37
ความชุกของการไดยินบกพรองในเด็กเล็ก (0-2 ) ที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young Children (0-2 year) at Srinagarind Hospital โดย นายแพทยภีม เอี่ยมประไพ การวิจัยนี้ถือเปนสวนหนึ่งของการศึกษาและการฝกอบรมตามหลักสูตร เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรูความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา ของแพทยสภา พุทธศักราช 2550 ลิขสิทธิ์ของภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

ความชุกของการไดยินบกพรองในเด็กเล็ก (0-2 ป) ที่มีความเสี่ยงสูง ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร

The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young Children (0-2 year) at Srinagarind Hospital

โดย

นายแพทยภีม เอี่ยมประไพ

การวิจัยนีถ้ือเปนสวนหนึ่งของการศึกษาและการฝกอบรมตามหลักสูตรเพ่ือวุฒิบัตรแสดงความรูความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาโสต ศอ นาสิกวทิยา ของแพทยสภา พุทธศักราช 2550 ลิขสิทธิ์ของภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

Page 2: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได
Page 3: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

คํารับรองจากสถาบันฝกอบรม ขาพเจาขอรับรองวารายงานฉบับนี้เปนผลงานของ นพ. ภีม เอ่ียมประไพ ที่ไดทาํการวิจัยขณะรับการฝกอบรม ตามหลักสูตรการฝกอบรมแพทยประจําบานและแพทยใชทุน สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา ภาควิชาโสต ศอ นาสกิวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน ระหวางป พ.ศ. 2548 – 2551 จริง ...................................................................... อาจารยที่ปรึกษาหลัก (............รศ. พญ. ขวัญชนก ยิ้มแต..............) ...................................................................... อาจารยที่ปรึกษารวม (..............อ. พนิดา ธนาวรัิตนานิจ..................) ...................................................................... อาจารยที่ปรึกษารวม (..........รศ. นพ. สมชาย ศรีรมโพธิ์ทอง..............) ................................................................................... (.............รศ. นพ. สงวนศกัดิ์ ธนาวิรัตนานิจ..................) หัวหนาภาควชิาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

Page 4: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

บทคัดยอภาษาไทย

ความชุกของการไดยินบกพรองในเด็กเล็ก (0-2 ป) ที่มีความเสี่ยงสูง ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร

ภีม เอ่ียมประไพ, พ.บ., ขวัญชนก ยิ้มแต, พ.บ., พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, ศศ.ม., สมชาย ศรีรมโพธิ์ทอง, พ.บ. บทนํา: การไดยินบกพรองจะสงผลกระทบตอพัฒนาการทางภาษาและการพูดโดยเฉพาะอยางยิ่งหากเกิดในชวงอายุกอนวัยหัดพูด วัตถุประสงค: เพ่ือศึกษาหาความชุก, ลักษณะการไดยนิบกพรอง และ ปจจัยเสี่ยงตอการไดยนิบกพรองที่ในกลุมเด็กเล็กที่มีความเสี่ยงสูง ณ รพ.ศรีนครินทร รูปแบบและวิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บขอมูลยอนหลังจากเวชระเบียนและผลตรวจการไดยินของเด็กเล็ก 0-2 ป ที่มคีวามเสี่ยงสูงและเขารับการตรวจการไดยนิ ณ หนวยตรวจการไดยนิ รพ.ศรีนครนิทร ระหวางวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ถึง 28 กุมภาพันธ พ.ศ.2549 ใชสถิตเิชิงพรรณนาหาความชุก ลักษณะของการไดยินบกพรอง อายุเม่ือไดรับการวินิจฉัย และใช Chi-square test และ multiple logistic regression analysis ในการวิเคราะหหาปจจัยเส่ียงที่สําคัญ ผลการศึกษา: ขอมูลของเด็กเล็ก 380 คน ไดผานการวิเคราะหและพบวาความชุกของการไดยนิบกพรอง 39 คน คดิเปน รอยละ 10.2 พบการไดยินบกพรองขางเดียว และสองขางเปน 9 และ 30 คน คดิเปน รอยละ 2.4 และ 7.8 ตามลาํดับ อายุเฉล่ียเมื่อเขารับการตรวจวินิจฉัยในกลุมผูปวยทั้งหมดเทากับ 3.63 เดือน (คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ±6.26 เดือน คาต่าํสุด 3 วัน คาสูงสุด 715 วัน) และอายุเฉล่ียเมื่อไดผลวินิจฉัยเทากับ 4.89 เดือน (คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ±7.51 เดือน คาต่ําสุด 3 วัน คาสูงสุด 970 วัน) สําหรับกลุมผูปวยที่พบการไดยินบกพรอง 39 คน อายุเฉล่ียเมื่อเขารับการตรวจวินจิฉัยเทากับ 10.96 เดือน (คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ±7.89 เดือน คาต่าํสุด 10 วัน คาสูงสุด 697วัน) อายุเฉล่ียเมื่อไดผลวนิิจฉัยเทากับ 16.51 เดือน (คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ±7.78 เดือน คาต่าํสุด 109 วัน คาสูงสุด 970วัน) การพัฒนาการทางการไดยนิและภาษาที่ลาชาเปนปจจัยเส่ียงที่มีผลมากที่สุดตอการไดยินบกพรองโดยเพิ่มอัตราเสี่ยงเปน 18 เทา ปจจัยเสี่ยงอื่นๆที่พบวามีนัยสําคญัทางสถิติไดแกเย่ือหุมสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, มีน้ําขังในชองหูช้ันกลางเกินสามเดือน, Aural atresia and/or microtia, Down’s syndrome, และการคลอดกอนกําหนด สวนการไดยาที่เปนพิษตอหูพบวาเปนปจจัยที่มีผลดีกับการตรวจการไดยนิอยางนัยสําคญัทางสถิต ิ

Page 5: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

สรุปผลการศึกษา: ความชกุของการไดยนิบกพรองจากการตรวจคดักรองการไดยนิในกลุมเด็กเล็กที่มีความเสี่ยงสูงพบไดบอยถึงรอยละ 10.2 ในการที่จะพัฒนาการตรวจวินิจฉัยเด็กที่มีการไดยินบกพรองและใหการฟนฟูสมรรถภาพไดเร็วขึ้น จึงควรตรวจคัดกรองการไดยินครอบคลุมถึงกลุมเด็กเล็กดวย คําสําคัญ: การไดยนิบกพรอง, เด็กเล็กกลุมเสี่ยงสูง, การตรวจคดักรองการไดยิน.

Page 6: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

Abstract The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young Children (0-2 year) at Srinagarind Hospital. Eiamprapai P. MD, Yimtae K. MD, Thanawirattananit P. MS, Srirompothong S. MD Department of Otorhinolaryngology, Faculty of Medicine, Srinagarind Hospital, Khonkaen University.

Introduction: Hearing impairment affects the speech and language development especially occuring in prelinguistic age. Objectives: To determine the prevalence, characteristics and risk factors for hearing impairment in high-risk young children at Srinagarind hospital. Material and Method: The data of all young children (0-2 year) who met the high-risk criteria, and were screened for hearing impairment at Audiology Clinic, Srinagarind Hospital during March 1, 2004 to February 28, 2006 were reviewed. Descriptive analysis was used for the prevalence of pathologic hearing test results, age at screening, number of risk factors per infant. Univariate analysis using Chi-square test and multiple logistic regression analysis were used for identification of significant risk factors. Results: 380 children were included. The prevalence of hearing impairment was 10.2% with unilateral and bilateral involvement in 9 and 30 (2.4%, 7.8% respectively). The mean age of first visit was 3.63 months (SD ± 6.26 months, ranged from 3 – 715 days) and the mean age of diagnosis was 4.59 months (SD ± 7.51 months, ranged from 3 – 970 days). Regarding to the hearing impaired children, the mean age of first consulted were 10.96 months (SD ± 7.86 months, range from 10 – 697 days) and the mean age of diagnosis were 16.51 months (SD ± 7.78 months, ranged from 109 - 970 days). The most crucial risk factor risk found to be significantly affected the hearing (18 folds increased risk) was delayed speech and language development. Other risk factors were bacterial meningitis, recurrence OME, aural atresia and/or microtia, Down’s syndrome, and preterm. Previous history of receiving ototoxic drug was found to be a favorable affect hearing. Conclusion: The prevalence of impairment in high risk young children is 10.2%. In order to enhance the early hearing detection and rehabilitation, hearing screening should be considered to cover this age group.

Page 7: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

Key word: Hearing impairment, High-risk young children, Hearing screening

Page 8: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

กิตติกรรมประกาศ

การวิจัยถือเปนสวนของการศึกษาตามหลักสูตรโสต ศอ นาสิก วิทยา โดยไดรับเงนิงบประมาณสนับสนนุการดาํเนินงานจากคณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน ซึ่งผูวิจัยขอขอบคุณไว ณ ที่นี ้

ความชวยเหลือที่ไดรับจากหลายทาน นับเปนสวนสําคญัที่ทําใหผลงานนี้สําเร็จลงได ทั้งการใหคําปรึกษาจาก อ.ขวัญชนก ยิ้มแต อ.พนดิา ธนาวิรัตนานจิ อ.สมชาย ศรีรมโพธิ์ทอง รวมถึง เจาหนาที่หนวยตรวจการไดยนิ ซึ่งไดใหความชวยเหลือ และอํานวยความสะดวก ในการรวบรวมขอมูลอยางดียิ่ง ผูวิจัยขอระลึกถึงความเกื้อกูลของทุกทาน ดวยความขอบคุณอยางยิ่ง

ขอขอบคุณ แพทยใชทุน-แพทยประจําบาน ภาควิชาโสต ศอ นาสิก วทิยา คณะแพทยศาสตร รพ.ศรีนครินทร

คุณจารุบตุร ธรรมเจริญ นักชีวสถิติ ผูใหคาํแนะนําดานการวิเคราะหขอมูล คุณรัฐพล ปฏิการมณฑล IT consultant บริษัท First logic ผูใหคําแนะนําดาน

