16
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ) ปีท6 ฉบับที2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559 135 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถ ด้านการคานวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไป ที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT MODEL FOR ENHANSING MATHEMATICAL ABILITY IN GRADE 3 STUDENTS OF INTREGREATED FOR STUDENT WITH LEARNING DISABILITIES WITH DIFFERENT LEARNING STYLES สาวิตรี จุ้ยทอง 1* , มารุต พัฒผล 2 และวิชัย วงษ์ใหญ่ 2 Sawitri Juithong, Marut Patphol and Wichai Wongyai บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรูที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคานวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท3 ที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน โดยใช้กระบวนการวิจัย และพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริม ความสามารถด้านการคานวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู2) การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคานวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคานวณของเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ 4) การปรับปรุงและแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ความสามารถด้านการคานวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยศึกษากับนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการคานวณที่เรียนรวมในโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง จังหวัด อ่างทอง ที่มีระดับสติปัญญา 90 ขึ้นไป ไม่มีความพิการซ้าซ้อน กาลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ปีท3 ภาคเรียนที1 ปีการศึกษา 2558 จานวน 6 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ซึ่งมีนักเรียนรวม 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก1) แบบทดสอบวัดความสามารถ ด้านการคานวณ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 3) แบบบันทึกความสุข ในการเรียนคณิตศาสตร์ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพด้วยสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการคานวณ ____________________________________ 1 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ *ผู้นิพนธ์ประสานงาน E-mail: [email protected]

DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT …acad.vru.ac.th/Journal/journal 6_2/6_2_11.pdf · วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

  • Upload
    buinhu

  • View
    219

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

135

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถ ด้านการค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไป ที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน

DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT MODEL FOR ENHANSING

MATHEMATICAL ABILITY IN GRADE 3 STUDENTS OF INTREGREATED FOR STUDENT WITH LEARNING DISABILITIES

WITH DIFFERENT LEARNING STYLES

สาวิตรี จุย้ทอง1*, มารุต พัฒผล2 และวิชัย วงษ์ใหญ่2 Sawitri Juithong, Marut Patphol and Wichai Wongyai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพ่ือพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพ้ืนฐานในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 2) การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ 4) การปรับปรุงและแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยศึกษากับนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการค านวณที่เรียนรวมในโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ที่มีระดับสติปัญญา 90 ขึ้นไป ไม่มีความพิการซ้ าซ้อน ก าลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จ านวน 6 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ซึ่งมีนักเรียนรวม 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถ ด้านการค านวณ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 3) แบบบันทึกความสุข ในการเรียนคณิตศาสตร์ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลทั้ งเชิงปริมาณและคุณภาพด้วยสถิติ พ้ืนฐานและวิ เคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการค านวณ ____________________________________ 1หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณัฑติ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนีครินทรวิโรฒ *ผู้นิพนธ์ประสานงาน E-mail: [email protected]

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

136

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจด้วยบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข ขั้นที่ 2 เรียนรู้ตามแบบการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 สร้างความรู้ และ ขั้นที่ 4 การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณ 2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณมีความเหมาะสมในการน าไปใช้อยู่ในระดับมาก 2.2 ผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการค านวณก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผู้เรียน มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนถึงพัฒนาการความสามารถด้านการค านวณ มีการตอบค าถามครูผู้สอน และสนทนากับเพ่ือนนักเรียนในระหว่างการท ากิจกรรมกลุ่ม แสดงว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถด้านการค านวณ 2.4 ผู้เรียน มีความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงออกถึง ความพอใจกับการเรียน สนุกสนานกับการท ากิจกรรม มีพฤติกรรมแสดงถึงความสนใจ ความเพียรพยายาม และเรียนรู้อย่างมีความสุข แสดงว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนเกิดความสนใจ ความเพียรพยายาม และพึงพอใจกับบรรยากาศ ในการเรียนรู้อย่างมีความสุข ค าส าคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ความสามารถด้านการค านวณ นักเรียนที่มีความบกพร่อง

ทางการเรียนรู้ แบบการเรียนรู้

ABSTRACT The objectives of this research were to develop a pattern or model and to study the effectiveness of learning management model for enhancing the integrated mathematical ability of students with the learning disabilities with different learning styles through research and development which consist of four stages as follows: 1) Studying the base data for mathematical learning management ; 2) Developing a learning management model; 3) Trying out the learning management model; 4) Revising the learning management model. The sample group for this study consisted of six children with learning disabilities, who were grade 3 students in the first semester of the 2015 year at Anubanwatangthong School. They were selected by purposive sampling from a classroom of forty–eight children. The instruments used in this study were 1) test of mathematical ability 2) observation of learning behavior and 3) an evaluation form rating the happiness of the student regarding mathematic learning.

