงอุปการะ

    ที่ญาติผู้ละไปแล้ว(เปรต)เคยท าไว้ในกาลก่อนว่า

    ‘ผู้น้ันได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ท าสิ่งนี้แก่เรา

    ได้เป็นญาติ มิตร และสหายของเรา’

    ก็ควรถวายทักษิณาทานอุทิศให้แก่ญาติผู้ละไปแล้ว

    [๑๐] การร้องไห้ ความเศร้าโศก

    หรือความร่ าไห้คร่ าครวญอย่างอื่นใด

    ใคร ๆ ไม่ควรท าเลย เพราะการร้องไห้ เป็นต้นน้ัน

    ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว

    ญาติทั้งหลายก็ยังคงสภาพอยู่อย่างน้ัน

    เชิงอรรถ :

    ๑ เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือก าเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๘)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๖ }

  • ๑๗

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๘. นิธิกัณฑสูตร

    [๑๑] ส่วนทักษิณาทานน้ีแล ที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์

    ย่อมส าเร็จประโยชน์เกือ้กลูสิ้นกาลนาน

    แก่หมู่ญาติที่เกิดเป็นเปรตนั้น โดยพลันทีเดียว

    [๑๒] ญาติธรรม๑นี้น้ัน ท่านแสดงออกแล้ว

    การบูชาญาติที่ตายไปเป็นเปรต ท่านท าอย่างยิ่งใหญ่แล้ว

    ทั้งก าลังกายของภิกษุ ท่านก็เพิ่มให้แล้ว

    เป็นอันว่าท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อยเลย

    ติโรกุฑฑสูตร จบ

    ๘. นิธิกัณฑสูตร

    ว่าด้วยการฝังขุมทรัพย์

    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่กุฎุมพีคนหน่ึงในกรุงสาวัตถี ดังนี้)

    [๑] คนเราฝังขุมทรัพย์๒ไว้ในที่ลึกจดถึงน้ าก็ด้วยคิดว่า

    เมื่อเกิดกิจทีจ่ าเป็นขึ้น ขุมทรัพย์นี้จะเป็นประโยชนแ์ก่เรา

    [๒] คนเราฝังขุมทรัพย์ไว้ในโลก ก็เพือ่จุดประสงค์นี้ คอื

    เพื่อให้พ้นจากราชภัยที่คอยคกุคาม

    เพื่อให้พ้นจากโจรภัยทีค่อยเบียดเบียน

    เพื่อเก็บไว้ใช้หนี้ก็มี เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเกิดทุพภิกขภัย๓

    หรือเพื่อใช้ในเวลามีภัยอันตรายต่าง ๆ

    เชิงอรรถ :

    ๑ ญาติธรรม หมายถึงกิจคือการสงเคราะห์ต่อกันที่ญาติจะพึงกระท าต่อกัน (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๙๐)

    ๒ ขุมทรัพย์ มี ๔ ชนิด คือ (๑) ถาวระ คือขุมทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน ที่นา ที่สวน เงินและทอง (๒) ชังคมะ

    คือขุมทรัพย์ที่เคล่ือนที่ได้ เช่น ทาสชาย ทาสหญิง ช้าง ม้า โค กระบือ แกะ ไก่ สุกร เป็นต้น (๓) องัคสมะ

    คือขุมทรัพย์ติดตัว เช่น วิชาความรู้ ศิลปวิทยา เป็นต้น (๔) อนุคามิกะ คือขุมทรัพย์ตามตัวทางคุณธรรม

    ได้แก่ บุญกุศล ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงขุมทรัพย์ถาวร (ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๓)

    ๓ ทุพภิกขภัย หมายถึงภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง หรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง (ขุ.ขุ.อ.