โปรแกรมคอมพิวเตอร ทายที่สุด คือกําลังใจที่ไดรับจากบุคคลในครอบครัว คอื คุณพอวีระชาติ เอ่ียมประไพ

คุณแมคือ รศ.วีณา เอ่ียมประไพ และนองชาย คือ นิสิตแพทย ภรต เอ่ียมประไพ

นพ.ภีม เอ่ียมประไพ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

Page 9: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

สารบัญ

หนา คํารับรอง ข บทคัดยอภาษาไทย ค บทคัดยอภาษาอังกฤษ จ กิตติกรรมประกาศ ช สารบัญเรื่อง ซ สารบัญแผนภมูิและตาราง ฌ บทที่ 1 หลักการและเหตุผล 1 บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม 3 บทที่ 3 ระเบยีบวิธีการศึกษา 6 บทที่ 4 ผลการศึกษา 12 บทที่ 5 อภปิรายผล 18 บทที่ 6 สรุปผลการศึกษา 20 เอกสารอางอิง 21 ภาคผนวก แบบบันทึกขอมูล/แบบสอบถาม เอกสารการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย

Page 10: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

สารบัญแผนภูมิและตาราง หนา แผนภูมิที ่1 แสดงขั้นตอนการดําเนินงานวิจัย 10 แผนภูมิที่ 2 แสดงที่มาของจํานวนคนไขนําเขาวิเคราะห 11 ตารางที่1 สรุปงานวิจัยที่ศกึษาการไดยนิ 5 บกพรองในทารกที่มีปจจัยเสี่ยงตอการไดยินบกพรอง ตารางที่ 2 แสดงผลวินิจฉัยการไดยนิแจกแจงตามชนดิ 12 ของการไดยินบกพรอง ตารางที่ 3 แสดงระดับการไดยินบกพรองจากการ 13 ตรวจดวย ABR ในหูทั้งสองขาง ตารางที่ 4 แสดงจํานวนปจจยัเสี่ยงตอคน 14 ในประชากรทีศ่ึกษา ตารางที ่5 แสดงปจจัยเสี่ยงตอการไดยินบกพรอง 15 ในประชากรทีศ่ึกษา ตารางที่ 6 แสดงความสัมพนัธระหวางการไดยินบกพรอง 16 จําแนกตามปจจัยเสี่ยง ตารางที่ 7 แสดง relative risk 17

Page 11: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

1

บทที่ 1 บทนํา

ความสําคัญของปญหา การไดยนิเปนปจจัยหนึ่งที่มีความสําคัญตอการพัฒนาภาษาและการพดู ซึ่งจะสงผลตอพัฒนาการทางการเรียนรู การสื่อสาร อารมณ สังคมและพฤติกรรมของเด็ก ดงันั้นหากเด็กมีการไดยนิบกพรองตั้งแตวยักอนหัดพูดคือ 3 ขวบปแรก ซึ่งเปนชวงที่สําคัญที่สุดตอการเกิดพัฒนาการทางภาษาและการพูด ก็จะเกดิผลเสียดังกลาวขางตน แตหากเด็กไดรับการตรวจวินิจฉัยพบตั้งแตอายนุอยๆโดยเฉพาะอยางยิ่งตั้งแตชวงอายุ 0-2 ป เด็กจะไดรับการรักษาและฟนฟูสมรถภาพทางการไดยิน ภาษาและการพูด จะทําใหเด็กสามารถสื่อสารดวยการพูด เรียนรูและดํารงชีวิตในสังคมเหมือนกับเด็กปกติได ซึ่งจะชวยลดงบประมาณรายจายของรัฐบาลในการทีต่องจดัหนวยงานพิเศษหรือสถานศึกษาเฉพาะแกเด็กกลุมนี้

จากการศึกษาวิจัยที่ผานมาพบวาเด็กที่มกีารไดยนิบกพรองมีทั้งเด็กที่มีปจจัยเสี่ยงและไมมีปจจัยเสี่ยงตามเกณฑ JCIH2000 แตจะพบในเด็กกลุมที่มีปจจัยเสี่ยงมากกวากลุมที่ไมมีปจจยัเส่ียง และการศึกษาวิจัยถึงความชุกของการไดยินบกพรองในเด็กเล็กที่มีปจจัยเสี่ยงในประเทศไทยยังไมมีการศึกษามากอน ทําใหไมสามารถทราบขนาดของปญหา ดังนั้นจึงทาํการศึกษาในกลุมเด็กชวงอายุ 0-2 ปที่มีปจจยัเสี่ยงที่เขารับการตรวจวินิจฉัยการไดยนิ จากหนวยตรวจการไดยิน โรงพยาบาลศรีนครินทร ผลการศึกษาจะทําใหทราบถึงความชุก ปจจยัเสี่ยงที่มีผลตอการไดยนิบกพรอง และลักษณะของการไดยนิบกพรองในเด็กกลุมนี้ เพ่ือประโยชนในการวางแผนงานดานสาธารณสุขในการปองกันและลดปญหาความบกพรองทางการไดยิน ภาษาและการพูดได วัตถุประสงคของโครงการวิจัย

1. เพ่ือศึกษาความชุกของการไดยนิบกพรองในเด็กเล็ก (0-2ป) ที่มีความเสี่ยงสูง ณ รพ.ศรีนครินทร

2. เพ่ือศึกษาปจจัยเสี่ยงสูงตอการไดยินบกพรองที่พบบอยในเด็กเล็ก (0-2ป) ณ รพ ศรีนครินทร

3.เพ่ือศึกษาถึงลักษณะของการไดยินบกพรองในเด็กเล็ก (0-2ป) ที่มีความเสี่ยงสูง ณ รพ.ศรีนครินทร ขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยนี้ทําการศึกษาในเดก็เล็กอายุระหวาง 0-2 ปที่มคีวามเสี่ยงสูงตอการไดยินบกพรอง ซึ่งเขารับการตรวจการไดยิน ณ หนวยตรวจการไดยนิ รพ.ศรีนครินทร ในชวง 2 ป ระหวาง 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ถึง 28 กุมภาพันธ พ.ศ.2549

Page 12: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

2

คําถามงานวิจัยหลัก : ความชุกของการไดยินบกพรองในเด็กเล็ก (0-2 ป) ที่มีความเสี่ยงสูงตอการไดยนิบกพรอง ณ รพ.ศรีนครินทร เปนเทาใด

คําถามงานวิจัยรอง :

- ปจจัยเสี่ยงสูงตอการไดยนิบกพรองที่พบบอย ในเด็กเล็ก (0-2 ป) ณ รพ.ศรีนครินทร คืออะไร

- ลักษณะของการไดยนิบกพรองในเด็กเล็กที่มีความเสี่ยงสูงตอการไดยินบกพรอง ณ รพ.ศรีนครินทรเปนอยางไร

Page 13: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

3

บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม

ปจจัยที่มีผลตอพัฒนาการทางภาษาและการพูดมีหลายประการ ไดแกการไดยิน สมอง ระดับสติปญญา การรับรู การเลี้ยงดู สภาพสังคมรอบตัว แตปจจัยทีม่ีผลมากที่สุดคือการไดยิน1 โดยเฉพาะอยางยิ่งหากมีการไดยินบกพรองตั้งแตอายุนอยๆกอนที่จะมีพัฒนาการทางภาษาและการพูด ทั้งนี้มกีารศึกษาที่ระบุวาเด็กที่มีการไดยินบกพรองจะมีพัฒนาการทางดานภาษาและการพูด สตปิญญา การเรียนรู พัฒนาการทางอารมณและสังคมชากวาเด็กวัยเดียวกันที่มีการไดยนิปกต2ิ ผลจากการศึกษาระบวุาเด็กที่ไดรับการตรวจวินิจฉัยพบการไดยินบกพรองและไดรับการฟนฟูสมรรถภาพทางการไดยินแตเนิน่ๆ จะสามารถมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดใกลเคียงกบัเด็กปกต ิดังเชนการศึกษาของ Yoshinaga Itano ในป ค.ศ. 19983 พบวาในกลุมเด็กที่ไดรับการวินิจฉัยการไดยินบกพรองกอน 6 เดอืนและไดรับการฟนฟูสมรรถภาพทางการไดยินภายใน 2 เดือนโดยไมมคีวามพิการซ้าํซอน จะมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดในเกณฑปกติ (low normal range) เม่ือประเมินเปนระยะถึงอายุหาขวบ สวนการศึกษาของ Moeller MP ในป ค.ศ.20004 ระบุวาในเด็กกลุมทีไ่ดรับการวินจิฉยักอน 11 เดอืนและไดรับการฟนฟูสมรรถภาพทางการไดยิน จะมีพัฒนาการทางภาษาดีกวากลุมที่ไดรับการวินิจฉัยหลัง 11 เดือน อยางมนีัยสําคัญทางสถิติ