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

137

The experiment was conducted over 5 weeks, which was four hours a week. The research analyzed both quantitative and qualitative with basic statistics. The comparison, on average, of mathematical ability with Wilcoxon matched pairs signed ranks test and the level of happiness among the students regarding mathematics learning with a t-test for dependent samples. The results of the study are the pattern of learning management model for enhancing the integrated mathematical abilities consist of four stages: 1) Stimulating with a happy learning atmosphere 2) Learning for learning style 3) Constructing pleasant knowledge and 4) Giving positive feedback. The pattern of learning management model was appropriated at high level. The mathematical abilities before and after learning were significantly different at a level of .05. The level of happiness before after learning, were at a statistically significant level of .01. Keywords: Learning Management Model, Mathematical Ability, Student with Learning

Disabilities, Learning Styles บทน า เด็กดี เด็กเก่ง เด็กมีสุข เป็นลักษณะของเด็กไทยที่ต้องการ คนไทยก็จะเติบโตด้วย ความเป็นคนเก่ง อันเป็นก าลังของชาติ ในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ศตวรรษท่ี 21 เป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมบริบทรอบตัว เป็นยุคที่สามารสร้างเด็กไทยให้ยืนอยู่บนเวทีบ้านเรา และเวทีโลกได้อย่างมีความสุข (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข, 2558) โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ก าหนดไว้ว่า บุคคล ย่อมมีความเสมอภาคกันในการรับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจัดให้ทั่วถึง และ มีคุณภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2550) ดังนั้น เด็กที่มีความบกพร่องหรือเด็กพิการในลักษณะใด ก็ตาม จ าเป็นต้องได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม ซึ่งตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล มนุษย์ทุกคนย่อมมี ความเสมอภาคและโอกาสเท่าเทียมกันในการด ารงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยดี ในการจัดการศึกษาส าหรับเด็กท่ีมีความบกพร่องถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของเด็กเหล่านี้ให้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถด ารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยจัดการศึกษาให้เท่าเทียมกัน เด็กถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและจะช่วยพัฒนาชาติในอนาคต จึงควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ตามศักยภาพของตน ในการจัดการเรียนรู้นั้น ครูจึงควรยึดหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ไม่เท่ากัน โดยบางคนสามารถเรียนรู้ได้เร็ว มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หรือมีความสามารถพิเศษ บางคนมีพัฒนาการช้า มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญา มีปัญหาในการเรียนรู้ในการจัด การเรียนรวมเป็นการจัดการศึกษาเพ่ือปวงชนครอบคลุมถึงเด็กทุกคน ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่อง เรียกว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา โดยการเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษานั้น ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสร้างเจตคติที่ดีต่อกันมีพัฒนาการใน

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

138

การด ารงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีศักยภาพการจัดการเรียนรวมจึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2555; บุญเลี้ยง ทุมทอง, 2556) สอดคล้องกับการศึกษายุคใหม่ที่เน้นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และการดึงศักยภาพของผู้เรียนให้ปรากฏ โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2554) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability: LD) เป็นเด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งทางกระบวนการพ้ืนฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา การพูด การเขียน ซึ่งแสดงออกถึงความบกพร่องในความสามารถทางการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดค า หรือการคิดค านวณทางคณิตศาสตร์ โดยเด็กมีลักษณะภายนอกเป็นปกติ แสดงความฉลาดได้จากการพูดคุย มีความเฉลียวฉลาดเหมือนเด็กทั่วไป แต่มีความยากล าบาก ในการเรียนรู้ โดยภาวะความบกพร่องที่แสดงออกมาในรูปของปัญหาดังกล่าว มีสาเหตุมาจาก ความบกพร่องในการแปลข้อมูลที่สมอง ท าให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กทั่วไปไม่บรรลุผลส าเร็จในการเรียนมีผลการเรียนต่ ากว่าที่ควรจะเป็น เกิดช่องว่างระหว่างความเฉลียวฉลาดที่แท้จริงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Gearheart, 1977; Swanson, 2000; กระทรวงศึกษาธิการ, 2554) ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการค านวณ (Mathematics Disorder) เป็นความบกพร่องที่เรียกว่า ดิสแคลคูเลีย (Dyscalculia) โดยเด็กจะมีความสามารถด้านการค านวณต่ ากว่าเด็กวัยเดียวกัน 2 ชั้นปี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2554) ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลข มองเห็นตัวเลขกลับด้านเหมือนภาพสะท้อนจากกระจกเงา ไม่สามารถเรียงล าดับวัน เดือน ปีได้ตามปกติ มีความยากล าบากในการค านวณทางคณิตศาสตร์การแก้โจทย์คณิตศาสตร์อย่างง่าย มีปัญหาพ้ืนฐานทางการค านวณคณิตศาสตร์ ซึ่งจะปรากฏชัดตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของการเรียน และพบความบกพร่องที่เกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ ในชั้นเรียน ที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งพบว่า เด็กบางคนไม่มีความก้าวหน้าทางการเรียนเลย ส่งผลให้นักเรียนขาดความมั่นใจท้อถอยไม่ประสบผลส าเร็จเท่าที่ควร (กระทรวงศึกษาธิการ, 2554) ดังนั้น หากครูผู้สอนไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความบกพร่องและลักษณะปัญหาของเด็กแล้ว ย่อมส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ ไม่ตอบสนองต่อการเรียนรู้และสภาพความบกพร่องที่ต้องการแก้ไข หรือพัฒนา รวมทั้งเกิดปัญหาพฤติกรรมหรือปัญหาอ่ืน ๆ ตามมา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2555) ทั้งนี้ ควรให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับเด็กทั่วไป เพราะเด็กจ าเป็นต้องมีสังคม มีเพ่ือน และเรียนรู้ความสัมพันธ์กับผู้อ่ืนในโรงเรียน เพราะเขาจะพัฒนาไปตามสังคมของเด็กทั่วไป รู้จักช่วยตัวเองให้ทันคนอ่ืน และ ในขณะเดียวกันเขาก็จะได้รับความช่วยเหลือจากเด็กคนอ่ืน ๆ การจัดการเรียนรู้เพ่ือพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ และเกิดการเรียนรู้ ได้อย่างเต็มความสามารถนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก็ต้องค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพ ความคิด ความสนใจ และความถนัด ซึ่งเป็นผลให้ผู้เรียน มีแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ที่ไม่เหมือนกัน ผู้เรียนอาจชอบใช้การดู การฟัง การอ่าน หรือ การลงมือปฏิบัติ ซึ่งในการรับรู้ข้อมูลแตกต่างกันตามเส้นทางการรับรู้ ได้แก่ การรับรู้ทางสายตา โดยการมองเห็น (Visual Preceptors) การรับรู้ทางอ่านหรือการเขียน (Read/Write Preceptors) การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน (Auditory Preceptors) และการรับรู้ทางร่างกาย โดย

