282
การจัดการการเงิน การลงทุน การศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ 5

การจัดการการเงิน การลงทุน การศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ · affecting consumer

  • Upload
    others

  • View
    16

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • การจัดการการเงิน การลงทุน

    การศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ

    5

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601155

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    2017

    พฤติกรรมการบริโภคผักพื้นบ้านของผู้บริโภคในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น CONSUMPTION BEHAVIORS OF LOCAL VEGETABLE PRODUCTS IN MUEANG

    KHON KAEN DISTRICT, KHON KAEN PROVINCE

    กนกวรรณ ขันธ์เครือ 1 ปริชาติ แสงค าเฉลียง 2

    บทคัดย่อ

    การศึกษาน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภคในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน ด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคผักในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จ านวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักผักพ้ืนบ้าน มีเพียงร้อยละ 2.75 ที่ไม่รู้จักผักพ้ืนบ้าน และจากกลุ่มผู้บริโภคที่รู้จักผักพ้ืนบ้านน้ี มีร้อยละ 3.08 ที่ไม่เคยบริโภคผักพ้ืนบ้าน ทั้งน้ีเหตุผลที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกที่จะบริโภคผักพ้ืนบ้านคือ ผักพ้ืนบ้านสด สะอาด รองลงมาคือ เพ่ือสุขภาพที่ดี และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตามล าดับ เมื่อท าการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน พบว่า ลักษณะประชากรด้านสถานภาพ อาชีพ และปัญหาด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค าส าคัญ: พฤติกรรม การบริโภค และผักพ้ืนบ้าน

    Abstract The purpose of this study was study of relation of consumers' population characteristics

    affecting consumer behavior in the district Khon Kaen. This study was collect data by questionnaires from the samples By grouping as follows 400 consumer. In aspect of the consumers' behavior for local vegetables, it was found that the most of local vegetable consumers knew and consumed local vegetables, only 2.75 In the group of those who knew them there was 3.08% never consumed them. Reason of the most consumers for making their decisions to buy local vegetables was freshness. For the relationship analysis between population characteristics and behaviors of local vegetables consumption, it was found that the population characteristic in aspect of marital status, occupation and health problem was related with behaviors of local vegetables consumption with statistically significant difference at 0.05 of level. Keywords: Behavior, Consumer, Local vegetable 1 นักศึกษาปริญญาโทสาขาธุรกิจการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 E-mail : [email protected] 2 อาจารย์ประจ า ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601156

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    บทน า

    ผักพ้ืนบ้าน คือ พืชผักที่มนุษย์ใช้เป็นอาหาร และเป็นพืชที่ชาวบ้านในท้องถ่ินหาเก็บได้จากแหล่งธรรมชาติ เช่น ป่าชุมชน ทุ่งนา ริมห้วย ล าธาร หนอง หัวไร่ปลายนา มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและฤดูกาล เพ่ือใช้ในการประกอบอาหารตามวัฒนธรรมการบริโภคของท้องถ่ิน [1] นอกจากผักพ้ืนบ้านเหล่าน้ีจะเป็นเครื่องปรุงหลักของอาหารตามท้องถ่ินที่หาได้ง่ายแล้ว ผักพ้ืนบ้านยังถือเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย เช่น ยอดมะกอก ยอดจิก ยอดกระโดน ที่มีรสฝาดมีสรรพคุณแก้ท้องร่วง บ ารุงธาตุในร่างกาย สะเดา เพกา มะระข้ีนก ข้ีเหล็ก ท่ีมีรสขมมีสรรพคุณบ ารุงโลหิต ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น [2] ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยน้ัน มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ส่วนมากเป็นดินทรายและค่อนข้างแห้งแล้ง ด้วยเหตุน้ีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพ้ืนที่จึงจ าเป็นที่จะต้องปรับตามสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ ากัด ท าให้พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนส่วนใหญ่รู้จักการน าเอาผักพ้ืนบ้านที่มีอยู่ในพ้ืนที่มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านอาหารและยาสมุนไพรรักษาโรค [3] โดยมีความเหมาะสมและสอดคล้องตามฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนจะเลือกบริโภคพืชผักพ้ืนบ้านที่มีสรรพคุณผ่อนคลายความร้อน เช่น มะระข้ีนก ส้มป่อย ผักกูด ผักปลัง ต าลึง ผักหวาน ฤดูฝนเลือกบริโภคพืชผักพ้ืนบ้านที่มีสรรพคุณป้องกันความเย็นของอากาศ เช่น โหระพา ย่ีหร่า แมงลัก ผักแพว หูเสือ ขิง ข่า กระเจียว เป็นต้น และฤดูหนาวจะเลือกบริโภคพืชผักพ้ืนบ้านที่เหมาะสมในฤดูหนาวคือ ผักพ้ืนบ้านที่มีรสขม และเปรี้ยว [4]