อยางไรก็ตามจากหลายๆการศึกษาไดเสนอแนะใหมีการตรวจวินิจฉัยหาการไดยินบกพรองในเดก็อยางชาไมควรเกิน 3 ป เนื่องจากจะยังอยูในชวงสําคญั(critical period)ของพัฒนาการทางภาษาและการพูด 2,5 ในแงปจจัยที่มีผลตอพัฒนาการทางภาษาหลังไดรับการวินจิฉยัและฟนฟูสมรรถภาพทางการไดยิน จะพบวา อายุทีไ่ดรับการฟนฟูสมรรถภาพ ระดบัการสูญเสียการไดยนิที่ตรวจพบจะมีผลตอพัฒนาการทางภาษาอยางมีนัยสําคัญ2-3 ปจจัยอื่นที่พบวาอาจมีผลตอพัฒนาการทางภาษา ไดแก ความเอาใจใสของผูปกครองหรือผูดูแลเด็ก โปรแกรมการฟนฟูสมรรถภาพทางการไดยินและการพูด และวิธีการสื่อสาร เปนตน3 จากการศึกษาความชุกของการไดยนิบกพรองพบวา ในทารกแรกเกิดปกติอยูที่ 1-2 คน ตอทารกแรกเกิด 1,000 คน โดยจะมีความแตกตางกันเล็กนอยในแตละประเทศ เชน Mehl และ Thompson6 ศึกษาในประเทศสหรัฐ ป ค.ศ.2002 จากกลุมตัวอยาง 148,240 คน พบความชุก 1.54 คน ตอ 1,000 คน Chapchap7 ศึกษาในประเทศบราซิล ป ค.ศ. 2001 จากกลุมตัวอยาง 4,631 คน พบความชุก 2.3 คน ตอ 1,000 คน Russ และคณะ8 ศึกษาในประเทศ Australia ป ค.ศ.2002 จากกลุมตัวอยาง 63,454 คน พบความชุก 1.12 คน ตอ 1,000 คน และ Lin และคณะ9 ศึกษาใน ไตหวัน ป ค.ศ. 2002 จากกลุมตัวอยาง 6,765 คน พบความชุก 1.33 คน ตอ 1,000 คน ความชุกของการไดยินบกพรองจะมีคาใกลเคียงกันระหวางประเทศที่พัฒนาแลวกับประเทศที่กําลังพัฒนา และใกลเคียงกับผลการศึกษาในประเทศไทยของจันทรชัย

Page 14: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

4

เจรียงประเสริฐและคณะ10 ซึ่งทําการตรวจคัดกรองการไดยินทารกแรกเกิดแบบครอบคลุมจํานวน 6,342 รายที่โรงพยาบาลรามาธิบดี พบวา ความชุกของการไดยนิบกพรองในทารกแรกเกิดมีคาเทากับ 1.76 คน ตอ 1,000 คน คาความชุกของการไดยินบกพรองในแตละชวงอายุจะไมเทากัน โดยสมชาย ศรีรมโพธิ์ทอง และคณะ11 รายงานคาความชุกของการไดยนิบกพรองในเด็กอายุ 1 ปครึ่ง -5 ป มีจํานวนเทากับ 134 คน ตอ 1,000 คน และ Niskar AS12รายงานคาความชุกของเด็กกลุมอายุ 6-19 ป มีจํานวนเทากับ 149 คน ตอ 1,000 คน ดงันั้นจะเห็นไดวาในกลุมอายุที่มากขึ้นจะพบคาความชุกที่สูงข้ึน ซึ่งงานวิจัยของ Fortnum HM13 ระบุวา คาความชุกของการไดยินบกพรองจะสูงข้ึนโดยแปรผันตามกลุมอายุที่ทําการศึกษา เนื่องจากมีโรคบางอยางที่ไมไดเปนแตกําเนดิและเปนสาเหตุของการไดยินบกพรอง เชน meningitis, persistent OME, head injury ซึ่งโรคบางชนิดในกลุมนี้สามารถปองกันได นอกจากนี้ในหลายๆการศกึษา พบวาความชุกของการไดยินบกพรองในกลุมที่มีปจจัยเส่ียงตอการไดยินบกพรองมีมากกวากลุมที่ไมมีปจจัยเส่ียง ดังเชนการศึกษาของ Stilianos E14ในปค.ศ. 1997 พบการไดยินบกพรองในกลุมทารกที่มี craniofacial anomaly และ hyperbilirubinemia มากกวาทารกปกติอยางมีนัยทางสถิติ Van Riper LA 15 ป ค.ศ.1999 ศึกษาความชุกของการไดยนิบกพรองในกลุมประชากรที่มีปจจยัเสี่ยง พบวามีคาเทากับ 54 คน ใน 1,000 คน และ craniofacial anomaly เปนปจจัยเสี่ยงที่พบไดบอยที่สุด ซึ่งสอดคลองกับผลการศึกษาของ Meyer C16 ในป 1997 ที่รายงานความชุกไวที่ 53 คน ใน 1,000 คน และ craniofacial anomaly เปนปจจัยเสี่ยงที่พบไดบอยที่สุด สําหรับประเทศไทย พิมล ศรีสุภาพ

และคณะ17 ไดรายงานผลในป ค.ศ. 2005 วาคาความชุกของการไดยินบกพรองของทารกแรกเกิดที่มีปจจัยเสี่ยง เทากับ 64 คน ใน 1,000 คน และพบวา Craniofacial anomaly หรือประวัติการไดรับ mechanical ventilation นานกวา 5 วัน เปนปจจัยเส่ียงตอการไดยินบกพรองอยางมีนัยสําคัญทางสถิต ิ(ดังแสดงในตารางที่ 1) การศึกษาที่กลาวมาทั้งหมดใชเกณฑคดัเลือกทารกแรกเกิดตามปจจัยเสี่ยงของ JCIH 1994 และไมครอบคลุมในกลุมเดก็เล็ก นอกจากนี้การใชปจจยัเส่ียงเพียงอยางเดียวในการคนหาเด็กที่มกีารไดยนิบกพรอง อาจครอบคลุมเฉพาะในประชากรกลุมเล็ก และตรวจพบไดเฉพาะเด็กที่มีการไดยินบกพรองรุนแรง18-19 ทําใหคณะกรรมการ JCIH ไดประชุมตกลงกันใหใชปจจัยเสี่ยงใหมที่ประกาศขึ้นในป ค.ศ. 200020 สําหรับประเทศที่ไมสามารถใหบรกิารตรวจคดักรองการไดยินบกพรองในทารกแรกเกิดแบบครอบคลุม ใชเพ่ือเปนแนวทางในการคนหาเด็กทีม่ีการไดยนิบกพรองไดตั้งแตอายุนอย และใหการฟนฟสูมรรถภาพการไดยินในชวงเวลาที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางการพูดและภาษา

สําหรับในประเทศไทยนัน้ เนื่องจากลักษณะทางสังคมและนโยบายสาธารณสุขที่ยังไมมีแนวทางการตรวจคัดกรองการไดยนิในทารกแรกเกิดที่ชัดเจน ผูปกครองจึงมักตระหนักถึงความผิดปกติทางการไดยนิชา สวนใหญมักจะมาพบแพทยเม่ือเด็กไมพูดเมื่อถึงวัย พูดชาไมสมวัย หรือ

Page 15: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

5

พูดไมชัด บางครั้งก็ลวงเลยจนเกินชวงอายุ 3 ปไป ประกอบกับยังขาดแคลนทั้งบุคลากรและเครื่องมือจึงอาจไมสามารถเริ่มทําการฟนฟูสมรรถภาพทางการไดยินไดภายใน 2 เดือนหลังตรวจพบการไดยินบกพรอง ชวงอายุ 0-2 ปจึงเปนชวงที่ควรไดรับการตรวจวินิจฉัยการไดยิน งานวิจัยนี้ทําการศึกษากลุมเด็กเล็ก อายุ 0-2 ปที่มีปจจยัเสี่ยงตอการไดยินบกพรองโดยคาดหวังวาผลการศึกษาจะทําใหทราบขนาดของปญหา ปจจัยเสี่ยงของการไดยินที่พบบอย และลักษณะของการไดยินบกพรองที่พบ เพ่ือนําขอมูลไปใชประโยชนในการวางแผนงานดานสาธารณสุขตอไป

ตารางที่ 1 สรุปงานวิจัยที่ศึกษาการไดยินบกพรองในทารกที่มีปจจัยเสี่ยงตอการไดยินบกพรอง

งานวิจัย จํานวนประชากรที่ศึกษา

อุบัติการณการไดยินบกพรอง

(รอยละ)

ปจจัยเสี่ยงที่มีนัยสําคัญทางสถิติ

Srisuparp P.17

2005 507 6.7 -Craniofacial anomaly

-ตองการเครื่องชวยหายใจเกินหาวัน

Van Riper LA 15

1999 2103 5.4 -Craniofacial anomaly

-กลุมอาการตางๆ -Asphyxia/Hypoxia

Meyer C16 1997 777 5.0 -Craniofacial anomaly -ประวัติการไดยินบกพรองในครอบครัว -ติดเชื้อแบคทีเรีย

Stilianos E14 1997

ไมไดรายงาน ไมไดศึกษา -Craniofacial anomaly -ตัวเหลือง (hyperbilirubinemia) -เขารับการรักษาใน หองอภิบาลทารกแรกคลอด -respiratory distress syndrome -retrolental fibroplasia.

Page 16: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

6

บทที ่3 ระเบียบวิธีวิจัย

งานวิจัยนี้เปนงานวิจัยแบบการเก็บขอมูลยอนหลังเชิงพรรณนา ทําการศึกษาในเด็กเล็ก

อายุระหวาง 0-2 ปที่มีความเสี่ยงสูงตอการไดยินบกพรอง ซึ่งเขารับการตรวจการไดยิน ณ หนวยตรวจการไดยิน รพ.ศรีนครินทร ในชวง 2 ป ระหวาง 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ถึง 28 กุมภาพันธ พ.ศ.2549 ประชากรตวัอยาง: เด็กแรกเกิดจนถึง 2 ป ที่เขารับการตรวจการไดยินที่แผนกผูปวยนอก หู คอ จมูก โรงพยาบาลศรีนครินทร โดยขั้นแรกเด็กจะไดรับการตรวจการไดยนิดวยเครื่องตรวจคัดกรองการไดยินแบบ TEOAE รวมกับการตรวจ behavioral audiometry ทุกราย ในกรณีที่ผลการตรวจการไดยนิผดิปกติ เด็กจะไดรับการตรวจซ้าํดวย เครื่องตรวจคัดกรองการไดยนิแบบ TEOAE รวมกับ tympanogram และการตรวจวินจิฉัยยืนยันดวยการไดยินระดับกานสมอง (Auditory Brainstem response) ทุกรายเพื่อหาระดบัการไดยิน

เกณฑในการคดัผูปวยเขาในการศึกษา (Inclusion criteria) - เด็กเล็ก อายุ 0-2 ป ที่เขารับการตรวจการไดยินครั้งแรก ในระยะที่ทาํการศึกษา คอื