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

139

การเคลื่อนไหวและการรู้สึก (Kinesthetic Preceptors) ทั้งนี้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability: LD) ซึ่งจะมีความยุ่งยากล าบากในการเรียนรู้ แบบการเรียนรู้ (Learning Style) ของผู้เรียนเป็นสิ่งส าคัญท่ีมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะท าให้ครูผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น (Hallahan, Kauffman & Lloyd, 1996; ผดุง อารยะวิญญู และสุวิทย์ พวงสุวรรณ , 2554) เป็นปัจจัยส าคัญในการที่จะช่วยน าทางให้ผู้เรียนไปสู่การท างานที่มีประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนรู้นั้น มีความมุ่งหวังให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความรู้ และมีจิตใจที่ดี การเรียนรู้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน ความรู้ ความสามารถเกิดจากการฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนลงมือกระท า (Hands-on) และฝึกคิดด้วยตนเองเป็นส าคัญ (Brain on) โดยครูผู้สอนเป็น ผู้อ านวยความสะดวกในการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จัดบรรยากาศ การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน (วิชัย วงษ์ใหญ่ , 2554) การสร้างความรักและความศรัทธาให้กับผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง จัดสภาพการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย ให้ผู้เรียนรู้สึกอิสระ ได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยครูยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพ่ือเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงเห็นความส าคัญในการส่งเสริมการจัดกระบวน การเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณ ซึ่งหลักสูตรคณิตศาสตร์ได้ให้ความส าคัญของ การฝึกทักษะการคิดค านวณ และถือว่าทักษะการคิดค านวณมีความจ าเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไป ที่ค านึงถึงแบบการเรียนรู้ที่ต่างลักษณะ ซึ่งมุ่งหวังจะให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา และให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) โดยใช้ การจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนร่วมมือร่วมใจกันศึกษาค้นคว้า และปฏิบัติกิจกรรม เพ่ือให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเต็มความสามารถเน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการยอมรับในบทบาทหน้าที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่แท้จริง น าไปสู่ การพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพ เป็นพลเมืองดี และด ารงชีวิตได้อย่างมีความสุข วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพ่ือพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มี แบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน 2. เ พ่ือศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่ งเสริมความสามารถ ด้านการค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

140

ขอบเขตการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน

การค านวณที่เรียนรวมในโรงเรียนที่มีระดับสติปัญญา 90 ขึ้นไป ไม่มีความพิการซ้ าซ้อน และก าลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ในจังหวัดอ่างทอง

กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน

การค านวณที่เรียนรวมในโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ที่มีระดับสติปัญญา 90 ขึ้นไป ไม่มีความพิการซ้ าซ้อน และก าลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จ านวน 6 คน ที่เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปในห้องเรียนปกติแบบเต็มเวลา ซึ่งมีนักเรียนรวม จ านวน 48 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ตัวแปรที่ศึกษา

ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้าน การค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในการเรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างกัน ได้แก่

1. ความสามารถด้านการค านวณซึ่งประกอบด้วย 1) ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 2) ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ 3) ทักษะการคิดค านวณ

2. ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สมมุติฐานการวิจัย

สมมติฐานที่ 1 คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพ่ือส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน

สมมติฐานที่ 2 คะแนนพัฒนาการความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณสูงขึ้น

สมมติฐานที่ 3 คะแนนเฉลี่ยความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพ่ือส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

141

กรอบแนวคิดการวิจัย

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่ งเสริมความสามารถ ด้านการค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน ดังนี้

กระบวนการจัดการเรียนรู ้ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจด้วยบรรยากาศ การเรียนรู้อย่างมีความสุข (Stimulation) ขั้นที่ 2 เรียนรู้ตามวธิีการเรียนรู้ (Learning style) ขั้นที่ 3 สร้างความรู้ (Constructing) ขั้นที่ 4 การให้ข้อมูลยอ้นกลับเชิงบวก (Positive feedback)

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้าน

การค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในการเรียนรวมกับนักเรียน

ทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างกัน

ประสิทธิผลของรปูแบบ 1. ความสามารถด้านการค านวณ 1.1) ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 1.2) ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 1.3) ทักษะการคิดค านวณ 2. ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

หลักการของรูปแบบ

การวัดและประเมินผลของรูปแบบ

แนวคิด การจัดการเรยีนรวม

ทฤษฎีการเรยีนรู้กลุ่มมนุษยนยิม

หลักการจดัการเรียนรู้คณิตศาสตรส์ าหรับเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้

วิธีการเรียนรู้

การเรยีนรู้อย่างมีความสุข

แนวคิดเกี่ยวกับเด็กที่ม ีความบกพร่องทางการเรยีนรู ้

ความสามารถดา้นการค านวณ

แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ การจัดการเรยีนรู ้

การสัมผัสและการรับรู ้

การเรยีนรู้

ทฤษฎีการเรยีนรู้กลุ่มพุทธินิยม

ทฤษฎีการเรยีนรู้กลุ่มพฤติกรรมนยิม

การเรยีนรู้ร่วมกัน

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

142

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพ้ืนฐานในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถ ด้านการค านวณของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยการด าเนินการใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน สามารถสรุปไดด้ังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน

ขั้นตอน

วิธีการด าเนินการ

ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและแก้ไข

รูปแบบ การจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 1

การศึกษาขอ้มูลพื้นฐาน

1. ศึกษาปัญหาและความต้องการของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 2. สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก ่ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ครูการศึกษาพิเศษ และ

อาจารย์สาขาการศึกษาพิเศษนักเรียนปกติ นักเรียนพิเศษ 3. สังเกตแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน จากพฤติกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน

1. ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจดัการเรียนรู้และแนวคิด/ทฤษฎีที่ใช ้2. ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และสรา้งเครื่องมือประกอบรูปแบบ 3. สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ 4. ตรวจสอบความเหมาะสมความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และความ

เท่ียงตรงของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงแก้ไข 5. การศึกษาน าร่อง (Pilot study) และปรับปรุงแก้ไขก่อนน าไปใช้จริง

1. น ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน 2. ผู้วิจัยร่วมด าเนินการวิจัยกับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3. เก็บรวบรวมขอ้มูลเชิงคุณภาพเป็นระยะๆ อย่างสม่ าเสมอ โดยเป็นขอ้มูลที่สะท้อนถึง

พัฒนาการการเรียนรู้ด้านการค านวณทัง้ก่อนการใช้รูปแบบ ระหว่างการใช้รูปแบบ และหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู ้

4. ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 3

การทดลองใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 2

การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้

น าผลจากการใช้การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้

มาปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ใหม้ีความสมบูรณ์ต่อไป

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

143

จากกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 4 ขั้นตอน สามารถสังเคราะห์สาระของหลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณ ดังตารางที่ 1 ตารางท่ี 1 ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบและสาระขององค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้

องค์ประกอบของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้

สาระขององค์ประกอบ

หลักการของรูปแบบ การจัดการเรยีนรู ้

1. การจัดการเรียนรู้โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องตามแบบการเรยีนรู้ที่ผูเ้รียนถนัด

2. การสร้างบรรยากาศแห่งความรัก ความศรัทธา ผู้เรยีนมีความสุข ในการเรียน สร้างนิสยัช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น สร้างความสมัพันธ์แบบพ่ึงพาอาศัยกัน

3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรูล้งมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองจากความรู้และประสบการณ์เดมิของผู้เรยีน และมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมกับผูอ้ื่น

4. การพัฒนาทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้เรียนแสดงความคิดเห็น อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความรู้ใหมด่้วยตนเองด้วยความเข้าใจ

5. การให้ข้อมูลป้อนกลับ การปรบัพฤติกรรมของผูเ้รียน โดยการเสริมแรงทางบวก

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ การจัดการเรยีนรู ้

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกตา่ง หลากหลายของแต่ละบุคคล และเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคล ตลอดจนมีน้ าใจ ช่วยเหลือผู้อื่น

2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการท างานร่วมกัน เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และจิตใจ ตลอดจนสามารถใช้ทักษะการคิดค านวณ พ้ืนฐานการบวกการลบได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว

กระบวนการจดั การเรยีนรู้ของรูปแบบ

การจัดการเรยีนรู ้

ใช้การจัดการเรียนรูร้่วมกัน (Collaborative Learning) ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจด้วยบรรยากาศการเรยีนรู้อย่างมีความสุข

(Stimulation) ขั้นที่ 2 เรียนรู้ตามแบบการเรียนรู ้(Learning Style) ขั้นที่ 3 สร้างความรู ้(Constructing) ขั้นที่ 4 การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)

การวัดและประเมินผล ของรูปแบบการจัด

การเรยีนรู ้

การวัดและประเมินผลพัฒนาการการเรยีนรู้ของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการจดัการเรียนรู้ประเมินโดยครผูู้สอน และผูเ้รียน

ผลการวิจัย 1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับนักเรียนทั่วไปที่มีแบบการเรียนรู้ต่างลักษณะกัน ประกอบด้วยองค์ประกอบส าคัญ 4 องค์ประกอบ คือ หลักการและแนวคิด

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

144

ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 5 ข้อ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องตามแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนถนัด 2) การสร้างบรรยากาศแห่งความรักความศรัทธา ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน สร้างนิสัยช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ อ่ืนสร้างความสัมพันธ์แบบพ่ึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน 3) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองจากความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมกับผู้อ่ืน 4) การพัฒนาทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองด้วยความเข้าใจ 5) การให้ข้อมูลป้อนกลับ การปรับพฤติกรรมของผู้เรียนโดยการเสริมแรงทางบวก วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 2 ข้อ ได้แก่ 1) เพ่ือให้ผู้เรียนมีทักษะในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่ืนที่แตกต่างหลากหลาย ของแต่ละบุคคล และเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคล ตลอดจนมีน้ าใจ ช่วยเหลือผู้อ่ืน และ 2) เพ่ือให้ผู้เรียนมีทักษะ การท างานร่วมกัน เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และจิตใจ ตลอดจนสามารถใช้ทักษะการคิดค านวณพ้ืนฐาน การบวก การลบได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กระตุ้นความสนใจด้วยบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Stimulation) 2) เรียนรู้ตามแบบการเรียนรู้ (Learning Style) 3) สร้างความรู้ (Constructing) และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback) และการวัดและประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการวัดและประเมินผลพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยการวัดและประเมินผลก่อนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างการจัดการเรียนรู้ และภายหลังการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ประเมินประกอบด้วยนักเรียน เพ่ือน และครูผู้สอน 2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ โดยวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพ่ือทดสอบสมมติฐาน โดยประเมินผลการทดสอบวัดความสามารถในด้านการค านวณจากแบบทดสอบที่สร้างขึ้น ซึ่งพิจารณาจากความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนจากผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน โดยประเมินจากพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน และการประเมินความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนระหว่างการทดลอง มีผลสรุปดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน 1.1) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถ ด้านการค านวณ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการค านวณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.2) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถ ด้านการค านวณ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สูงขึ้น

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

145

2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 2.1) ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้นักเรียนด้านความสามารถด้านการค านวณ

พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 นักเรียนส่วนใหญ่ขาดปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอนและระหว่างเพ่ือนนักเรียนด้วยกัน ไม่ปรากฏการแสดงออกที่สะท้อนถึงความสามารถด้านการค านวณ การสังเกตครั้งที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 3 พบว่า นักเรียนเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ โดยแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงพัฒนาการ ด้านความสามารถด้านการค านวณเพ่ิมขึ้น มีการตอบค าถามครูผู้สอน สนทนากับเพ่ือนในการท ากิจกรรมกลุ่ม ซึ่งต่างไปจาก 2 สัปดาห์แรก ผู้วิจัยสังเกตต่อครั้งที่ 3 ในสัปดาห์ที่ 5 พบว่า นักเรียนยังคงมีพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนปรากฏอยู่ โดยพิจารณาจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู และเพ่ือนๆ แสดงว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถด้านการค านวณ โดยสามารถแสดงกราฟ การเปรียบเทียบพัฒนาการการเรียนรู้จากแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 การเปรียบเทียบพัฒนาการการเรียนรู้จากแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