    ๘/๑๙๔)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๗ }

  • ๑๘

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๘. นิธิกัณฑสูตร

    [๓] ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้อย่างดีในที่ลึกจดน้ าถึงเพียงน้ัน

    จะส าเร็จประโยชน์แก่เขาไปทั้งหมด ตลอดเวลาก็หาไม่

    [๔] เพราะบางทีขุมทรัพย์ก็เคลื่อนที่ไปกม็ ี

    บางทีเขาลืมที่ฝังไว้ก็มี

    บางทีพวกนาคเคลื่อนย้ายก็มี

    บางทีพวกยักษ์น าขุมทรัพย์นั้นไปก็มี

    [๕] หรือบางทีเมื่อเขาไม่เห็นทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขโมยขุดเอาไปก็มี

    เมื่อเขาสิ้นบุญ ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ทั้งหมดนั้นก็พินาศหายไป

    [๖] ขุมทรัพย์๑ที่ผู้ใดจะเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม

    ฝังไว้ดีแล้ว ด้วยทาน ศีล สัญญมะ และทมะ๒

    [๗] ในพระเจดีย์ พระสงฆ์ บุคคล แขกที่มาหา

    ในมารดา บิดา หรือพี่ชาย

    [๘] ขุมทรัพย์นี้ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว คนอื่นขนเอาไปไม่ได้

    จะติดตามคนฝังตลอดไป

    บรรดาทรัพย์สมบตัิที่เขาจ าต้องละไป

    เขาพาไปได้เฉพาะขุมทรัพย์นี้เท่านั้น

    [๙] ขุมทรัพย์นี้ไม่ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น ทั้งโจรก็ลักเอาไปไม่ได้

    ผู้มีปัญญาควรท าแต่บุญที่จะเป็นขุมทรัพย์ตดิตามตนตลอดไป

    [๑๐] ขุมทรัพย์นี้ให้ผลอันน่าปรารถนาทุกประการ

    แก่เทวดา และมนุษย์ คือเทวดาและมนุษย์ปรารถนาผลใด ๆ

    ผลนั้น ๆ ทุกอย่าง จะได้ดว้ยขุมทรัพย์นี้

    เชิงอรรถ :

    ๑ ขุมทรัพย์ ในที่นี้หมายถึงขุมทรัพย์ชนิดอนุคามิกะ (ดูเชิงอรรถหน้า ๑๗ ประกอบ) (ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๖)

    ๒ สัญญมะ หมายถึงการห้ามจิตมิให้ตกไปในอารมณ์ต่าง ๆ ค านี้เป็นชื่อของสมาธิและอินทรียสังวร ทมะ

    หมายถึงการฝึกตน ได้แก่ การเข้าไประงับกิเลส ค านี้เป็นชื่อของปัญญา (ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๗)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๘ }

  • ๑๙

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๘. นิธิกัณฑสูตร

    [๑๑] ความมีผิวพรรณงดงาม ความมีเสียงไพเราะ

    ความมีทรวดทรงสมส่วน ความมีรูปสวย

    ความเป็นใหญ่ ความมีบริวาร ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้

    [๑๒] ความเป็นพระราชาในประเทศ ความเป็นอิสระ๑

    ความสุขของความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอันน่าพอใจ

    และแม้ความเป็นเทวราชของเทวดาในหมู่เทพ

    ทั้งหมดกจ็ะไดด้้วยขุมทรัพย์นี้

    [๑๓] สมบัติของมนุษย์ก็ดี ความยินดีในเทวโลกก็ดี

    สมบัติคอืนิพพานก็ดี ทั้งหมดจะไดด้้วยขุมทรัพย์นี้

    [๑๔] บุคคลอาศัยมิตตสัมปทา๒

    ประกอบความเพียรโดยแยบคาย

    ก็จะเป็นผู้ช านาญในวิชชาและวิมุตติ

    ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้

    [๑๕] ปฏิสัมภิทา๓ วิโมกข์๔ สาวกบารมี๕

    ปัจเจกโพธิ๖ และพุทธภูมิ๗

    ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้

    เชิงอรรถ :

    ๑ ความเป็นอิสระ หมายถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๓)

    ๒ มิตตสัมปทา หมายถึงความเพรียบพร้อมด้วยมิตรที่มีคุณความดี เช่น พระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารี

    ผู้ด ารงตนน่าเคารพ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๕)

    ๓ ปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาแตกฉานมี ๔ ประการ คือ (๑) อัตถปฏิสัมภทิา ปัญญาแตกฉานในอรรถ

    (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา

    (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖)

    ๔ วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖)

    ๕ สาวกบารมี หมายถึงบารมีที่ให้ส าเร็จเป็นพระสาวก (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖)