1 มีนาคม พ.ศ. 2547 ถึง 28 กุมภาพนัธ พ.ศ.2549 - เด็กเล็กอายุ 0-2 ป ที่มีปจจยัเสี่ยงตอการไดยินบกพรองตามเกณฑของ JCIH 2000 เกณฑในการคดัผูปวยออกจากการศึกษา (Exclusion criteria) - เด็กเล็กอาย ุ0-2ปที่มีภาวะเจ็บปวยดวยโรคที่มีผลทําใหการไดยนิบกพรอง

เพียงชั่วคราว ไดแก impacted cerumen, acute otitis media, ส่ิงแปลกปลอมในรหูู เปนตน

- ผูปวยที่ไมสามารถติดตามเวชระเบียนมาได

นิยามศัพท การไดยนิปกติ หรือ Normal hearing หมายถึง ผลตรวจการไดยินอยูในเกณฑดงัตอไปนี ้- ผลตรวจการสงัเกตพฤติกรรมการตอบสนองตอเสียง(behavioral observation

audiometry; BOA) พบมีการตอบสนองตอเสียง และ ผลตรวจคดักรองการไดยินดวย OAEs ไดผลผาน หรือ

- ผลตรวจการสงัเกตพฤติกรรมของการหันหาเสียง (visual reinforcement audiometry; VRA) มีการตอบสนองทีค่วามดัง 25-30 dB และผลตรวจคดักรองการไดยนิดวย OAEs ไดผลผาน หรือ

Page 17: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

7

- ผลตรวจการไดยินระดบักานสมอง (Auditory brainstem response; ABR) โดยการปลอยเสียงกระตุนผานทางอากาศ พบ wave V ที่ระดับความดังของเสียงกระตุนนอยกวาหรือเทากับ 25 dB

การไดยนิบกพรอง หรือ Hearing impairment หมายถึงผลตรวจการไดยินอยูในเกณฑ

ดังตอไปนี ้- ผลตรวจการไดยินระดบักานสมอง (Auditory brainstem response; ABR) พบ

wave V ที่ระดับความดังของเสียงกระตุนโดยการปลอยเสียงกระตุนผานทางอากาศ มากกวา 25 dB และผลตรวจวัดสมรรถภาพหูช้ันกลาง (Tympanometry) ได type A tympanogram หรือ

- ในกรณีที่ไมมชีองหูและมีผลตรวจการไดยินระดับกานสมอง (Auditory brainstem response; ABR) ของเสียงกระตุนโดยการปลอยผานทางอากาศ และของเสียงกระตุนโดยการปลอยผานทางกระดูก พบ wave V จากการปลอยเสียงกระตุนทางอากาศอยูที่ระดบัความดังของเสียงกระตุน มากกวา 25 dB

-ระดับการไดยิน หมายถึง การวินิจฉัยระดับความรุนแรงของการไดยินบกพรอง ดวยคาประมาณการไดยินจากการตรวจ ABR ดังนี1้5

1. ความดัง 30-49 dB หูตึงเล็กนอย 2. ความดัง 50-69 dB หูตึงปานกลาง 3. ความดัง 70-90 dB หูตึงมาก 4. ความดังมากกวา 90 dB หูตึงรุนแรง หรือ หูหนวก -เด็กเล็ก (young children) หมายถึง ทารกแรกเกิด จนถึงอายุ 2 ป -ปจจัยเสี่ยงสูงตอการไดยินบกพรอง: ยึดตามเกณฑของ Joint committee on Infant Hearing screening ป 2000 (JCIH 2000) ดังนี2้0

สําหรับทารกแรกเกิดถึง 28 วัน 1) มีประวัติครอบครัวที่มีการไดยนิบกพรองแตกําเนดิ 2) Congenital perinatal infection (CMV, Rubella, Herpes, Toxoplasmosis,

Syphilis) 3) มีความผดิปกติของศีรษะและใบหนา โดยเฉพาะการผิดรูปของใบหูและชองหู 4) มีลักษณะที่บงบอกถึงกลุมอาการผดิปกติแตกําเนดิที่มีการไดยนิบกพรองรวม

ดวย

Page 18: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

8

5) มีภาวการณเจ็บปวยหรือจําเปนตองไดรับการรักษาในหออภบิาลทารกแรกเกิดเกินกวา 48 ช่ัวโมง

สําหรับทารกอายุ 29 วัน จนถึง 2 ป 1) พอแมหรือผูดูแลสังเกตวาเด็กมีการไดยินบกพรองหรือมีการพัฒนาทางการ

พูดและภาษาลาชา 2) มีประวัติครอบครัวที่มีการไดยนิบกพรองแตกําเนดิ 3) มีลักษณะที่บงบอกถึงกลุมอาการผดิปกติแตกําเนดิที่มีการไดยนิบกพรองรวม

ดวย 4) มีประวัตติดิเชื้อหลังคลอด ซึ่งสัมพันธกับ SNHL รวมถึง bacterial

meningitis 5) Congenital perinatal infection (CMV, Rubella, Herpes, Toxoplasmosis,

Syphilis) 6) มีประวัติเจ็บปวยที่สําคญัในชวงแรกเกิดจนถึงอายุ 28 วัน เชน

- Hyperbilirubinemia จนไดรับการเปลี่ยนถายเลือด - Persistent pulmonary hypertension ในทารกที่ใส ventilator - มีความจาํเปนตองใช Extracorporeal membrane oxygenation (ECMO)

7) มีกลุมอาการที่สัมพันธกับ progressive hearing loss เชน neurofibromatosis

8) Neurodegenerative disease 9) Head injury 10) Recurrent or persistent OME นานอยางนอย 3 เดือน

ขนาดกลุมตวัอยาง ใชสูตรคํานวณขนาดตัวอยาง n = Z2

α/2 PQ/d2 n คือ ขนาดตัวอยางสําหรับงานวิจัย Zα/2 = คา Z ที่ระดับ alpha error two tailed รวมกันเทากับ 0.05 =1.96

P = Prevalence ของความพิการทางการไดยินในกลุมที่มีปจจัยเสี่ยง Q = (1-P) d = คาความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได (beta error)

Page 19: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

9

จากการทบทวนงานวิจัยที่ผานมา พบวา คาความชุกของการเกิดการไดยินบกพรองในทารกแรกเกิดที่มีปจจัยเสี่ยงเทากับ 5.4%14-16 และคํานวณขนาดตัวอยางเปรียบเทียบที่คา d ระหวาง 1-10% ดังตารางขางลาง

Z^2 P Q d d^2 N 10%error 3.8416 0.05 0.95 0.1 0.01 18.25 5%error 3.8416 0.05 0.95 0.05 0.0025 72.99 4%error 3.8416 0.05 0.95 0.04 0.0016 114.04 3%error 3.8416 0.05 0.95 0.03 0.0009 202.75 2%error 3.8416 0.05 0.95 0.02 0.0004 456.19 1%error 3.8416 0.05 0.95 0.01 0.0001 1824.76

เลือกที่คาความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับไดเทากับรอยละ 2 ขนาดประชากรตัวอยางเทากับ 457

คน เนื่องจากเปนจํานวนที่สามารถครอบคลุมประชากรตวัอยางที่มีในโรงพยาบาลศรนีครินทรไดเพียงพอและสามารถทําใหดาํเนินการวิจัยได

เทคนิคการสุมตัวอยาง (Sampling techniques) อาศัยการสุมแบบโควตา (Quota sampling) โดยคํานวณคา sample size ไวที่ 457 เม่ือได

ประชากรกลุมที่จะศึกษา ก็ทาํการบนัทึกขอมูลเรียงตามชวงเวลาที่เขารับการตรวจครั้งแรก จนครบตามขนาดตัวอยางทีค่ํานวณได

ขั้นตอนการดําเนินงานวิจัย

1. รวบรวมขอมูล อันไดแก ช่ือ, HN วันที่เขารับการตรวจ ของผูเขารับการตรวจการไดยนิ ณ หองตรวจการไดยิน รพ.ศรีนครินทร ในชวงเวลาที่ตองการศึกษา ติดตามเวชระเบียนผูปวยนอกและผูปวยใน ตดิตามได 462 เวชระเบียน เรียงตามระยะเวลาที่เขารับการตรวจ

2. บันทึกขอมูลประวัติการตั้งครรภ การคลอด การเจ็บปวย การตรวจรางกาย การตรวจประเมินพัฒนาการ ผลตรวจทางหองปฏิบัติการ ผลตรวจการไดยิน ลงแบบบันทึกขอมูลที่ไดออกแบบไว

3. ทําการแปลงขอมูลจากแบบบันทึก ดวยโปรแกรม Scanverify อันเปนนาํเขาขอมูลโดยใชเครื่อง scanner (Optical recognition) ขอมูลที่ไดจะสามารถเขาใชงานโดยโปรแกรม Scanpurify ขอมูลจะแสดงในรูป split sheet

4. ทําการสุมตรวจขอมูลที่ผานการ scan เทียบกับแบบบนัทึก 20% 5. หลังเก็บขอมูลไดครบตาม sample size ใช function export เพ่ือแปลงขอมูล

Page 20: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

10

เขาโปรแกรม SPSS 11.5 เพ่ือการวิเคราะหขอมูลเชิงสถิติ และทําการคัดแยกขอมูล ที่ยังไมไดผลการวินิจฉัยที่แนนอน