2.2) ผลการสังเกตพฤติกรรมความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยเป็นการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ดีอันเกิดจากการจัดกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และบรรยากาศในการเรียนรู้ พบว่า สัปดาห์ที่ 1 นักเรียนไม่กล้าแสดงออก ไม่คุ้นเคยกับการเรียนที่แบ่งกลุ่มท างาน บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างเงียบ การสังเกตครั้งที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 3 พบว่า นักเรียนเริ่มซักถามครู ท างานกลุ่มด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงออกถึงความพอใจกับการเรียน สนุกสนานกับการท ากิจกรรมที่ครูมอบหมาย บรรยากาศในการเรียนแตกต่างจาก 2 สัปดาห์แรก ผู้วิจัยสังเกตครั้งที่ 3 ในสัปดาห์ที่ 5 พบว่า นักเรียนยังคงกล้าซักถามครูผู้สอน พอใจกับบรรยากาศในการเรียนบรรยากาศในการเรียน พฤติกรรมนักเรียนแสดงถึงความสนใจ ความเพียรพยายามเรียนรู้อย่างมีความสุข แสดงว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในด้านการค านวณ ช่วยส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนเกิดความสนใจความเพียรพยายาม และมีความสุขในการเรียนรู้

0

1

2

3

4

0 2 4 6 8

คะแน

นเฉล

ี่ย

นักเรียน

กราฟแสดงการเปรียบเทียบพัฒนาการการเรยีนรู้ จากแบบสังเกตพฤติกรรมการเรยีนรู้คณิตศาสตร์

ครั้งท่ี 1

ครั้งท่ี 2

ครั้งท่ี 3

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

146

อภิปรายผล 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณ จัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา โดยมีการด าเนินการอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนามาจากแนวคิดทฤษฎีและ หลักการสอนคณิตศาสตร์รวม 6 แนวคิด เป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) แนวคิดการจัดการเรียนรวม 2) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม 3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 4) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม 5) แนวคิดการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ส าหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ 6) การเรียนรู้อย่างมีความสุข นอกจากนี้กระบวนการจัด การเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยที่พัฒนาความสามารถ ด้านการค านวณ การสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี และหลักการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ส าหรับเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามแบบการเรียนรู้ของตนเอง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบรรยากาศแห่งความรัก สร้างนิสัยให้ผู้เรียนช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ อ่ืน และการร่วมกันคิดร่วมกันท าให้มากกว่าการพ่ึงพาผู้อ่ืน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ แบบพึ่งพาอาศัยกัน อันเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมที่ปรารถนา การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ที่ค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้จากกระบวนกลุ่ม การให้ผู้เรียนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน รวมทั้งประเมินความคิดของตนเองและผู้อ่ืน เนื่องจากการให้นักเรียนได้คิด พูด อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและพัฒนาความสามารถด้านการค านวณได้ดีขึ้น ซึ่งการด าเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี (2551) ที่สรุปว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ต้องผ่านการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ให้เป็นระบบ โดยค านึงถึงทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง จัดองค์ประกอบต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน เพ่ือน านักเรียนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการและสอดคล้องกับ จอยซ์ และเวลล์ (Joyce & Weil, 2004) ที่ได้กล่าวถึงข้อควรค านึงในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ว่า ผู้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ไม่ควรยึดมั่นกับทฤษฎีหรือหลักการเรียนรู้ใดเพียงอย่างเดียว ในกระบวนการด าเนินงานพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรวม และด้านการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยมี ส่วนร่วมในการก าหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ และสะท้อนความคิดเห็นจากการปฏิบัติทุกขั้นตอน โดยผู้วิจัยปรับปรุงตามข้อเสนอแนะก่อนด าเนินการในแต่ละขั้นตอน ท าให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ จอยซ์ และเวลล์ (Joyce & Weil, 2004) ที่กล่าวไว้ว่า เมื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แล้วก่อนไปใช้อย่างแพร่หลาย ต้องมีการวิจัยเพ่ือทดสอบทฤษฎีและตรวจสอบคุณภาพในสถานการณ์จริง แล้วน าข้อค้นพบมาปรับปรุงแก้ไข ดังนั้น รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ จึงสามารถน าไปใช้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ 2.1 ความสามารถในการค านวณของนักเรียน นักเรียนมีพัฒนาการความสามารถ ด้านการค านวณสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการค านวณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้เน้นการจัดการเรียนรู้ โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