    ๖ ปัจเจกโพธิ หมายถึงบารมีที่ให้ส าเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ได้เอง (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖)

    ๗ พุทธภูมิ หมายถึงบารมีที่ให้ส าเร็จเป็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๙ }

  • ๒๐

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๙. เมตตสูตร

    [๑๖] บุญสัมปทา๑นี้มีประโยชน์มากอย่างน้ี

    เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นปราชญ์

    จึงสรรเสริญภาวะแห่งบุญที่ท าไว้แล้ว

    นิธิกัณฑสูตร จบ

    ๙. เมตตสูตร

    ว่าด้วยการแผ่เมตตา

    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า ดังน้ี)

    [๑] ผู้ฉลาดในประโยชน์มุ่งหวังบรรลุสันตบท๒

    ควรบ าเพ็ญกรณียกิจ๓ควรเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง

    เคร่งครัด ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง

    [๒] ควรเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย๔

    มีความประพฤติเบา๕ มีอนิทรีย์สงบ มีปัญญารักษาตน

    ไม่คะนอง๖ ไม่ยดึติดในตระกูลทั้งหลาย

    เชิงอรรถ :

    ๑ บุญสัมปทา หมายถึงความถึงพร้อมแห่งบุญ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖)

    ๒ สันตบท หมายถึงนิพพาน (ข.ุข.ุอ. ๙/๒๑๒)

    ๓ กรณียกิจ หมายถึงการศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตรงกันข้ามกับ อกรณียกิจ คือ สีลวิบัติ

    ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ อาชีววิบัติ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๒)

    ๔ มีกิจน้อย ในที่นี้หมายถึงไม่ขวนขวายการงานต่าง ๆ ที่จะท าให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่พูดคุยเพ้อเจ้อ ไม่คลุกคลี

    หมู่คณะ ปล่อยวางหน้าที่รับผิดชอบงานก่อสร้าง งานบริหารคณะสงฆ์ เป็นต้น มุ่งบ าเพ็ญสมณธรรมเป็น

    หลัก (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๖)

    ๕ มีความประพฤติเบา ในที่นี้หมายถึงมีเพียงบริขาร ๘ เช่น บาตร จีวร เป็นต้น ไม่สะสมสิ่งของมากให้เป็น

    ภาระ เหมือนนกมีเพียงปีกบินไปฉะนั้น (ขุ.ข.ุอ. ๙/๒๑๖)

    ๖ ไม่คะนอง หมายถึงไม่คะนองกาย วาจา และใจ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๗)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๐ }

  • ๒๑

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๙. เมตตสูตร

    [๓] อนึ่ง ไม่ควรประพฤตคิวามเสียหายใด ๆ

    ที่จะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นต าหนิเอาได้

    (ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างน้ีว่า)

    ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุข

    มีความเกษม มีตนเป็นสุขเถิด

    [๔] คือ เหล่าสัตว์ที่ยังเป็นผู้หวาดสะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง๑

    ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด

    เหล่าสัตว์ที่มีขนาดกายยาว ขนาดกายใหญ่ ขนาดกายปานกลาง

    ขนาดกายเตี้ย ขนาดกายผอม หรือขนาดกายอ้วน

    ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด

    [๕] เหล่าสัตว์ที่เคยเห็นก็ดี เหล่าสัตว์ที่ไม่เคยเห็นก็ดี

    เหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้และอยูไ่กลกด็ี ภูตหรือสัมภเวสี๒ก็ด ี

    ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด

    [๖] ไม่ควรข่มเหง ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส

    ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กนัและกัน

    เพราะความโกรธและความแค้น

    เชิงอรรถ :

    ๑ หวาดสะดุง้ หมายถึงมีตัณหาและความกลัวภัย ม่ันคง หมายถึงบรรลุอรหัตตผล เพราะละตัณหาและ

    ความกลัวภัยได้ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๐)

    ๒ ในที่นี้ ภูต หมายถึงพระอรหันตขีณาสพ สัมภเวสี หมายถึงพระเสขะและปุถุชนผู้ยังต้องแสวงหาที่เกิด