6. วิเคราะหขอมูล - หาความชุก ใชสถิติเชิงพรรณนาหา ความถี่และรอยละ - หาปจจัยเสี่ยงตอการไดยินบกพรองที่มากที่สุด ใช function cross

tabulation และ - หาความเกี่ยวเนื่องระหวางปจจัยเสี่ยงกับการไดยนิบกพรองดวย

chi-square วิเคราะหหา relative risk

แผนภูมิที ่1 แสดงขั้นตอนการดําเนินงานวิจัย

รวบรวมขอมูล จาก เวชระเบียนผูปวยนอก

บันทึกลงแบบบันทึกที่ออกแบบไว

แปลงขอมูลจากแบบบันทึก

ตรวจสอบขอมูลที่ผานการแปลง

พบขอผิดพลาด ไมพบขอผิดพลาด

วิเคราะหขอมูล

รายงานการวิจัย

แกไขขอมูลโดยยึดตามขอมูลจากเวชระเบียนผูปวยนอก

Page 21: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

11

แผนภูมิที่ 2 แสดงที่มาของคนไขที่นาํเขาวิเคราะห

จํานวนผูเขารับการตรวจการไดยินในชวงท่ีศึกษา

n = 793

บันทึกลงแบบบันทึก n = 462

ติดตามเวชระเบียน ได 462 จาก รายชื่อ

ื่

จํานวนขอมูลท่ีนํามาวิเคราะหn =380

ผูปวยขาดการติดตามการรักษาระหวางเก็บขอมูล = 82

Page 22: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

12

บทที่ 4 ผลการศึกษา

ในชวงระยะเวลาที่ทําการศึกษา คือ 1 มนีาคม พ.ศ.2547 ถึง 28 กุมภาพันธ พ.ศ.2549 มีเด็กเล็กที่มีปจจัยเสี่ยงสูงตอการไดยนิบกพรองเขารับการตรวจการไดยินที่หนวยตรวจการไดยิน รพ.ศรีนครินทร จํานวน 793 คน จากการสุมเพื่อเก็บขอมูล 462 คน ในจํานวนนี ้มผีูปวยที่ขาดการติดตอกอนไดรับการวินจิฉัยที่แนนอน 82 คน คิดเปนรอยละ 17.7 ของขอมูลที่บันทึก ผูปวยที่นํามาวิเคราะหมีจํานวน 380 คน เปนเพศชาย 217 คน คดิเปนรอยละ 63.6 เพศหญิง 163 คน คิดเปนรอยละ 46.3 เปนเด็กที่มีอายุระหวาง 0-28 วันจาํนวน 189 คน คิดเปนรอยละ 49.7 เปนเด็กที่มีอายุระหวาง 29 วัน – 2 ปจํานวน 191 คน คดิเปนรอยละ 50.3 ความชุกของการไดยินบกพรอง

จากผลการตรวจวินิจฉัย ผูปวยจํานวน 380 คน พบการไดยินบกพรอง 39 คน คิดเปนรอยละ 10.2 พบการไดยินบกพรองขางเดียว และสองขางเปน 9 และ 30 คน คดิเปน รอยละ 2.4 และ 7.8 ตามลําดบั การไดยินบกพรองเกิดจากการนําเสียงเสื่อม 5 คน (รอยละ 1.3), ประสาทหูเสื่อม 31 คน (รอยละ 8.2), ความผดิปกติแบบผสม 2 คน (รอยละ 0.5) และความผิดปกติแบบผสมรวมกับประสาทหูเสื่อม 1 คน (รอยละ 0.3) ดังแสดงในตารางที่2

ตารางที่ 2 แสดง ผลวินิจฉยัการไดยินแจกแจงตามชนดิของการไดยนิบกพรอง

ชนิดของการไดยิน จํานวน รอยละ การไดยนิปกต ิ 341 89.7 การนําเสียงเสื่อมในหูขางเดียว 3 0.8 การนําเสียงเสื่อมในหูสองขาง 2 0.5 ประสาทหูเสื่อมในหูขางเดียว 4 1.1 ประสาทหูเสื่อมในหูสองขาง 27 7.1 ความผิดปกติแบบผสมในหูขางเดียว 2 0.5 ความผิดปกติแบบผสมในหูขางหนึ่งและประสาทหูเสื่อมในหูอีกขาง 1 0.3

รวม 380 100.0

ระดับความรุนแรงของการไดยินบกพรอง เด็กที่มีการไดยินบกพรองในหูทั้งสองขางและจัดวามีความพิการทางการไดยนิ (Hearing disability) ตามเกณฑสากล (ระดับการไดยินในหูขางทีด่ีมีคาตั้งแตหูตึงเล็กนอยข้ึนไป) พบทั้งส้ิน

Page 23: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

13

30 คน คิดเปนรอยละ 7.8 ของเด็กทั้งหมด ในจํานวนนีพ้บความพิการทางการไดยนิระดบัหูตึงปานกลางขึ้นไปซึ่งสามารถไดรับการสนบัสนุนเครื่องชวยฟงตามกฎหมายของประเทศไทย 25 คน คิดเปนรอยละ 6.6 ของเด็กทั้งหมด โดยพบวามีความพิการทางการไดยินระดบัหูตึงปานกลางจํานวน 2 คน คิดเปนรอยละ 6.7 ของเด็กพิการที่จะไดรับเครื่องชวยฟง ระดับหตูึงมากจํานวน 7 คน คดิเปนรอยละ 23.3 ของเด็กพิการที่จะไดรับเครื่องชวยฟง และระดับหูหนวกจาํนวน 16 คน คิดเปนรอยละ 53.3 ของเด็กพิการที่จะไดรับเครื่องชวยฟง รายละเอียดของระดับการไดยินในหูแตละขางสามารถแจกแจงไดดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงระดับการไดยินบกพรองจากการตรวจดวย ABR ในหูทั้งสองขาง

ระดับการไดยนิหูซาย (คน) รวมหูขวา

ไดยินปกติ

หูตึงเล็กนอย

หูตึงปานกลาง

หูตึงมาก หูหนวก

ระดับการไดยินหูขวา(ตามการตรวจ ABR) (คน)

ไดยินปกติ 0 0 1 2 1 4 หูตึงเล็กนอย (30-49 dB) 0 2 0 2 0 4

หูตึงปานกลาง (50-69 dB) 1 1 2 0 0 4

หูตึงมาก (70-90 dB) 3 0 0 5 1 9

หูหนวก (>90 dB) 1 0 0 1 16 18

รวมหูซาย 5 3 3 10 18 39

อายุที่เขารับการตรวจการไดยิน และอายุที่ไดรับการวินิจฉัย ผูปวยที่มีการไดยินบกพรองทั้งหมด 39 คน พบเปนทารกอายุระหวาง 0 - 28 วันเพียง

จํานวน 4 คน คิดเปนรอยละ 10.3 ที่เหลือเปนเด็กที่มีอายุระหวาง 29 วัน – 2 ปจํานวน 35 คน คิดเปนรอยละ 89.7 อายุเฉล่ียเมื่อเขารับการตรวจวินิจฉัยในกลุมผูปวยทั้งหมดเทากับ 3.63 เดือน (คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ±6.26 เดือน คามัธยฐานเทากับ 7 วัน คามัชฌิมเทากับ 29 วัน, คาสูงสุด 715 วัน คาต่าํสุด 3 วัน) และอายุเฉล่ียเมื่อไดผลวินิจฉัยเทากับ 4.89 เดือน (คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ±7.51 เดือน คาสูงสุด 970 วัน คาต่าํสุด 3 วัน) สําหรับกลุมผูปวยที่พบการไดยินบกพรอง 39 คน อายุเฉล่ียเมื่อเขารับการตรวจวินิจฉัยเทากับ 10.96 เดือน (คามัธยฐาน คามัชฌมิเทากับ 304 วัน, คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ±7.89 เดือน,คาสูงสุด 697วัน คา

Page 24: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

14

ต่ําสุด 10 วัน) อายุเฉล่ียเมื่อไดผลวินิจฉัยเทากับ 16.51 เดือน คามธัยฐาน 509 วัน คามัชฌิม 109 วัน (คาเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ ± 7.78 เดือน คาสูงสุด 970วัน คาต่ําสุด 109 วัน)

ปจจัยเสี่ยงตอการไดยินบกพรอง ประชากรเขารับการตรวจการไดยิน มีปจจัยเสี่ยงตั้งแต 0-7 ปจจัยเสี่ยงตอคน โดยพบมากที่สุดคือ 2 ปจจัยเสี่ยงตอคนดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 แสดงจํานวนปจจยัเสี่ยงตอคน ในประชากรทีศ่ึกษา

จํานวนปจจัยเสี่ยง จํานวนผูปวย รอยละ ไมไดระบ ุ 8 2.10

1 85 22.0 2 107 28.15 3 81 21.31 4 62 16.3 5 29 7.63 6 7 1.84 7 1 0.26 รวม 380 100

ปจจัยเสี่ยงตอการไดยนิบกพรองที่มีผลใหกุมารแพทย หรือ โสต-ศอ-นาสิกแพทย พิจารณาสงคนไขเขารับการตรวจการไดยนิแยกตามกลุมอายุแสดงในตารางที่ 5 ปจจัยเสี่ยงที่พบบอยสี่อันดบัแรก คือ การไดรับ ototoxic drug ,การคลอดกอนกาํหนด,น้ําหนักตัวนอย และ ตองใชเครื่องชวยหายใจเปนเวลานานกวา 48 ช่ัวโมง ตามลําดบั นอกจากนี้ยังพบวา ในกลุมคนไขที่มีปจจัยเส่ียงที่พบแตแรกเกิด เชน คลอดกอนกําหนด,น้าํหนักตัวแรกเกดินอยและนอยมาก,ตองการเครื่องชวยหายใจเกิน 48 ช่ัวโมง มากกวารอยละ 50 เขารับการตรวจการไดยินหลังระยะแรกเกิด (0-28 วัน)

Page 25: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

15

ตารางที ่5 แสดงปจจัยเสี่ยงตอการไดยินบกพรองในประชากรที่ศึกษาแยกตามกลุมอายุ ปจจัยเสี่ยง จํานวน

คน (รอยละ) กลุม 0-28 วัน คน (รอยละ)

กลุม 29 วัน-2 ป คน (รอยละ)