147

การจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องตามแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนถนัด มีการสร้างบรรยากาศแห่งความรัก ความศรัทธา ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน สร้างนิสัยช่วยเหลือเกื้ อกูลผู้ อ่ืน สร้างความสัมพันธ์ แบบพ่ึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง จากความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมกับผู้อ่ืน พัฒนาทักษะ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้เรียนแสดงความคิดเห็น อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ สร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองด้วยความเข้าใจ มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ การปรับพฤติกรรมของผู้เรียน โดยการเสริมแรงทางบวก ส่งผลให้พัฒนาการความสามารถด้านการค านวณของนักเรียนสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงร่วมกันเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมกับผู้อ่ืน มีการเรียนรู้จากกลุ่มเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน และกับครู มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันทั้งที่เป็นกลุ่มเล็กและ กลุ่มใหญ่ โดยการสร้างสถานการณ์และบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข นักเรียนเกิดความรักความศรัทธาในคณิตศาสตร์สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนกลุ่มนี้ให้มีการพัฒนาการคิด ท าให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ดังที่ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2558) ที่กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญที่สุด คือ การเน้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และสามารถถ่ายโอนความรู้ น าความรู้ไปใช้ จัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และศักยภาพของผู้เรียน ทั้งนี้ การปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน อภิปรายตรวจสอบค าตอบ ท าให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ชัดเจน ลึกซึ้งขึ้น และเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กระบวนการจัดการ เรียนรู้ของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้ เน้นให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ตามแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ของแต่ละบุคคล พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนวิธีการ และค าตอบอย่างมีเหตุผล สามารถประเมินความคิด ตรวจสอบวิธีการ และค าตอบของตนเองตลอดเวลา สอดคล้องกับแนวคิดของ สลาวิน (Slavin, 1991) ที่กล่าวว่า การปฏิบัติกิจกรรมระหว่างสมาชิก ในกลุ่มท่ีมีความสามารถแตกต่างกัน และช่วยกันเรียนรู้จะช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี 2.2 การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างมีความสุข ครูและนักเรียนมีความเป็นกันเอง กล้าซักถามเมื่อไม่เข้าใจ ครูดูแลเอาใจใส่นักเรียนทุกคน จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว และจังหวะที่เน้นการสร้างสัมพันธภาพร่วมกันช่วยให้นักเรียนสามารถช่วยเหลือ แบ่งปันเห็นอกเห็นใจ เอ้ือเฟ้ือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมทางสังคม ทั้งนี้ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูผู้สอนยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ถ้านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีบทบาทน้อยในกลุ่ม ครูผู้สอนก็จะคอยกระตุ้นและให้ก าลังใจท าให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ดั งที่ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2558) ระบุว่า การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนเป็นปัจจัยส าคัญต่อประสิทธิภาพการสอน บรรยากาศเชิงบวกจะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดี มีความตั้งใจ ใช้เวลาในการเรียนเต็มที่ บรรยากาศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นการจัดการชั้นเรียนเป็นตัวแปรส าคัญที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัด การเรียนรู้ในบรรยากาศท่ีผ่อนคลาย มีอิสระ ยอมรับความแตกต่างของบุคคล และมีความหลากหลาย ในวิธีการเรียนรู้ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ได้

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

148

นอกจากนี้ การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ให้ท างานเป็นกลุ่มได้เรียนรู้ตามแบบ การเรียนรู้ (Learning Style) ที่ผู้ เรียนถนัดส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังที่ ขวัญเนตร คาวีวงศ์ (2555) ที่ระบุว่า ผู้เรียนทุกคนได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์ที่มีหัวใจและสมอง ผู้เรียน ควรได้มีโอกาสเลือกเรียนตามถนัด และความสนใจ ได้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ร่วมกันฝึกปฏิบัติจริงร่วมกันท ากิจกรรม โดยครูผู้สอนควรมีความเมตตา จริงใจ และอ่อนโยนต่อผู้เรียนทุกคนโดยทั่วถึง ดังที่ วิจารณ์ พานิช (2555) ที่ระบุว่า ครูต้องท าให้ศิษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเก่งหรือเด็กอ่อน เชื่อว่า ความฉลาดสร้างได้ด้วยความเพียร เด็กที่อ่อนก็สามารถเรียนรู้ได้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับ เด็กเก่ง แต่อาจต้องใช้ความเพียรมากกว่า และหากรู้จัดใช้ความเพียรสั่งสมความฉลาด ในอนาคต ก็สามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น โดยครูจะต้องคอยอยู่เคียงข้างและร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเด็กอ่อนเสมอ ไม่ทอดทิ้ง ไม่แสดงความท้อถอยที่จะช่วยโค้ชให้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง เน้นการท างานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม ให้ผู้เรียน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ตลอดจนประสานความคิดร่วมกัน เป็นบรรยากาศที่จะท าให้กิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาและสนุกสนาน จะท าให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ เกิดความรักและภูมิใจในตนเอง รู้จักปรับตัวได้ทุกที่ทุกเวลา รู้จักตนเอง เห็นคุณค่าของชีวิต และความเป็นมนุษย์ของตน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ท าให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนการเกิดการเรียนรู้ และ มีพัฒนาการความสามารถด้านการค านวณสูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ 1.1 การน ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ สามารถพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถต่าง ๆ ที่แตกต่างกันได้ดี โดยครูผู้สอนสามารถน าไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรวมในคณิตศาสตร์ และติดตามผลนักเรียนเป็นรายบุคคล 1.2 การแบ่งกลุ่มนักเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถ ด้านการค านวณ ประกอบด้วยนักเรียนทั่วไปกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้รวมกัน เพ่ือให้ช่วยเหลือกัน โดยครูผู้สอนต้องเสริมให้ก าลังใจนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนรวมกับเด็กทั่วไป ควรมีความสามารถในระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เด็กท่ีมีความต้องการพิเศษประเภทรุนแรง 1.3 การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการค านวณที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ ในแต่ละขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนสามารถพิจารณาเลือกใช้เทคนิควิธีการสอนอ่ืน ๆ ที่หลากหลายได้ตามลักษณะเนื้อหาความสามารถความถนัดและ ความพร้อมของ โดยขั้นตอนที่ส าคัญ คือ ขั้นกระตุ้นความสนใจด้วยบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Stimulation) ซึ่งถ้าสามารถสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จะเป็นปัจจัยภายนอกช่วยส่งผลท าให้สถานการณ์นั้นเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาปัจจัยภายใน คือ การใฝ่เรียนรู้ ในเชิงสร้างสรรค์ตลอดชีวิต