    การบริโภคผักอย่างเพียงพอและเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี มีความแข็งแรง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ก าหนดเกณฑ์มาตรฐานให้ประชากรทั่วโลกบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณ 400 กรัมต่อวัน หรือคิดเป็นปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณ 5 หน่วยมาตรฐานต่อวัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมที่จะท าให้สามารถป้องกันโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ [5] ทั้งน้ีจากการรายงานสถานการณ์การบริโภคผักและผลไม้ของคนไทย โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ทุกกลุ่มอายุกว่าร้อยละ 75 บริโภคผักและผลไม้ต่ ากว่าปริมาณมาตรฐาน โดยในประเทศไทยมีผักและผักพ้ืนบ้านที่บริโภคได้ถึง 330 ชนิด แต่มีการน ามาบริโภคจริงเพียง 230 – 264 ชนิดเท่าน้ัน ส าหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการรายงานการส ารวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 (พ.ศ.2551 – 2552) พบว่า เด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการบริโภคผักน้อยที่สุด โดยที่เด็กในภาคใต้มีการบริโภคผักผลไม้เพียงพอมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ [6]

    จากสภาพปัญหาดังกล่าว การผลิตผักพ้ืนบ้านเพ่ือการบริโภคจึงถือเป็นอีกหน่ึงธุรกิจที่น่าสนใจ เน่ืองจากตลาดผู้บริโภคผักพ้ืนบ้านและผักอินทรีย์ (Organics) ในปัจจุบันมีแนวโน้มขยายตัวสูงข้ึน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ทั้งน้ีการบริโภคผักพ้ืนบ้านสามารถช่วยลดรายจ่ายและบ ารุงรักษาสุขภาพของผู้บริโภคได้ เน่ืองจากผักพ้ืนบ้านส่วนใหญ่จะปราศจากสารเคมีก าจัดศัตรูพืช มักเกิดเองตามธรรมชาติ จึงค่อนข้างมีความแข็งแรงทนทานต่อแมลงและโรค ดังน้ันการบริโภคผักพ้ืนบ้านจึงลดโอกาสที่ร่างกายจะสัมผัสและบริโภคสารเคมีต่างๆ ท าให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภค ด้วยเหตุน้ีจึงท าให้ผู้วิจัยเห็นความส าคัญของการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างย่ิงแก่เกษตรกรผู้ผลิตผักพ้ืนบ้าน อันจะท าให้สามารถผลิตผักพ้ืนบ้านเพ่ือตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม น ามาสู่การสร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง รวมทั้งเป็นการขยายโอกาสในการท าธุรกิจเกี่ยวกับผักพ้ืนบ้านต่อไปในอนาคต

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601157

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    2017

    วัตถุประสงค์ 1. เพ่ือศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภคในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2. เพ่ือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการบรโิภคผักพ้ืนบ้าน

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ท าให้ทราบพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภค และสามารถน าข้อมูลน้ีไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง และวางแผนการตลาด เพ่ือให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจซื้อและบริโภคผักพ้ืนบ้านเพ่ิมมากข้ึน

    2. ท าให้ทราบลักษณะประชากรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตผักพ้ืนบ้าน หรือวิสาหกิจชุมชนต่างๆ ที่สนใจ สามารถน าข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้กับธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคเพ่ือเพ่ิมมูลค่าให้กับผลผลิตได้อย่างตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค

    3. เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงคุณประโยชน์ของผักพ้ืนบ้าน โดยเฉพาะผักพ้ืนบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพ่ือเป็นทางเลือกในการผลิตและบริโภคผักพ้ืนบ้านต่อไป

    ทบทวนวรรณกรรม

    ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมของผู้บริโภค คือ พฤติกรรมหรือการกระท าที่เกิดจากการแสดงของผู้บริโภคแสดงออกมาให้เห็นซึ่ง

    อาจจะเป็นลักษณะการซื้อ ใช้ ประมวล และจ่ายเงิน โดยที่สินค้าเหล่าน้ันจะต้องสร้างพึงพอใจให้กับผู้บริโภคมากท่ีสุด [7] แบบจ าลองพฤติกรรมของผู้บริโภค แบบจ าลองพฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer Behavior Model) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของ

    ผู้บริโภค ซึ่งเป็นการหาเหตุจูงใจที่สามารถท าให้ผู้บริโภคตกลงใจเลือกซื้อสินค้า โดยเริ่มต้นจากการมีตัวกระตุ้นและท าให้ผู้บริโภคต้องการในสินค้า เมื่อตัวที่กระตุ้นผ่านเข้ามาในความรู้สึกของผู้บริโภค ความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคน้ีเปรียบได้ดังกล่องด า (Buying’s Black Box) ที่ผู้ผลิตจะคาดเดาไม่ได้ ซึ่งความรู้สึกนึกคิดที่เกิดข้ึนน้ันล้วนแต่ได้แต่ได้รับผลกระทบมาจากปัจจัยภายในของผู้บริโภค แล้วผู้บริโภคจะมีภาวะตอบสนอง (Buyer’s Response) อาจเรียกว่า การตัดสินใจของผู้บริโภค โดยจุดเริ่มต้นของโมเดลน้ี ในอันดับแรกจะเกิดจากการมีตัวกระตุ้นให้เกิดความอยากได้ จากน้ันจึงท าให้เกิดภาวะตอบสนอง จึงเรียกว่า “S - R Theory” [8]

    ทฤษฎีการตัดสินใจ การตัดสินใจ คือ การกระท าการสิ่งใดสิ่งหน่ึงจากทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม

    การตัดสินใจบริโภคของผู้บริโภค ประกอบไปด้วย 1. ปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล (Internal variables) เป็นปัจจัยที่เกิดข้ึนจากตัวบุคคล ในด้านความคิดและ