ไดรับยาที่เปนพิษตอหู 245 (64.47) 160 (65.3) 85 (34.69) คลอดกอนกําหนด 147(38.68) 59 (40.13) 88 (59.9) น้ําหนักตัวแรกเกิดนอย (1500-2500 กรัม) 87(22.89) 40 (45.97) 47 (54) ตองการเครื่องชวยหายใจเกิน 48 ชั่วโมง 74(19.47) 20 (27) 54 (72.9) พัฒนาการทางการพูดและภาษาลาชา 67(17.63) 1 (1.49) 66 (98.5) น้ําหนักตัวแรกเกิดนอยมาก(<1500 กรัม) 42(11.05) 5 (11.9) 36 (85.71) ติดเชื้อในกระแสเลือด(Neonatal sepsis) 30(7.89) 8 (26.66) 22 (73.33) กลุมอาการ Down’s 15(3.94) 1 (6.66) 14 (93.33) น้ําหนักตัวแรกเกิดมาก (Overweight > 4000 กรัม)

15(3.94) 12 (80) 3 (20)

โรคติดเชื้อระหวางตั้งครรภ อ่ืนๆ ที่พบ คือ Hepatits B infection

13(3.42) 13 (100) 0

คลอดเกินกําหนด 11(2.89) 9 (81.8) 2 (18.18) การติดเชื้อแรกคลอดอื่นๆ (infected VP shunt และ subcutaneous fat necrosis)

8(2.10) 4 (50) 4 (50)

Microtia and/or aural atresia 7(1.84) 1 (14.28) 6 (85.71) มีประวัติพิการหูหนวกและ/หรือ เปนใบในครอบครัว

6(1.57) 4 (66.67) 2 (33.34)

ภาวะผิดปกติที่ตรวจพบในระหวางฝากครรภอ่ืนๆ เชน maternal low platelet, on IVIG, No ANC, maternal Chickenpox, DM /maternal SLE

6(1.57) 6 (100) 0

เยื่อหุมสมองอักเสบ 4(1.05) 1 (25) 3 (75) Antenatal VDRL +ve 2(0.52) 2 (100) 0 Exchange transfusion due to hyperbilirubinemia

4(1.05) 3 (75) 1 (25)

มีน้ําขังในหูชั้นกลางนานเกิน 3 เดือน 10 (2.63) 0 (0) 10 (100)

ในการศึกษานีไ้มพบผูปวยที่มีปจจัยเสี่ยงเนื่องจาก ประวัติการตดิเชื้อ CMV, Rubella, Herpes, Toxoplasmosis ระหวางตั้งครรภ, กลุมอาการที่สัมพันธกับ progressive hearing loss, Neurodegenerative disease, head injury

Page 26: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

16

จากผลการคาํนวณความสมัพันธระหวางปจจัยเสี่ยงกับการไดยนิ พบวา ประวัติการไดรับยาที่เปนพษิตอหู และการคลอดกอนกาํหนดมคีวามสัมพันธกับการไดยินบกพรองโดยมีระดับนัยสาํคัญทางสถติิที ่ 0.05 สวนปญหาพัฒนาการทางการพูดและภาษาลาชา กลุมอาการ Down’s มีน้ําขังในหูช้ันกลางนานเกนิ 3 เดอืน aural atresia รวมกับ microtia และประวัติการติดเชื้อเยื่อหุมสมองอักเสบ มีความสัมพันธกับการไดยินบกพรองโดยมีระดับนัยสําคญัที่ 0.001 ปจจยัเสี่ยงอื่นๆที่เหลือไมพบความสัมพันธกับการไดยนิบกพรองอยางมีนัยสําคัญทางสถิติดังแสดงในตารางที่ 6 ตารางที่ 6 แสดงความสมัพันธระหวางการไดยนิบกพรองจําแนกตามปจจัยเสี่ยง

ปจจัยเสี่ยง ไดยินปกต ิ(รอยละ)

ไดยินบกพรอง (รอยละ)

Fisher’s exact test (2-sided)

ไดรับยาที่เปนพิษตอหู 241 (70.6) 4 (10.25) 0.02 * เพศชาย 217 (63.6) 25 (64.10) 0.601 ตัวเหลือง (Hyperbilirubinemia) 187 (54.8) 7 (17.94) 0.413 คลอดกอนกําหนด 139 (40.76) 7 (17.94) 0.03 * น้ําหนักตัวแรกเกิดนอย (1500-2500 กรัม) 79 (23.16) 8 (20.51) 0.188 ตองการเครื่องชวยหายใจเกิน 48 ชั่วโมง 68 (19.94) 6 (15.38) 0.093 น้ําหนักตัวแรกเกิดนอยมาก (<1500 กรัม) 38 (11.14) 5 (12.82) 0.186 พัฒนาการทางการพูดและภาษาลาชา 36 (10.55) 31 (79.48) 0.000 ** ติดเชื้อในกระแสเลือด 28 (8.21) 2 (5.12) 0.654 คลอดเกินกําหนด 10 (2.93) 1 (2.56) 0.182 Down’s syndrome 8 (2.34) 6 (15.38) 0.000 ** การติดเชื้ออ่ืนๆ 6 (1.75) 2 (5.12) 1.000 มีญาติหูหนวก 5 (1.46) 1 (2.56) 0.565 มีญาติเปนใบ 5 (1.46) 1 (2.56) 0.565 Exchange transfusion 3 (0.87) 1 (2.56) 0.273 มีน้ําขังในหูชั้นกลางนานเกิน 3 เดือน 3 (0.87) 7 (17.94) 0.000 ** Microtia or Aural atresia 2 (0.58) 5 (12.82) 0.000 ** เยื่อหุมสมองอักเสบ 1 (0.29) 3 (7.69) 0.000 **

Page 27: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

17

ตารางที่ 7 แสดงความเสี่ยงสัมพัทธของปจจัยตางๆกับการเกิดการไดยินบกพรอง ปจจัยเสี่ยง Relative risk 95% CI

พัฒนาการทางภาษาและการพูดลาชา 18.275 8.852 - 37.730 เย่ือหุมสมองอักเสบ 15.047 7.176 - 31.551 มีน้ําขังในหูช้ันกลางนานเกนิ 3 เดือน 9.29 6.098 - 14.154 Aural atresia and/or microtia 6.795 3.902 - 11.832 กลุมอาการ Down’s 5.678 2.926 - 11.018 คลอดกอนกาํหนด 4.832 1.061 - 22.002 ไดรับยาที่เปนพิษตอหู 0.122 0.039 - 0.382

จากตารางที่ 7 ปจจัยเสี่ยงที่พบวามี ความเสี่ยงสัมพัทธกับการไดยินบกพรองมากที่สุด คือ พัฒนาการณทางการพูดและภาษาลาชา รองลงมาคือ เย่ือหุมสมองอักเสบ และ มีน้ําขังในหูช้ันกลางนานเกิน 3 เดือน ปจจัยเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสัมพัทธนอยสุดและกลับมีผลในทางปองกันการเกิดการไดยินบกพรอง คือ ไดรับยาที่เปนพิษตอหู

Page 28: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

18

บทที่ 5 อภิปรายผลการศึกษา

สภาวะการไดยินบกพรองเปนสภาวะที่พบไดบอย โดยอาจเกิดขึ้นแตแรกเกิด หรือเกิดใน

ภายหลังก็ได จากงานวิจัยทัว่โลกพบอุบตักิารณของการไดยินบกพรองในทารกแรกเกิดที่ รอยละ 0.1-0.26-10 แตในทารกกลุมเสี่ยงจะพบการไดยนิบกพรองไดยินบกพรองสูงข้ึนเปน รอยละ 5.4-6.414-17 โดยการศึกษาสวนใหญ จะทําการศึกษาในเดก็แรกเกิด-28 วัน6-10,14-17 ตามสมมติฐานของ Fortnum HM13 ความชุกของการไดยนิบกพรองจะแปรตามกลุมอายุเม่ือเขารับการตรวจการไดยิน เพราะอาจมีบางภาวะทําใหเกิดการไดยินบกพรองภายหลังในชวงตนของวัยเด็กได การศึกษานี้เปนรายงานการศึกษาความชกุของการไดยนิบกพรองในเด็กเล็ก ที่มีความเสี่ยงสูง ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร โดยกําหนดชวงอายุที่ศึกษาไวที่ 0-2 ป ตามเหตุผลดังกลาวขางตน พบวาความชุกของการไดยนิบกพรองเปน รอยละ 10.2 ซึ่งสูงเปนสองเทาของความชุกของการไดยินบกพรองของทารกแรกเกิดกลุมเสี่ยง และใกลเคียงกับการศึกษาของสมชาย ศรีรมโพธิ์ทอง และคณะ11 รายงานคาความชุกของการไดยินบกพรองในเด็กอาย ุ1 ปครึ่ง - 5 ป ไวที่รอยละ 13.4 และเปนไปตามสมมติฐานของ Fortnum HM13 ลักษณะการไดยินบกพรองที่พบบอยไดแกประสาทหูเส่ือมทั้งสองขาง และสวนใหญมีการไดยินบกพรองระดับหูหนวก ซึ่งความจาํเปนอยางยิ่งยวดที่เด็กกลุมนีจ้ะตองไดรับการกระตุนดวยเสียงจากเครื่องชวยฟง หรือการผาตัดฝงประสาทหูเทียมในกรณีที่ไมสามารถรับเสียงจากการใชเครื่องชวยฟงได และควรไดรับฟนฟูสมรรถภาพการไดยินตั้งแตอายุนอย จากรายงานการศึกษาพัฒนาการทางดานการพูดและภาษาของเด็กหูหนวกทีม่ีความพิการแตกําเนิดและอิทธิผลของอายุเด็กหูหนวกทีไ่ดรับการผาตดัฝงประสาทหูเทียมจํานวน 75 ราย พบวา เด็กหูหนวกที่มีความพิการแตกําเนิดและไดรับการผาตดัฝงประสาทหูเทียมกอนอายุ 2 ปจะมีพัฒนาการทางดานการพดูและภาษาดีกวาเดก็หูหนวกที่มีความพิการแตกําเนิดและไดรับการผาตดัฝงประสาทหูเทียมหลังอายุ 2 ปอยางมีนัยสําคัญทางสถติิ21 แตเนื่องจากคาใชจายในการผาตัดฝงประสาทหูเทียมไมไดถูกครอบคลุมในงบประกันสุขภาพถวนหนาของประเทศ เด็กกลุมนี้บางสวนจึงไมไดรับความชวยเหลือที่เพียงพอ ในขณะที่เด็กจํานวน 4 รายที่มีการไดยินบกพรองระดับหตูึงเล็กนอยก็จะไมไดรับการชวยเหลือจากรัฐบาลเนื่องจากไมเขาขายที่จะไดรับเครื่องชวยฟง เด็กสวนใหญที่พบวามีการไดยินบกพรองเปนกลุมเด็กเล็ก อายุเฉล่ียของเด็กที่มาพบแพทยและไดรับวินิจฉัยอยูที่ 10.96 เดือนและ 16.51 เดือน ตามลําดบั ซึ่งมีอายุนอยกวาอายุ 2.6 ปที่เคยรายงานไวของกฤษณา เลิศสุขประเสริฐ และเบญจมาศ พระธานี 22 และรายงานของ Canal A และคณะ ที่รายงานอายุทีว่ินิจฉัยในเด็กหูหนวกอยูที่ 20.5 เดือน23 จวบจนถึงปจจุบันยังไมมีรายงานผลการศึกษาประสทิธิภาพของการตรวจคัดกรองการไดยินในทารกแรกเกิดหรือเด็ก 0 – 2 ปที่ใชปจจัยเส่ียงสูงตอการเกิดการไดยินบกพรองใหมเปนเกณฑในการคดักรองเด็กที่ควรไดรับ