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

149

1.4 สิ่งส าคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม มุ่งเน้นการให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม และพยายามกระตุ้นนักเรียนให้ได้ใช้ความคิดกับสิ่งที่ตนเองท า โดยให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ของนักเรียนให้มากที่สุด โดยครูผู้สอนมีความเมตตาและอ่อนโยนต่อเด็กโดยทั่วถึง ควรสังเกตพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคลเพ่ือติดตาม ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 1.5 ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้น ครูจ าเป็นต้องมีการด าเนินการประเมิน ผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นทั้งการประเมินแบบไม่ทางการและกึ่งทางการ เพ่ือให้เหมาะสมกับลักษณะความแตกต่างอย่างหลากหลายของผู้เรียน และน าข้อมูลสารสนเทศมาพัฒนาความสามารถด้านการค านวณของผู้เรียนเป็นรายบุคคลต่อไป 1.6 ครูผู้สอนควรมีการเสริมแรงที่หลากหลาย เช่น การกล่าวค าชมเชยกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ชื่นชมความพยายาม การให้รางวัล การให้ก าลังใจเสมอ การแสดงความเชื่อในตัวผู้เรียนว่าสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งเป็นแรงขับให้นักเรียนมีก าลังใจ เกิดความสนใจในการเรียน ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนให้มีความสุขและสนุกสนานมากยิ่งข้ึน 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาการน ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้โดยท าการทดลองศึกษาเปรียบเทียบในห้องเรียนทั่วไปกับห้องเรียนรู้เรียนรวม เพ่ือศึกษาความเหมาะสม และข้อจ ากัดต่าง ๆ ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อนักเรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล 2.2 ควรท าการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และเก็บข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Time Series) เพ่ือทราบถึงพัฒนาการของความสามารถในด้านการค านวณของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) แตกต่างกัน 2.3 ควรท าการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการค านวณ ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนในมิติอ่ืน ๆ เช่น รูปแบบการรู้คิด (Cognitive Style) เป็นต้น เพ่ือเป็นการขยายองค์ความรู้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที ่124 ตอน 47 ก. หน้า 15. _________. (2554). ความรู้พื้นฐานและแนวทางการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่อง

ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. _________. (2555). แผนการจัดการศึกษาส าหรับคนพิการ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2555-2559.

เชียงใหม่: ตุลย์สตูดิโอกราฟฟิก. ขวัญเนตร คาวีวงศ์. (2555). การมีส่วนร่วมเฝ้าระวังทางสังคมเพื่อป้องกันการหนีเรียนของ

นักเรียนวัยรุ่นในเขตพื้นที่การศึกษา 2 อ าเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผดุง อารยะวิญู และสุวิทย์ พวงสุวรรณ. (2554). วิธีสอนเด็กแอลดี. นครปฐม: ไอ.คิว.บุ๊คเซ็นเตอร์.

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

150

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.

Gearheart, B. R. (1977). Learning Disabilities. (2nd ed.). The C.V. Mosby Company, Saint Louis.

Hallahan, D. P., Kauffman, J. N., & Lloyd, J. W. (1996). Introduction to Learning Disabilities. Needhan Heights. Ma, Allyn and Bacon.

Joyce, B., Weil, M. & Calhoun, E. (2004). Model of Teaching. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Swanson, H. L. (2000). Issues facing the field of learning disabilities. Learning Disabilities Quarterly. 23(1): 37-50.