    การแสดงออก ซึ่งมีพ้ืนฐานมาจากสภาพแวดล้อมต่างๆ 2. ปัจจัยภายนอกบุคคล (External variables) เป็นปัจจัยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวบุคคลซึ่งจะมีอิทธิพล

    ต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้บริโภค [9] วิธีด าเนินงาน

    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรในการศึกษา คือ ผู้บริโภคผักในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งไม่ทราบขนาด

    ประชากรที่แน่นอน

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601158

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    1.2 กลุ่มตัวอย่าง ใช้การค านวณตามสูตรการค านวณขนาดตัวอย่างของ Taro Yamane ได้ขนาดตัวอย่างจ านวน 385 คน เพ่ือให้กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากรที่ดี และความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจึงก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 คน

    เคร่ืองมือที่ใช้ในการศึกษา การศึกษาครั้งน้ีเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่ง

    โครงสร้างแบบสอบถามออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะประชากรของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และ

    ปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภค ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภค (เคย/ไม่เคย) ชนิดผัก

    พ้ืนบ้านที่ผู้บริโภคนิยมบริโภค ความถ่ีในการบริโภค ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการบริโภคแต่ละครั้ง ผู้มีส่วนในการตัดสินใจเลือกซื้อ และเหตุผลในการบริโภค/ไม่บริโภคผักพ้ืนบ้าน

    การเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งน้ีใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือแบบตามความสะดวก เน่ืองจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน

    การศึกษาคือ ผู้บริโภคในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความหลากหลายทั้งทางด้านลักษณะประชากรและสถานที่ส าหรับหาซื้อผักพ้ืนบ้าน อีกทั้งยังท าให้สามารถเก็บข้อมูลได้ภายในระยะเวลาที่จ ากัด ทั้งน้ีผู้วิจัยได้ไปสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภคในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จ านวน 400 คน ท้ังในตลาดสดและตามพ้ืนที่ที่มีการขายผักพ้ืนบ้าน

    การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้โปรแกรมส าเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences Version.19 for

    Windows, Network License) ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีรายละเอียดดังน้ี ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะประชากรของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อ

    เดือน และปัญหาด้านสุขภาพ วิเคราะห์โดยการหาค่าต่ าสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean)

    ส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภค วิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถ่ี (Frequency) ค่าต่ าสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean)

    การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน ใช้การแจกแจงไคสแควร์ (Chi-Square test) ผลการวิจัย

    ข้อมูลลักษณะประชากร ผู้วิจัยด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคผักในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จ านวน

    400 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะประชากรของผู้บริโภคมีดังน้ี ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.75 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ

    34.25 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.50 โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุต่ าที่สุดและสูงที่สุด คือ 15 ปี และ 85 ปี ตามล าดับ และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 33.90 ปี มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 55.25 สถานภาพสมรส คิดเป็น

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601159

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    2017

    ร้อยละ 42.00 และสถานภาพหม้าย/หย่าร้าง คิดเป็นร้อยละ 2.75 ตามล าดับ ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 42.50 รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 22.25 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 13.75 ตามล าดับ ด้านอาชีพ พบว่าเป็นนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 38.25 มีอาชีพ/ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 26.50 และมีอาชีพอื่นๆ เช่น เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 11.00 ตามล าดับ มีรายได้ต่ ากว่า 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 61.50 มีรายได้ระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.50 และมีรายได้ระหว่าง 20,001 – 25,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.75 ตามล าดับ และพบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 59.25 และมีปัญหาสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 40.75

    พฤติกรรมการบริโภคผักพื้นบ้านของผู้บริโภค การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภค ท าการศึกษาพฤติกรรมการบริโภค (เคย/ไม่เคย) ชนิด

    ผักพ้ืนบ้านที่ผู้บริโภคนิยมบริโภค ความถ่ีในการบริโภค ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการบริโภคแต่ละครั้ง ผู้มีส่วนในการตัดสินใจเลือกซื้อ และเหตุผลในการบริโภค/ไม่บริโภคผักพ้ืนบ้าน ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักผักพ้ืนบ้าน มีเพียงร้อยละ 2.75 ท่ีไม่รู้จักผักพ้ืนบ้าน และจากจ านวนผู้บริโภคที่รู้จักผักพ้ืนบ้าน จ านวน 389 คน มีผู้บริโภคที่ไม่เคยบริโภคผักพ้ืนบ้าน จ านวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3.08

    พฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภคแยกตามชนิดผักพ้ืนบ้าน พบว่า ผักพ้ืนบ้านที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่นิยมบริโภคมากท่ีสุด 3 อันดับแรก คือ ผักบุ้งไทย จ านวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 19.36 รองลงมาคือ ผักกระถิน จ านวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 15.12 และสะเดา จ านวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 6.10 ตามล าดับ ทั้งน้ีอาจมีสาเหตุมาจากผักพ้ืนบ้านทั้งสามชนิดน้ี สามารถหาได้ง่ายในทุกท้องถ่ิน ไม่จ าเป็นต้องปลูกหรือดูแลเอาใจใส่มาก เจริญเติบโตได้ดีในทุกฤดูกาล และเป็นผักที่คนอีสานนิยมน ามารับประทานคู่กับน้ าพริกหรือต ามะละกอ จึงท าให้ได้รับความนิยมสูงที่สุด

    พฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภคด้านความถ่ีในการบริโภค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความถ่ีในการบริโภค 3 ครั้ง/สัปดาห์ จ านวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 25.73 รองลงมาคือ บริโภค 7 ครั้ง/สัปดาห์ จ านวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 21.22 และบริโภค 2 ครั้ง/สัปดาห์ จ านวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 16.50 ตามล าดับ

    พฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภคด้านผู้มีส่วนในการตัดสินใจในการบริโภคผักพ้ืนบ้าน พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีครอบครัวเป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จ านวน 301 คน คิดเป็นร้อยละ 79.84 รองลงมาคือ ตนเอง จ านวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 7.16 และเพ่ือน จ านวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 5.57 ตามล าดับ ทั้งน้ีอาจมีสาเหตุมาจากบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคและมีส่วนร่วมในการบริโภคด้วย ดังน้ันหากมีการเลือกซื้อผักพ้ืนบ้านมาประกอบอาหารเพ่ือการบริโภคในครอบครัว บุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวย่อมมีส่วนร่วมในการก าหนดและตัดสินใจเลือกชนิดและซื้อผักพ้ืนบ้าน

    พฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภคด้านค่าใช้จ่ายในการบริโภคผักพ้ืนบ้าน โดยเฉลี่ยในแต่ละครั้ง พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 25 บาท จ านวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 69.50 รองลงมาคือ มีค่าใช้จ่าย 25 – 50 บาท จ านวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 22.81 และมีค่าใช้จ่าย 76 – 100 บาท จ านวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 6.10 ตามล าดับทั้งน้ีอาจมีสาเหตุมาจากผักพ้ืนบ้านส่วนใหญ่ไม่จ าเป็นต้องซ้ือ สามารถหาได้ตามท้องไร่ท้องนา หรือแม้กระทั่งตามรั้วบ้าน ดังน้ันค่าใช้จ่ายในการซื้อผักพ้ืนบ้านของผู้บริโภคจึงค่อนข้างต่ า ผู้บริโภคจะพิจารณาเลือกซื้อเฉพาะผักพ้ืนบ้านที่ไม่สามารถหาได้แล้วเท่าน้ัน หรืออาจเป็นผักพ้ืนบ้านหายากจากต่างพ้ืนที่

    เหตุผลในการบริโภคผักพ้ืนบ้าน (ร้อยละเทียบตามจ านวนผู้ตอบ) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่ตัดสินใจบริโภคผักพ้ืนบ้านส่วนใหญ่ มีเหตุผลคือ ผักพื้นบ้านสด สะอาด จ านวน 367 คน คิดเป็นร้อยละ 97.35 รองลงมาคือ เพ่ือสุขภาพที่ดี จ านวน 363 คน คิดเป็นร้อยละ 96.29 และคุณค่าทางโภชนาการสูง จ านวน 357 คน คิดเป็นร้อยละ 94.69 ตามล าดับ

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601160

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    ทั้งน้ีผู้บริโภคที่ตัดสินใจไม่บริโภคผักพ้ืนบ้าน (ร้อยละเทียบตามจ านวนผู้ตอบ) ส่วนใหญ่มีเหตุผลคือ หาซื้อไม่ได้ / หาซื้อได้ยาก จ านวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 รองลงมาคือ ไม่ชอบรับประทาน จ านวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 และรสชาติไม่ดี จ านวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ตามล าดับ

    การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการบริโภคพื้นบ้าน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการบริโภคพ้ืนบ้าน โดยใช้วิธี

    ทดสอบไคสแควร์ ((χ2-test) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะประชากรของผู้บริโภค ด้านสถานภาพ อาชีพ และปัญหาด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป

    ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.75) มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี (ร้อยละ 35.50) โดยกลุ่มผู้บริโภคมีอายุต่ าท่ีสุด 15 ปี มีอายุสูงที่สุด 85 ปี มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 55.25) มีระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 42.50) เป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 38.25) มีรายได้ต่ ากว่า 15,000 บาท (ร้อยละ 61.50) และกลุ่มผู้บริโภคไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ (ร้อยละ 59.25)

    ผลการวิเคราะห์ด้านพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักและบริโภคผักพ้ืนบ้าน มีเพียงร้อยละ 2.75 ที่ไม่รู้จักผักพ้ืนบ้าน และในกลุ่มผู้บริโภคที่รู้จักผักพ้ืนบ้านน้ีมีร้อยละ 3.08 ที่ไม่เคยบริโภคผักพ้ืนบ้านเลย ทั้งน้ีเหตุผลที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกบริโภคผักพ้ืนบ้านคือ ผักพ้ืนบ้านสด สะอาด รองลงมาคือ เพ่ือสุขภาพที่ดี และคุณค่าทางโภชนาการ ตามล าดับ จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนอีสานที่มีความผูกพันกับธรรมชาติ จากสภาพภูมิศาสตร์ที่ค่อนข้างจะแห้งแล้งท าให้คนอีสานต้องพ่ึงพาอาศัยธรรมชาติ อาหารการกินต่างๆ ล้วนได้มาจากธรรมชาติที่อยู่แวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งผักพ้ืนบ้านก็ถือเป็นอาหารที่ส าคัญอีกกลุ่มหน่ึงที่ให้ทั้งสารอาหารและมีฤทธ์ิเป็นยาหรือเป็นสมุนไพรด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าการบริโภคผักพ้ืนบ้านถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถ่ินที่มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งน้ีเมื่อท าการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน พบว่า ลักษณะประชากรของผู้บริโภค ด้านสถานภาพ อาชีพ และปัญหาด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผักพ้ืนบ้าน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งน้ีอาจเป็นผลเน่ืองมาจากสถานภาพ อาชีพ และปัญหาด้านสุขภาพของผู้บริโภคมีผลต่อระดับความรู้และทัศนคติที่มีต่อผักพ้ืนบ้าน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเลือกซื้อและการบริโภคผักพ้ืนบ้าน ดังน้ันจึงท าให้ผู้บริโภคในกลุ่มน้ีมีการตัดสินใจเลือกบริโภคผักพ้ืนบ้าน