Page 29: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

19

การตรวจการไดยิน แตหากเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ JCIH 2000 ตั้งไววาหากมีการตรวจคดักรองการไดยนิในทารกแรกเกิดแบบครอบคลุม ควรสามารถคนพบทารกที่มีการไดยินบกพรองทุกคนกอนอายุ 3 เดือน และสามารถใหการรักษาที่เหมาะสมกอนอายุ 6 เดือน 20 จะพบวายังหางไกลกับเปาหมายพอสมควร อยางไรกต็ามการใชปจจัยเสี่ยงเปนเครื่องมือคัดกรองเบื้องตนเพ่ือคนหาเด็กที่สมควรไดรับการตรวจคดักรองการไดยนิไดผลดีกวาการตรวจคดักรองการไดยินโดยใชการตรวจ distraction test เม่ืออายุครบ 7-8 เดือน พบวาสามารถตรวจพบเด็กที่มีความพิการทางการไดยินและไดรับการตรวจวินจิฉัยยืนยันกอนอายุครบ 10 เดือนไดเพียงรอยละ 14 เทานั้น21

ปจจัยเสี่ยงตอการไดยนิบกพรองที่พบวามีความสัมพันธกับการไดยนิบกพรองเรียงตามลาํดบัความเสี่ยงสามอันดับแรกไดแก พัฒนาการทางการพูดและภาษาลาชา,เย่ือหุมสมองอักเสบ และ มีน้ําขังในหูช้ันกลางนานเกนิ 3 เดือน เม่ือทําการเปรียบเทียบกับการศึกษาอ่ืนๆ14-

17(ตารางที่ 1) ซึ่งทุกงานตางมีปจจัยเสี่ยงที่มีนัยสําคัญทางสถิติสูงสุด เปน craniofacial anomaly และไมมีปจจยัเสี่ยงที่มีนัยสําคัญทางสถิตสูิงสุดสามอันดับแรกดังงานวิจัยนี้ ทั้งนี้สาเหตุ คือ งานวิจัยนี้ทําการศึกษาในเดก็เล็ก และปจจัยเสี่ยงขางตนทั้งสามตางเปนปจจัยที่เกิดขึ้นหรือสามารถสังเกตไดชัดหลังชวงแรกเกิด (0-28 วัน)ไปแลว สวนการคลอดกอนกาํหนด, aural atresia รวมกับ microtia,กลุมอาการ Down’s, มีความสัมพันธกับการไดยินบกพรองเชนดังการวิจัยอื่นๆ อยางไรก็ดี Aural atresia and/or microtia เปน craniofacial anomaly แบบหนึ่งและพบความสัมพนัธกับการไดยนิบกพรองคลายคลึงกับทุกการศึกษา14-17 Down’s syndrome พบความสัมพันธกับการไดยินบกพรองคลายคลึงกับการศึกษาของ Van Riper LA15

สําหรับการไดรับยาที่เปนพษิตอหู (ototoxicity drug) อันเปนปจจัยเสี่ยงที่ทําใหกุมารแพทยและโสต-ศอ-นาสิกแพทยสงผูปวยเขารับการตรวจการไดยินสูงสุดในการศกึษานีแ้ละกลับมีความสัมพันธทางสถิตใินเชิงลดการไดยนิบกพรอง (protective effect) ก็เขาไดกับการศึกษาของ Van Riper LA15, Meyer C16, Srisuparp P.17 ซึ่งก็เปนปจจัยเสี่ยงที่นําผูปวยเขารับการตรวจการไดยนิมากที่สุด และผลการศึกษาทั้งหมดตางบงช้ีวา ยาที่เปนพษิตอหู ไมมีความสัมพันธกับการไดยนิบกพรองอาจเปนผลจากการความรูในเรื่องเภสัชจลศาสตรที่เก่ียวของกับความเปนพษิของยาตอหู ทาํใหกุมารแพทยมีการเฝาระวังการทํางานของไตและบริหารการใหยากลุมนี้ตามระดับการทํางานของไต จึงไม ทําใหเกิดผลขางเคียงของยาตอหูข้ึน เนือ่งจากการศึกษานี้เปนการศกึษาแรกที่ทําการศึกษาในเด็กกลุมอายุ 0-2 ป ลักษณะของการไดยินบกพรองจึงไมอาจนาํไปเปรียบเทียบกับการศึกษาอ่ืนได อยางไรก็ดใีนที่ที่มีทรัพยากรที่จํากัดโดยเฉพาะภาคตะวนัออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การรณรงคใหพอแมผูปกครองและบุคลากรทางการแพทยเฝาระวังพัฒนาการทางการพูดและภาษาลาชา รวมถึงปจจัยเส่ียงอื่นๆจะชวยพัฒนาระบบการดแูลรักษาและฟนฟูสมรรถภาพการไดยินในเด็กกลุมนี้ได

Page 30: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

20

บทที่ 6 สรุปผลการศึกษา

ความชุกของการไดยนิบกพรองจากการตรวจคัดกรองการไดยนิในกลุมเด็กเล็กที่มีความ

เส่ียงสูงพบไดบอยถึงรอยละ 10.2 ในการที่จะพัฒนาการตรวจวินิจฉัยเด็กที่มีการไดยินบกพรองและใหการฟนฟูสมรรถภาพไดเร็วขึ้น จึงควรตรวจคัดกรองการไดยินครอบคลุมถึงกลุมเด็กเล็กดวย

Page 31: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

21

เอกสารอางอิง (1) Psarommatis IM, Goritsa E, Douniadakis D, Tsakanikos M, Kontrogianni AD,

Apostolopoulos N. Hearing loss in speech-language delayed children. Int J Pediatr Otorhinolaryngol. 2001; 58:205-10.

(2) Davis A, Bamford J, Wilson I, Ramkalawan, Forshaw M, Wright S. A critical review of the role of neonatal hearing screening in the detection of congenital hearing impairment. Health Technology Assessment. 1997; 1: 1-190.

(3) Yoshinaga-Itano C., Saday A. et al.. Language development of early and later identified children with hearing loss. Pediatrics. 1998; 102:1162-71.

(4) Moeller MP. Early intervention and language development in children who are deaf and hard of hearing. Pediatrics. 2000; 106:E43.

(5) National Institutes of Health. Early identification of hearing impairment in infants and young children. Bethesdo, Maryland: NIH. 1993a.

(6) Mehl AL, Thomson V. The Colorado newborn hearing screening project, 1992-1999: on the threshold of effective population-based universal newborn hearing screening; Pediatrics. 2002 Jan; 109(1):E7.

(7) Chapchap MJ, Segre CM. Universal newborn hearing screening and transient evoked otoacoustic emission: new concepts in Brazil. Scand Audiol Suppl. 2001; 53:33-6.

(8) Russ SA, Rickards F,Poulakis Z, Barker M, Saunders K, Wake M. Six year effectiveneness of a population base two types of infant hearing screening program. Arch Dis Child 2002; 86:245-50.

(9) Lin HC, Shu MT, Chang KC, Bruna SM. A universal newborn hearing screening program in Taiwan: Int J Pediatr Otorhinolaryngol 2002; 63:209- 18.

(10) จันทรชัย เจรียงประเสริฐ, กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ, ลลิดา เกษมสุวรรณ, ประชา นันทนฤมิต. การตรวจคัดกรองการไดยนิในทารกแรกเกิดดวยเครื่องตรวจวัดเสียงสะทอนของหูช้ันใน (otoacoustic emission): ผูปวยใหมใน 1 ปของโรงพยาบาลรามาธบิด.ี วารสารหู คอ จมูก และใบหนา 2546; 4: 27-41.

(11) สมชาย ศรีรมโพธิ์ทอง, ขวัญชนก ยิ้มแต, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, สุภาภรณ ศรีรมโพธิ์ทอง. ความชกุของสภาวะการไดยนิบกพรองในเด็กกอนวัยเรียน ที่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน โรงพยาบาลศรีนครินทร. วารสารหู คอ จมูก และใบหนา 2544; 2: 14-20.

Page 32: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

22

(12) Niskar AS, Kieszak SM. Mean and median hearing thresholds among children 6 to 19 years of age: the Third National Health And Nutrition Examination Survey. Ear Hear. 2004; 25: 397-402.

(13) Fortnum HM. Prevalence of permanent childhood hearing impairment in the United Kingdom and implications for universal neonatal hearing screening: questionnaire based ascertainment study. BMJ. 2001; 323: 536-9.

(14) StilianosE. Risk factors associated with hearing loss in neonate. Am J Otolaryngol 1997; 18: 90-3.

(15) Van Riper LA. ABR hearing screening for high-risk infants. Am J Otolaryngol 1999; 20:516-21.