    ต่อไป เพราะยังละภวสังโยชน์ไม่ได้

    อีกนัยหนึ่ง ในก าเนิด ๔ สัตว์ที่เกิดในไข่และเกิดในครรภ์ ถ้ายังไม่เจาะเปลือกไข่หรือคลอดจากครรภ์

    ออกมา ยังเรียกว่า สัมภเวสี ต่อเมื่อเจาะเปลือกไข่หรือคลอดออกมา เรียกว่า ภูต, พวกสังเสทชะ (เกดิที่

    ชื้นแฉะ) และพวกโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น) ในขณะจิตแรก ก็เรียกว่า สัมภเวสี ตั้งแต่ขณะจิตที่ ๒ เป็นต้นไป

    เรียกว่า ภูต (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๑)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๑ }

  • ๒๒

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๙. เมตตสูตร

    [๗] ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไมม่ีประมาณไปยังสรรพสัตว์

    ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต ฉะน้ัน

    [๘] อนึ่ง ควรแผ่เมตตาจิตอยา่งไม่มีประมาณ

    กว้างขวาง ไม่มีเวร ไม่มีศัตรูไปยังสัตว์โลกทั่วทั้งหมด

    ทั้งชั้นบน๑ ชั้นล่าง๒ และชั้นกลาง๓

    [๙] ผู้แผ่เมตตาจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน

    ควรตั้งสติ๔นี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังไม่ง่วง

    นักปราชญ์เรียกการอยู่ด้วยเมตตานี้ว่า พรหมวิหาร

    [๑๐] อนึ่ง ผู้แผ่เมตตาที่ไม่ยึดถอืทิฏฐิ๕

    มีศีล ถึงพรอ้มด้วยทัสสนะ๖

    ก าจัดความยินดีในกามคณุได้แล้ว

    ก็จะไม่เกดิในครรภ์อกีตอ่ไป

    เมตตสูตร จบ

    ขุททกปาฐะ จบ

    เชิงอรรถ :

    ๑ ชั้นบน หมายถึงอรูปภพ (ข.ุขุ.อ. ๙/๒๒๓)

    ๒ ชั้นล่าง หมายถึงกามภพ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๓)

    ๓ ชั้นกลาง หมายถึงรูปภพ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๓)

    ๔ สติ หมายถึงเมตตาฌานัสสติ คือสติที่ประกอบด้วยเมตตาฌาน (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๔)

    ๕ ทิฏฐิ หมายถึงทิฏฐิที่ว่า “กองแห่งสังขารล้วน ๆ จัดเป็นสัตว์ไม่ได้” (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๕) และดู ส .ส. (แปล)

    ๑๕/๑๗๑/๒๒๘

    ๖ ทัสสนะ หมายถึงโสดาปัตติมัคคสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค

    อันเป็นเหตุให้ไปเกิดในชั้นสุทธาวาส แล้วบรรลุอรหัตตผลในที่นั้น ไม่กลับมาเกิดในครรภ์อีกต่อไป (ขุ.ขุ.อ.

    ๙/๒๒๕)

    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๒ }

  • ๒๓

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนกิาย ขุททกปาฐะ ๑. ยมกวรรค ๑. จักขุปาลเถรวัตถุ

    พระสุตตันตปิฎก

    ขุททกนิกาย ธรรมบท _____________

    ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ๑. ยมกวรรค

    หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน

    ๑. จักขุปาลเถรวัตถุ

    เร่ืองพระจักขุบาลเถระ

    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังน้ี)

    [๑] ธรรมทั้งหลาย๑ มีใจ๒เป็นหัวหน้า๓

    มีใจเป็นใหญ่ ส าเร็จด้วยใจ

    ถ้าคนมีใจชั่ว ก็จะพดูชั่วหรือท าชั่วตามไปด้วย

    เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตดิตามเขาไป

    เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น

    เชิงอรรถ :

    ๑ ธรรมทั้งหลาย มีความหมาย ๔ ประการ คือ (๑) คุณธรรม (๒) เทศนาธรรม (๓) ปริยัติธรรม

    (๔) นิสสัตตธรรม (สภาวะที่มิใชส่ัตว์) หรือนิชชีวธรรม (สภาวะที่มิใช่ชีวะ) ในที่นี้หมายถึงนิสสัตตธรรม

    ได้แก่ �