    กิตติกรรมประกาศ

    ขอขอบคุณ ดร.ปริชาติ แสงค าเฉลียง ซึ่งได้ให้ค าแนะน าในทุกข้ันตอนในท าการศึกษารายวิชาการศึกษาอิสระ การวางแผนการศึกษา การออกแบบกระบวนการศึกษาเพ่ือให้ได้ค าตอบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านในหลักสูตรธุรกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    ขอขอบคุณ คุณแม่ สมาชิกในครอบครัว และเพ่ือน ที่คอยสนับสนุนก าลังทรัพย์ คอยให้ก าลังใจและความช่วยเหลือในทุกๆด้าน แก่ผู้วิจัยตลอดมา

    และขอขอบคุณผู้บริโภคทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่าในการให้ข้อมูลแก่ผู้วิจัย

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601161

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    2017

    เอกสารอ้างอิง [1] รุจินาถ อรรถสิษฐ์ และคณะ. (2540). ผักพื้นบ้าน : ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย. กรุงเทพฯ :

    ส านักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [2] ชิดชนก. (2548). ผักพื้นบ้านไทย สมุนไพรต้านโรค. กรุงเทพฯ : ไพลินบุ๊คเน็ต. [3] ฉันทนา เวชโอสถศักดา. (2556). การรวบรวมสารสนเทศช่ือผักพื้นบ้านในชุมชนบ้านดอนดู่ ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม. สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัย

    มหาสารคาม. [4] ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง. (2553). วัฒนธรรมการบริโภคของชาวอสีาน. คนเมื่อ 11 มิถุนายน 2559, จาก

    https://sites.google.com/site/thrayprakay/home [5] รุจินาถ อรรถสิษฐ์. (2554). ผักพื้นบ้านและอาหารพืน้บ้าน มิติสุขภาพและเศรษฐกิจชุมชน.นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชน

    สหกรณ์การเกษตรแหง่ประเทศไทย จ ากัด. [6] ชนิพรรณ บุตรย่ี. (2557). การเพิ่มการบริโภคพืช ผกั ผลไม้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผา่นศึกใน

    พระบรมราชูปถัมภ์. [7] ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. [8] ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จ ากัด. [9] Walters C. Glenn. (1978). Consumer Behavior : Theory and Practice. 3 rd. ed. Homewood

    Illonois: Richard D.Irwin, Inc.

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601162

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกจิร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ ในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรนิทร์

    THE FEASIBILITY STUDY OF NOODLE RESTAURANT INVESTMENT IN NAI MUANG SUB-DISTRICT, MUANG DISTRICT, SURIN PROVICE

    กฤษฏ์ มีศิริ 1 สิลดา อินทรโสธรฉันท์ 2

    บทคัดย่อ การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน ทั้งในด้านความต้องการด้านการตลาด ด้านการบริหารจัดการ และด้านการเงิน โดยท าการเก็บข้อมูลในรูปแบบแบบสอบถามจ านวน 400 ชุดจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เขตอ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อาชีพนักเรียน มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 5,000 บาท โดยในแต่ละสัปดาห์ผู้บริโภคจะมาใช้บริการร้านก๋วยเตี๋ยวมากกว่า 2 ครั้ง ราคาที่เหมาะสมส าหรับรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ 20-40 บาท ซึ่งในการเลือกบริโภคกลุ่มตัวอย่างจะให้ความส าคัญมากที่สุดกับเรื่อง รสชาติของอาหาร คุณภาพของวัตถุดิบ ราคาสินค้าและบริการ รวมทั้งต าแหน่งร้านควรอยู่ในท าเลที่สามารถเดินทางได้สะดวกสบาย มีการใช้ Social Network ช่วยในการโปรโมทร้านและการมีส่วนลด ในด้านการบริหารจัดการ พนักงานควรยิ้มแย้มในการรับออเดอร์และเสิร์ฟอาหาร มีบริการที่ดี พนักงานเอาใจใส่กับงานที่ท า มีขั้นตอนในการสั่งที่ง่าย ความถูกต้องของอาหารที่ได้รับ อีกทั้งมีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ส าหรับการวิเคราะห์ด้านการเงินพบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 562,900.22 บาท มีอัตราตอบแทนภายในโครงการ (IRR) เท่ากับ 32% และมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2 ปี 7 เดือน ในกรณีที่เป็นไปตามแผน หากไม่เป็นไปตามแผนโดยมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและยอดขายที่ลดลง ไป 10 % โครงการนี้ก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่มากกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส จึงสามารถสรุปได้ว่าโครงการนี้คุ้มค่าแก่การลงทุน ค าส าคัญ : ลงทุนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ ความเป็นไปได้ในการลงทุน พฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด

    Abstract This study aims to investigate the feasibility of noodle restaurant investment in Nai Muang

    Sub-district, Muang District, Surin Province by focusing on the demand in this market, restaurant management and financing. In the study, data were collected from the questionnaire completed by a total of 400 samples in Nai Muang Sub-district, Muang District, Surin Province.The results showed that the majority of respondents were female, students, with monthly salary/ allowance of 5,000 Baht. Most of respondents visited noodle restaurant more than twice a week. The majority of respondents expected the price of the noodle at 20-40 Baht per bowl. The respondents’ expectations of noodle restaurant are the taste of food, followed by the quality of raw materials, the price of food and services, and the convenient location, respectively. Moreover, the social network sites should be used for public relations to offer customers with promotional discount. In the perspective of

    1 นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601163

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    2017

    restaurant management, waiters/ waitress should have service mind with welcoming, and enthusiastically attentive to the service. Services in ordering food for customers should be quick, simple, and accurate. The cleanliness of the restaurant must be controlled on regular basis. Furthermore, the financial projection in terms of payback period is expected at one year and four months. However, if the result does not meet the business plan as expected, with increasing costs and decreasing Keywords: Noodle Restaurant, Feasibility Consumer Behavior, Marketing mix Factors บทน า

    ก๋วยเตี๋ยวเรือหรือก๋วยเตี๋ยวน้ าตกเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน ในสมัยก่อน จะขายในเรือพายตามคลอง จึงเป็นที่มาของชื่อ “ก๋วยเตี๋ยวเรือ” ซึ่งชามที่ใส่จะมีลักษณะเล็ก ปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ก๋วยเตี๋ยวจึงหันมาเปิดร้านบนบกในอาคารพาณิชย์แทน ซึ่งท าให้เอกลักษณ์ของก๋วยเตี๋ยวเรือนั้นหายไป รสชาติของก๋วยเตี๋ยวเรือซึ่งมีรสชาติจัดจ้าน น้ าก๋วยเตี๋ยวสีข้นคล้ายก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือเนื้อตุ๋น ซึ่งมีการใส่เครื่องปรุงที่ต่างจากก๋วยเตี๋ยวชนิดอื่น เช่น ซีอิ้วด า เต้าหู้ยี้และเครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังมีก๋วยเตี๋ยวน้ าตก คือ ใส่เลือดวัวหรือหมู ผสมกับเกลือส าหรับปรุงรสในน้ าก๋วยเตี๋ยว ซึ่งการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือนั้น นิยมรับประทานคู่กับกากหมู หรือแคบหมู และใบกะเพรา หรือใบโหระพาเพื่อดับกลิ่นคาว[1] ในด้านการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของจังหวัดสุรินทร์นั้นการประกอบธุรกิจบริการประเภทโรงแรม ร้านอาหารและสถานบันเทิงยังมีจ านวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ข้างเคียง ซึ่งจะเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ก าลังหาช่องทางลงทุนในจังหวัดสุรินทร์[2] จึงได้ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจ ในจังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอาหาร ในลักษณะที่เป็นก๋วยเตี๋ยวเรือที่มีเอกลักษณ์ ซ่ึงจะใช้เรือตั้งอยู่หน้าร้าน ประกอบกับรสชาติของก๋วยเตี๋ยวเรือแบบดั้งเดิม ซ่ึงจะมีความแตกต่างจากก๋วยเตี๋ยวที่มีอยู่ อาทิ ก๋วยเตี๋ยวโกเด้ง ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นแชมป์ เป็นต้น จึงเหมาะที่จะน ามาเพื่อท าวิจัยในการสร้างจุดเด่นให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของร้าน รวมไปถึงรสชาติ และการมีท าเลที่เหมาะสมท าให้การศึกษาการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือนั้นมีความน่าสนใจ จึงต้องการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กรอบแนวคิดในการศึกษา

    ด้านประชากรศาสตร์ท่ีส่งผลต่อการเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวมีตัวแปรต้นคือ ด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และตัวแปรตาม คือ ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจ าหน่าย การส่งเสริมทางการตลาด บุคคลกระบวนการ และกายภาพการน าเสนอ วัตถุประสงค์

    1. เพื่อศึกษาความต้องการและการเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    2. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ในด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการบริหารจัดการและด้านการเงิน

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601164

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการสามารถน าไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจการลงทุนเปิดธุรกิจร้าน

    ก๋วยเต๋ียวเรือ 2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจและผู้ที่ด าเนินการแล้วสามารถน าไปใช้ในการปรับปรุงกิจการก๋วยเต๋ียวเรือ

    วิธีด าเนินงาน

    การศึกษาเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือใน ต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ผู้ศึกษาได้ด าเนินการศึกษาความเป็นไปได้ด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการบริหารจัดการ และด้านการเงิน ซึ่งศึกษาวิจัยเชิงส ารวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิธีด าเนินงานดังต่อไปนี้

    ด้านส่วนประสมทางการตลาด โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน (Marketing Mix : 7P’s) [3] คือ 1. ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) 2. ด้านราคา (Price) 3. ด้านการจัดจ าหน่าย (Place) 4. ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) 5. ด้านบุคคล (People) 6. ด้านกายภาพและการน าเสนอ (Physical and Environment) 7. ด้านกระบวนการ (Process)