(16) Meyer C, Witte J, Hildmann A, Hennecke KH, Schunck KU, Maul K, et al. Neonatal screening for hearing disorders in infants at risk: incidence, risk factors and follow-up. Pediatrics 1999; 104: 900-4.

(17) Srisuparp P, Gleebbur R, Ngemcham S, Chonpracha J, Singkampong J. High-Risk Hearing screening program using automated screening device performed by trained nursing personnel at Siriraj hospital: yield and feasibility; J Med Assoc Thai 2005; 88 suppl.8 :s176-82.

(18) Erenberg A, Lemons J, Sia C, Trunkel D, Ziring P. Newborn and infant hearing loss: detection and intervention. American Academy of Pediatrics. Task force on newborn and infant hearing, 1998 -1999. Pediatrics 1999; 103: 527-30.

(19) Harrison M, Roush J. Age of suspicion, identification, and intervention for infants and young children with hearing loss: a national study. Ear Hear 1996; 17: 55-62.

(20) Joint Committee on Infant Hearing: Year 2000 Position Statement: Principle and guideline for Early Hearing detection and Intervention program. Pediatric 2000; 106 :798-818

(21) Svirsky MA, Teoh S-W, Neuburger H. Development of language and speech perception in congenitally, profound deaf children as a function of age at cochlear implantation. Audiol Neurootol 2004; 9: 224-33.

(22) Lertsukprasert K, Prathanee B, Aural rehabilitation for deaf children: a north-eastern Thailand experience. Rama Med J 2000; 23: 51-7.

Page 33: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

23

(23) Wessex Universal Neonatal Hearing Screening Trial Group. Controlled trial of universal neonatal screening or early identification of permanent children hearing impairment. Lancet 1998; 352: 1957-64.

(24) Canale A, Favero E, Lacilla M, Recchia E, Schinder A, Rpggero N, et al. Age at diagnosis of deaf babies: a retrospective analysis highlighting the adventage of newborn hearing screening. Int J Pediatr Otorhinolaryngol 2006; 70: 1283-9.

Page 34: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

หนา 1/3

แบบบันทึกประวัติและผลการตรวจวินิจฉัยการไดยินในเด็กเล็ก 0-2 ปที่ความเสี่ยงสูง

คําชี้แจง โปรดอานทุกขอความอยางละเอียด และตอบคําถามทุกขอ คําถามที่เปนตัวเลือก โปรดกาเครื่องหมายถูก ( ) ลงในชอง หนาตัวเลือก ใหมีภาพเปน สวนคําถามที่ใหเขียนคําตอบเปนตัวเลขนั้น โปรดเขียนตัวเลขบรรจงลงภายในชอง N ชองละหน่ึงตัวเลข ใหตัวใหญพอ แตไมแตะเสนขอบ ตัวเลขที่ ScanVerify อานไดถูกตอง สูงสุดมีลักษณะดังนี้ I 2 3 4 5 6 7 8 9 0 โปรดใชปากกาสีเขม (ดําหรือน้ําเงิน)

เลขที่แบบสัมภาษณ:

สวนที่ 1 General information

HN : - ช่ือ: …………………… ………………………..………

ที่อยู :…………… …………………………………………………………..…………..โทร :………………………….

1. เพศ 1. ชาย 2. หญิง 2. วัน/เดือน/ปเกิด / / 3. อายุเมื่อเขารับการตรวจการไดยินครั้งแรก: ป เดือน วัน

4. วันที่เขารับการตวจครั้งแรก / /

5. วันที่วินิจฉัยเสร็จสิ้น / /

6. อายุเมื่อวินิจฉัยเสร็จสิ้น: ป เดือน วัน

7. พัฒนาการทางรางกาย

7.1 ชันคอ (อายุ 3-4 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

7.2 ควํ่าหงาย (อายุ 4-5 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

7.3 นั่ง (อายุ 6-7 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

7.4 คลาน (อายุ 8-9 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

7.5 เกาะยืน (อายุ 10-11 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

7.6 ยืนเอง (อายุ 12 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

7.7 เดินเอง (อายุ 15 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

7.8 เดินคลอง-ว่ิง (อายุ 18-20 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ 8. พัฒนาการทางภาษาและการพูด ความเขาใจภาษา (R)

8.1 R ตอบสนองตอเสียง: สะดุง รองไห (อายุ 0-3 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

8.2 R กรอกตาหาที่มาของเสียง (อายุ 4-6 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

8.3 R เขาใจคําหามและรูจักช่ือตัวเอง (อายุ 7-8 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

8.4 R ทําตามคําสั่งงายๆ ได (อายุ 9-12 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

8.5 R เขาใจคําสั่ง (อายุ 13-17 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ 8.6 R รูจักช่ือคน สัตว สิ่งของที่คุนเคย (อายุ 18-24 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ

Page 35: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

การแสดงออกทางภาษา (E)

8.1 E เลนเสียงออแอ (อายุ 0-3 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ 8.2 E ทําเสียงโตตอบกับคนรอบขาง (อายุ 4-6 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ 8.3 E เลียนเสียงพูดไดเหมือน แตไมมีความหมาย (อายุ 7-12 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ 8.4 E พูดคําที่มีความหมาย ระดับคํา 1 พยางค (อายุ 13-17 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ 8.5 E พูดคําที่มีความหมาย ระดับคํามากกวา 1 พยางค (อายุ 18-24 เดือน) 0. ปกติ 1. ชากวาปกติ สวนที่ 2 Risk factors

1. Family history

1.1 มีญาติพ่ีนองในครอบครัว มีความผิดปกติทางการไดยิน 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

1.2 มีญาติพ่ีนองในครอบครัวพูดไมได 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก 2. Congenital perinatal infection

2.1 CMV 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

2.2 Rubella 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

2.3 Herpes 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

2.4 Toxoplasmosis 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

2.5 Syphilis 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

2.6 อื่นๆ 0. ไมม ี 1. มี ระบุ……………..…………

3. มีความผิดปกติของศรีษะและใบหนา 3.1 Aural Atresia หูขวา 0. ไมม ี 1. มี หูซาย 0. ไมม ี 1. ม ี

3.2 Microtia หูขวา 0. ไมม ี 1. มี หูซาย 0. ไมม ี 1. ม ี

3.3 อื่นๆ 0. ไมม ี 1. มี ระบุ…………………………………...…

4. กลุมอาการผิดปกติแตกําเนิดที่มีการไดยินบกพรองรวมดวย 0. ไมม ี 1. มี ระบ…ุ…………..…………………

5. หลังคลอดอยูใน NICU > 48 hr

5.1 อายุครรภคลอด 1. ครบกําหนด สัปดาห 2. กอนกําหนด สัปดาห 5.2 น้ําหนักแรกเกิด 1. อยูในเกณฑปกติ กรัม 2. น้ําหนักนอย กรัม

3. มากกวาปกติ กรัม

5.3 ototoxic 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

A. Gentamycin วัน B. Amikacin วัน

C. Other................................. วัน

5.4 Hyperbilirubinernia 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

5.5 on respirator 0. ไมม ี 1. มี ระบุ วัน 2. ไมมีการบันทึก 5.6 อื่นๆ 0. ไมม ี 1. มี ระบุ……………………………

หนา 2/3

Page 36: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได

6. มีประวัติติดเช้ือหลังคลอด ซึ่งสัมพันธกับ SNHL ไดแก 6.1 Bacterial meningitis 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก 6.2 Neonatal sepsis 0. ไมม ี 1. ม ี 2. ไมมีการบันทึก

6.3 อื่นๆ 0. ไมม ี 1. มี ระบุ……………………………

7. พอแมหรือผูดูแลสังเกตวาเด็กมีการไดยินบกพรองหรือมีการพัฒนาทางการพูดและภาษาลาชา 0. ไมม ี 1. มี

8. มีประวัติเจ็บปวยที่สําคัญในชวงแรกเกิดจนถึงอายุ 28 วัน 0. ไมม ี 1. มี ระบุ……………………………

9. มีกลุมอาการที่สัมพันธกับ progressive hearing loss

9.1 Neurofibromatosis 0. ไมม ี 1. มี

9.2 Osteoporosis 0. ไมม ี 1. มี

9.3 Usher’s syndrome 0. ไมม ี 1. มี

9.4 อื่นๆ 0. ไมม ี 1. มี ระบุ……………………………

10. Neurodegenerative disease (Hunter’s syndrome, Charcot-marriis-Tooth syndrome) 0. ไมม ี 1. มี

11. Head trauma 0. ไมม ี 1. มี

12. Recurrent or persistent OME นานอยางนอย 3 เดือน 0. ไมม ี 1. มี

สวนที่ 3 ผลการตรวจการไดยิน 1. BOA: อาย ุ ป เดือน วัน: 1. Response dB 2. No response

2. VRA: อาย ุ ป เดือน วัน: Right dB Left dB

3. Tympanogram: อาย ุ ป เดือน วัน: Right A B C Left A B C

4. OAEs: อาย ุ ป เดือน วัน: Right 1. Pass 2. Refer

Left 1. Pass 2. Refer

5. ABR: Right (Air) Wave V dB (Bone) Wave V dB

Left (Air) Wave V dB (Bone) Wave V dB 6. ชนิดของการสูญเสียการไดยิน หูขวา 1. Normal hearing 2. Conductive hearing loss

3. Sensorineural hearing loss 4. Mixed hearing loss

หูซาย 1. Normal hearing 2. Conductive hearing loss

3. Sensorineural hearing loss 4. Mixed hearing loss

7. ระดับการไดยิน หูขวา 1. mild (30-40 dB) 2. moderate (50-60 dB)

3. severe (70-90 dB) 4. profound (มากวา 90 dB)

หูซาย 1. mild (30-40 dB) 2. moderate (50-60 dB)

3. severe (70-90 dB) 4. profound (มากวา 90 dB)

หนา 3/3

Page 37: New The Prevalence of Hearing Impairment in High-Risk Young … · 2010. 12. 15. · ค บทคั ดยอภาษาไทย ความชุกของการได