    ด้านเทคนิค โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมทางเทคนิคและการออกแบบ ดังน้ี 1. ท าเลสถานที่ตั้งของโครงการ 2. กระบวนการให้บริการ 3. การวางต าแหน่งภายในบริเวณร้าน

    ด้านการบริหารจัดการ เพื่อความพร้อมในการรองรับผู้บริโภคให้เป็นไปอย่างระบบและเรียบร้อย ดังนี้ 1. รูปแบบการบริหารและการด าเนินงาน 2. การจัดโครงสร้างขององค์กร

    ด้านการเงินได้ก าหนดวิธีการด าเนินการศึกษา ดังนี้ 1. ก าหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้การรวบรวมข้อมูล 3. วิธีการสร้างแบบสอบถาม 4. เก็บรวบรวมข้อมูล 5. วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล

    ผลการวิจัย

    ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-22 ปี มีอาชีพนักศึกษา มีรายได้น้อยกว่า 5000 บาท จากข้อมูลด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคของผู้บริโภคก๋วยเตี๋ยวเรือ[4] พบว่าส่วนใหญ่มีเกณฑ์ในการเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวมากที่สุดคือ รสชาติของอาหาร คิดเป็นร้อยละ 93.5 ความถี่ในการเข้ารับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือ คือ 2 ครั้ง/สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 76.5 ราคาของก๋วยเตี๋ยวเรือที่ เหมาะสมในการรับประทานคือ 20 – 40 บาท คิดเป็นร้อยละ 76.0 รสชาติของก๋วยเตี๋ยวเรือที่ชื่นชอบ คือ พอดีไม่ต้องปรุง คิดเป็นร้อยละ 54.0 ลักษณะของอาหารและน้ าซุปที่นิยมบริโภค คือ ก๋วยเตี๋ยวน้ าตก คิดเป็นร้อยละ 48.5 เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ชอบรับประทาน คือ เส้นเล็ก คิดเป็นร้อยละ 39.0 อาหารที่ชื่นชอบระหว่างทานก๋วยเตี๋ยว คือ กากหมู คิดเป็นร้อยละ 47.3 สถานที่ในการรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่นิยมมากที่สุด คือ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ คิดเป็นร้อยละ 78.8 มีค่าใช้จ่ายต่อมื้อในการบริโภคก๋วยเตี๋ยวเรือ คือ ราคาระหว่าง 51 - 100 บาท คิดเป็นร้อยละ 57.0 บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือ คือ ตนเอง คิดเป็นร้อยละ 73.3 เหตุผลที่บุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลในการเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือ คือ เชื่อมั่นในวิจารณญาณของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 61.5 และความสนใจในการเข้ารับบริการร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ คือ สนใจมาใช้บริการ คิดเป็นร้อยละ 77.3

    การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดในการเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวทั้ง 7 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ระดับความส าคัญที่มีผลต่อการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือในระดับมากที่สุด คือ รสชาติของอาหาร 2. ปัจจัยด้านราคา ระดับความส าคัญที่มีผลต่อการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือในระดับมากที่สุด คือ ราคาสินค้าและบริการมีความสมเหตุสมผล 3. ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย ระดับความส าคัญที่มีผลต่อการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือใน

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601165

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    2017

    ระดับมาก คือ มีท าเลที่สามารถเดินทางได้สะดวกสบาย 4. ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ระดับความส าคัญที่มีผลต่อการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือในระดับมากที่สุด คือ มีการใช้ Social Network ช่วยในการโปรโมทร้านและรับส่วนลด 5. ปัจจัยด้านบุคคล ระดับความส าคัญที่มีผลต่อการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือในระดับมากที่สุด คือ มีบริการที่ดี 6. ปัจจัยด้านกระบวนการ ระดับความส าคัญที่มีผลต่อการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือในระดับมากที่สุด คือ ความถูกต้องของอาหารที่ไดร้ับ 7. ปัจจัยด้านกายภาพและการน าเสนอ ระดับความส าคัญที่มีผลต่อการรับประทานก๋วยเต๋ียวเรือในระดับมากที่สุด คือ มีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

    ด้านเทคนิคได้วิเคราะห์ ดังต่อไปนี้ 1.ท าเลสถานที่ตั้งของโครงการ สถานที่ตั้งของร้านจะเป็นการเช่าร้านแบบรายปี ตั้งอยู่บนเส้นเลียบคลองชลประทาน ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน และขนส่งจังหวัดสุรินทร์ ซ่ึงถือเป็นท าเลที่ดี มีระบบการคมนาคมที่สะดวก สามารถเดินทางได้ง่าย อีกทั้งยังรองรับลูกค้าโดยมีที่จอดรถที่เพียงพอต่อการมาใช้บริการทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต ์ดังรูปภาพที่ 1 2. กระบวนการให้บริการ ได้ค านึงถึงสถานที่ต้องมีความสะอาดและมีอากาศที่ถ่ายเทเหมาะที่ผู้บริโภคเข้าใช้บริการ และค านึงถึงการให้บริการ จัดอบรมพนักงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจการให้บริการในทิศทางเดียวกัน และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมในการท างาน 3. การวางต าแหน่งภายในร้าน ได้ค านึงถึงสถานที่และการวางต าแหน่งอุปกรณ์ดังนี้ บริเวณจัดเตรียมวัตถุดิบ บริเวณประกอบอาหาร บริเวณล้างอุปกรณ์

    ด้านการบริหารจัดการ ได้ก าหนดเวลาเปิดท าการเวลา 07.00 – 17.00 น. เนื่องจากเน้นกลุ่มเป้าหมายจึงถือเป็นเวลาที่เหมาะสม และมีการจัดโครงสร้างองค์กร โดยมีเจ้าของกิจการเป็นผู้ด าเนินงาน รวมพึงพนักงานภายในร้าน ดังนี้ พนักงานปรุงอาหาร พนักงานบริการ พนักงานล้างจาน

    ด้านการเงิน ได้ด าเนินการศึกษา ดังต่อไปนี้ กลุ่มประชากร คือ นักเรียน นักศึกษา พนั กงานราชการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จ านวน 39,728 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน [5] ในการหาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เป็นจ านวน 400 ชุด

    เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยแบบสอบถามมีทั้งหมด 4 ตอน ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคก๋วยเตี๋ยวเรือ ตอนที่ 3 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดและตอนที่ 4 เป็นข้อเสนอแนะจากผู้ตอบแบบสอบถาม

    การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส าเร็จรูป SPSS (Statistical package for social sciences window: SPSS 17 )[6] โดยข้อมูลที่ได้จะน ามาวิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง การแจกแจงความความถี่และ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

    ได้วิเคราะห์โครงการโดยหาค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุของโครงการกับเงินลงทุนเริ่มแรก ณ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการหรือต้นทุนของเงินทุนของโครงการ[7] ซึ่งคิดมูลค่าปัจจุบัน (NPV) = 562,900.22 บาท วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) การค านวณหาอัตราคิดลด ที่มีผลท าให้มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่ได้รับในอนาคตเท่ากับเงินลงทุนที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ มูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่าย ผลการค านวณได้ค่า IRR = 32% วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) = 2 ปี 7 เดือน วิเคราะห์ความไว (Sensitive Analysis) เป็นการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อพิจารณาถึงกรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ดังผลการวิเคราะห์ดังตาราง

  • การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ

    ระดับชาติและนานาชาติ ประจ�าปี 25601166

    การ

    จัดการ

    การ

    เงิน การ

    ลงทุนการ

    ศึกษาค

    วาม

    เป็นไป

    ได้ทาง

    ธุรกิจ

    สรุปความต้องการและการเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ด้านการตลาด ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือมีความได้เปรียบเนื่องจากเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวเรือที่เปิดใหม่บริเวณเลียบคลองชลประทาน

    อีกทั้งยังอยู่ใกล้บริเวณสถานศึกษาและขนส่งจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีกลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่เป็นจ านวนมาก รวมไปถึงการเดินทางที่สะดวกมีระบบคมนาคมที่ง่ายต่อการเข้าถึงร้านอีกด้วย ทาให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่จะมารับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือ ดังนั้น การเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวเรือแห่งนี้มีความเป็นไปได้ทางการตลาด

    ด้านการจัดการ มีการจัดอบรมพนักงานเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงานก่อนเข้ารับการทางานตามต าแหน่งที่ได้รับเพื่อ

    คุณภาพและบริการที่ดี มีการวางผังโครงสร้างอย่างเป็นระบบ ดังนั้นร้านก๋วยเตี๋ยวเรือจึงมีความเป็นไปได้ในด้านการจัดการ

    ด้านเทคนิค การวิเคราะห์ท าเลท่ีตั้ง กระบวนการให้บริการรวมไปถึงการออกแบบร้าน โดยเลือกท าเลที่เดินทางสะดวก

    มีที่จอดรถที่เพียงพอ และการออกแบบร้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงมีความเป็นไปได้ในการเตรียมงานด้านเทคนิค ด้านการเงิน จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการเงิน พบว่า โครงการร้านก๋วยเตี๋ยวเรือในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง

    จังหวัดสุรินทร์ นั้นมีความเป็นไปได้ในการลงทุน เพราะ ค่า NPV เป็นบวก และอัตรา IRR มากกว่า ต้นทุนค่าเสียโอกาส (ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล 3.25%) และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2 ปี 7 เดือน ในกรณีที่เป็นไปตามแผน หากไม่เป็นไปตามแผนโดยมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและยอดขายที่ลดลง ไป 10 % แต่โครงการนี้ก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่มากกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส จึงสามารถสรุปได้ว่าโครงการนี้คุ้มค่าแก่การลงทุน ข้อเสนอแนะ

    การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวเรือในต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เเม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ในการลงทุนเเล้วก็ตาม เเต่สิ่งที่ผู้ประกอบการควรท าอย่างต่อเนื่อง คือ

    1. คุณภาพของวัตถุดิบ ให้สดใหม่ 2. มุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการของพนักงานเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า 3. การจัดเก็บวัตถุดิบ ต้องมีความสะอาด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อผู้บริโภค

    กิตติกรรมประกาศ

    การศึกษาอิสระครั้งนี้ส าเร็จลุล่วงได้ด้วยดี เนื่องจากที่ได้ให้ความกรุณาอย่างสูงจาก อาจารย์ที่ปรึกษาอิสระที่ได้สละเวลาอันมีค่าของท่าน เพื่อการแนะน า อธิบายข้อสงสัย ตลอดจนการตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาให้กับผู้ศึกษาด้วยความเอาใจใส่ จนกระทั่งการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้